การศึกษาความคาดหวังและการรับรู้ของผู้ป่วยมะเร็งต่อคุณภาพการบริการแผนกผู้ป่วยนอกรังสีรักษา โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง
Keywords:
คุณภาพการบริการ, ความคาดหวัง, การรับรู้Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวัง การรับรู้ และปัจจัยที่มีผลต่อความคาดหวังและการรับรู้ของ ผู้ป่วยมะเร็งต่อคุณภาพการให้บริการแผนกรังสีรักษา โรงพยาบาลมะเร็ง ลำปาง วิธีการศึกษา รวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามผู้รับบริการรายใหม่แผนกผู้ป่วยนอกรังสีรักษา โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง จำนวน 278 คน ระยะเวลาการรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึงเดือนกรกฏาคม 2555 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่า t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way Analysis of Variance) ผลการศึกษา ความคาดหวังและการรับรู้ต่อคุณภาพบริการแผนกผู้ป่วยนอกรังสีรักษา โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง โดยรวมมีค่าเฉลี่ย 4.54 และ 4.70 ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ผู้รับบริการมีความคาดหวังด้านความเป็น รูปธรรมของสถานบริการ และมีการรับรู้ด้านการให้ความมั่นใจอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านการตอบสนองที่รวดเร็วของ บริการมีค่าเฉลี่ยความคาดหวังและการรับรู้น้อยกว่าด้านอื่นๆ และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย พบว่า การรับรู้ต่อคุณภาพ บริการสูงกว่าความคาดหวังแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P< 0.001) นอกจากนี้ ยังพบว่า ปัจจัยด้านอายุของ ผู้รับบริการมีผลต่อความคาดหวังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P< 0.05) และปัจจัยด้านระดับการศึกษามีผลต่อการรับรู้อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (P< 0.05) ข้อสรุป ผลการศึกษานี้สรุปได้ว่าผู้รับบริการมีความพึงพอใจกับการบริการของแผนกผู้ป่วยนอกรังสีรักษา โรงพยาบาลมะเร็ง ลำปาง อย่างไรก็ตามหน่วยงานยังคงต้องมีการปรับปรุง พัฒนาคุณภาพการบริการในประเด็นเกี่ยวกับด้านการตอบสนอง ที่รวดเร็ว โดยเฉพาะการลดระยะเวลารอคอยเข้ารับการตรวจเป็นประเด็นสำคัญ
References
พรชัย ดีไพศาลสกุล ความคาดหวัง และการรับรู้ของผู้รับบริการต่อคุณภาพบริการโรงพยาบาล. Veridian E-Journal, SU [on line]. 2013 [cited 2014 Dec 1]; 6 (1), Available from: http://www. ejournal. su.ac.th/upload/592.pdf
โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง. รายงานประจำปี 2556. โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง. 2556: 15
Parasuraman A, Zeithaml V A, Berry LL A conceptual model of service quality and its implications for future research. Journal of marketing. 1985; 49: 41-50
Parasuraman A, Zeithaml V, Berry LL. SERQUAL: A multiple-item scale for measuring customer perceptions of service quality. Journal of retailing .1988; 64:12-40.
กนกพร ลีลาเทพินทร์, พัชญา มาลือศรี และ ปรารถนา ปุณณกิติเกษม. การประเมินระดับคุณภาพการบริการของโรงพยาบาลรัฐบาลในกรุงเทพฯ ด้วยแบบจำลอง SERVQUAL วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ. 2554; 34(4)
ธนวัฒน์ วนิชวัฒนา. ศึกษาความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพบริการของผู้ป่วยประกันสังคมประเภทผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลศิครินทร์. 2546
ศักดิ์ดา ศิริภัทรโสภณ ปารย์ทิพย์ ธนาภิคุปตานนท์. ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการบริการที่ได้รับกับความพึงพอใจและความภักดีของคนไข้ : กรณีศึกษาโรงพยาบาลเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร KKU Research Journal. 2554; 10: 160-172
จรรยา พรมมาลี, สาวิตรี เทียนชัย,ทรงศิริ นิลจุลกะ และ ศรีศุภลักษณ์ สิงคาลวณิช คุณภาพการบริการตามความคาดหวังและการรับรู้ของผู้รับบริการที่กลุ่มงานการบริการผู้ป่วยนอกสถาบันสุขภาพเด็กมหาราชินี กุมารเวชสาร. 2551,15:259-268
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมะเร็งวิวัฒน์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับ และบุคคลากรท่านอื่น ๆ ใน สมาคมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว