Effectiveness of Moisturizing Barrier Cream during External Beam Radiation Therapy
Keywords:
Moisturizing Barrier Cream, Radiation TherapyAbstract
หลักการและเหตุผล: ภาวะแทรกซ้อนของผิวหนังบริเวณที่ได้รับรังสีรักษา เป็นภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้ผู้ป่วยไม่สุขสบาย ทุกข์ ทรมาน สูญเสียภาพลักษณ์ และอาจต้องหยุดพักการการรักษา จึงจำเป็นต้องศึกษาการชะลอหรือลดการเกิดการเปลี่ยนแปลง ของผิวหนังจากรังสีรักษาโดยการใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันการสูญเสียนํ้าและเพิ่มความชุ่มชื้นของผิวหนังในระหว่างฉายรังสี วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของครีมป้องกันการสูญเสียนํ้าและเพิ่มความชุ่มชื้นของผิวหนังระหว่างการฉายรังสี วัสดุและวิธีการ: การวิจัยเชิงทดลอง ในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการฉายรังสีบริเวณศีรษะและลำคอ ผนังทรวงอก และบริเวณอุ้ง เชิงกราน ที่เข้ารับการรักษาด้วยรังสีรักษาและ/หรือ รังสีรักษาร่วมกับเคมีบำบัด ที่โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี จำนวน 60 ราย เลือกกลุม่ ตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ไดรั้บการทาครีมป้องกันการสูญเสียน้ำและเพิ่มความชุม่ ชื้นของผิวหนัง รีมอยด์แบริเออร์ ครีม (Remoise barrier cream) บนผิวหนังที่ได้รับรังสีรักษา และทาครีมสมมุติ บนผิวหนังที่ได้รับรังสีรักษา ทุกวัน วันละ 1 ครั้ง สัปดาห์ละ 5 วัน จนครบการรักษา ติดตามการเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง โดยการวัดค่าความชื้นของผิวหนังในบริเวณที่ กำหนดก่อนและหลังฉายรังสีทุกวัน ด้วยเครื่อง Pen shaped Hydration Probe ของ CK Electronic ประเทศเยอรมัน ช่วงก่อนและหลังการฉายรังสี 3 ชั่วโมง ประเมินภาวะแทรกซ้อนของผิวหนังที่ได้รับรังสีรักษาโดยใช้แบบประเมิน RTOGและติดตามอาการรบกวน ทางผิวหนังสัปดาห์ละครั้ง ผลการศึกษา: ค่าเฉลี่ยความชื้นของผิวหนังของผู้ป่วยก่อนฉายรังสีอยู่ในระดับแห้ง และเมื่อได้ทาครีมทั้งสองชนิด พบว่า ค่าเฉลี่ย ความชื้นของผิวหนังของผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในภาพรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.361) มีระดับความรุนแรงของ ผิวหนังที่เกิดขึ้นในบริเวณที่ทาครีมทั้งสองชนิดอยู่ในระดับเดียวกัน อาการเดียวกัน ได้แก่ ตึง มีผื่นแดง ผิวสีคลํ้า เส้นขนหลุด ร่วง เป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับ early stage dry desquamation โดยพบในผู้ป่วยได้รับรังสีบริเวณศีรษะและคอ 8 ราย เกิดอาการรบกวน ได้แก่ ปวดแสบปวดร้อน คัน ตึง จากการใช้ครีมทั้งสองชนิดไม่มีความแตกต่างกัน ขอ้ สรุป: ผลการใช้ครีมป้องกันการสูญเสียน้ำและเพิ่มความชุ่มชื้นของผิวหนัง รีมอยด์แบริเออร์ครีม (Remoise barrier cream) ระหว่างการฉายรังสีแสดงให้เห็นว่า สามารถรักษาความชุ่มชื้นของผิวหนังระหว่างการฉายรังสีได้ และมีค่าความชุ่มชื้นของผิวหนังภายหลังการฉายรังสีเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ครีมสมมติ
References
Vaz A, Pinto-Neto A, Conde D, Costa-Paiva L, Morais S, Esteves. Quality of life of women with gynecologic cancer: associated factors. Arch Gynecol Obstet 2007, 276: 583–589.
Porock D. Factors influencing the severity of radiation skin and oral mucosal reactions: development of a conceptual framework. Eur J Cancer Care (Engl) 2002, 11: 33–43.
Hymes SR, Strom EA, Fife C. Radiation dermatitis: clinical presentation, pathophysiology, and treatment 2006. J Am Acad Dermatol 2006, 54:28–46.
Noble-Adams R. Radiation-induced reactions 1: an examination of the phenomenon. Br J Nurs 1999, 8:1134–1140.
Naylor W, Mallett J. Management of acute radiotherapy induced skin reactions: a literature review. Eur J Oncol Nurs 2001, 5:221–223.
Glean E, Edwards S, Faithfull S, Meredith C, Richards C, Smith M, et al. Intervention for acute radiotherapy induced skin reactions in cancer patients: the development of a clinical guideline recommended for use by the college of radiographers. J Radiother Prac 2001, 2:75–84.
McQuestion M. Evidence-based skin care management in radiation therapy: clinical update. Semin Oncol Nurs [Online]. 2011, [cited May 14]; 27(2):e1-17. doi: 10.1016/j.soncn.2011.02.009. Available from: http//www.nursingoncology.com
Raymond JC, Joan W, Bryan C, Louise M, Muhtashimuddin A and Stuart G. Prevention and treatment of acute radiation induced skin reactions: a systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials. BMC Cancer [Online]. 2014[cited May14]; 14:53. Available from: http://www.biomedcentral.com/1471- 2407/14/53.
สุทธิดา สันติไชยกุล. ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ขี้ผึ้งพีเอช 5 ยูเซอริน ในการป้องกันผลของรังสีตอ่ ผิวหนังในผู้ป่วยมะเร็งบริเวณศีรษะและคอ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขา พยาบาลศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล, 2538.
Gray M, Black JM, Baharestani MM, Bliss DZ, Colwell JC, Goldberg M, Kennedy-Evans KL, Logan S, Ratliff CR. Moisture-associated skin damage: overview and pathophysiology. J Wound Ostomy Continence Nurs [Online]. 2011 [cited May-Jun14]; 38(3):233-41. doi:10.1097/WON.0b013e318215f798.. Available from: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21490547
Hom, D., Adams, G., Koreis, M. et al. Choosing the optimal wound dressing for irradiated soft tissue wounds. Otolaryngol Head Neck Surg. 1999, 121:591–598.
Witt, M.E., Young, M. Common drug reactions with cutaneous manifestations. in: M.A. Haas, G.J. Moore-Higgs(Eds.). Principles of skin care and the oncology patient. Oncology Nursing Society, Pittsburg, PA; 2010:33–55.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมะเร็งวิวัฒน์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับ และบุคคลากรท่านอื่น ๆ ใน สมาคมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว