การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะ หัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลวชิรพยาบาล
คำสำคัญ:
แบบประเมินสมรรถนะ, หัวหน้าหอผู้ป่วยบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
ปัจจุบันมีการนำแนวคิดสมรรถนะมาใช้ในการประเมินและพัฒนาบุคลากรทางการพยาบาลทุกระดับการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วย
ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของโรงพยาบาลวชิรพยาบาล โดยทำการศึกษา 2 ขั้นตอน คือ 1) การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะโดยการสังเคราะห์และวิเคราะห์ความสอดคล้องขององค์ประกอบสมรรถนะ ใช้การสัมภาษณ์และการพิจารณาองค์ประกอบ รายการสมรรถนะและรายการพฤติกรรมโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน จากนั้นสร้างแบบประเมินด้วยวิธีมาตรประมาณค่าแบบยึดพฤติกรรม โดยใช้เกณฑ์การประเมินรูบิค 2) ตรวจสอบคุณภาพแบบประเมินสมรรถนะ วิเคราะห์ ความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คนและวิเคราะห์ความคงที่ของค่าการสังเกต จำนวน 15 คู่ ประเมินหัวหน้าหอผู้ป่วย 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้
1. แบบประเมนิ สมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วย ประกอบด้วยยสมรรถนะ 4 ด้าน รายการสมรรถนะ 20 ข้อ คือ 1) ภาวะผู้นำ (7 ข้อ) 2) การบริหารจัดการ (6 ข้อ) 3) การพัฒนาคุณภาพบริการ
(4 ข้อ) และ 4) การสื่อสารและการสร้างสัมพันธภาพ (3 ข้อ)
2. ผลตรวจสอบคุณภาพแบบประเมินสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วย ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 0.86 และค่าความเที่ยงของการสังเกต เท่ากับ 0.85
References
คริสเตียน, นครปฐม.
กาญจนา อาชีพ. (2549). การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลศิริราช (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล. (2559). แผนยุทธศาสตร์คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ปี พ.ศ. 2558-2561 (ฉบับปรับปรุง ปี 2559) มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. ฝ่ายยุทธศาสตร์
และประกันคุณภาพ: คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล.
คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล. (2559). คู่มือระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล. ฝ่ายทรัพยากรบุคคล: คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล.
จันทร์เพ็ญ พิมพิลา. (2555). การพัฒนากรอบสมรรถนะของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลลำพูน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
โชติกา ภาษีผล. (2559). การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดวงจันทร์ ทิพย์ปรีชา. (2548). ศักยภาพความสามารถในการบริหารทรัพยากรบุคคลทางการพยาบาล. กรุงเทพฯ: พี เอ.ลีฟวิ่ง.