ประสิทธิผลและความพึงพอใจของการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยต่อการใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับเอกสารคำแนะนำสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่รับการรักษาด้วยรังสี

Authors

  • อดิศักดิ์ ถีระแก้ว ศูนย์รังสีรักษาวัฒโนสถ โรงพยาบาลวัฒโนสถ
  • ปุญชรัศมิ์ ศักดิ์ธรรมเจริญ ศูนย์รังสีรักษาวัฒโนสถ โรงพยาบาลวัฒโนสถ
  • มยุเรศ ปัญญาวงค์ ศูนย์รังสีรักษาวัฒโนสถ โรงพยาบาลวัฒโนสถ
  • วราภรณ์ ศิริธรรมานุกุล โรงพยาบาลวัฒโนสถ
  • วิสุทธิ์ วรรณวิจิตร ศูนย์รังสีรักษาวัฒโนสถ โรงพยาบาลวัฒโนสถ
  • ชุลี วรรณวิจิตร ศูนย์รังสีรักษาวัฒโนสถ โรงพยาบาลวัฒโนสถ
  • วีรณัฐ เจริญสุข ศูนย์รังสีรักษาวัฒโนสถ โรงพยาบาลวัฒโนสถ

Keywords:

เอกสารอิเล็กทรอนิกส์, เอกสารคำแนะนำ, การดูแลเกี่ยวกับการรักษาด้วยรังสี

Abstract

หลักการและเหตุผล: เอกสารอิเล็กทรอนิกส์เป็นการเรียนรู้ออนไลน์แบบหนึ่งที่สามารถอ่านเอกสารได้ทุกเวลาและสถานที่ ผ่าน ทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างคอมพิวเตอร์พกพาหรือโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนที่ปัจจุบันมีผู้ใช้เป็นจำนวนมาก เพื่อช่วยใน การเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงประยุกต์การใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับการรักษาด้วยรังสี ซึ่งจะมีผลดีต่อการเพิ่ม ความรู้ในการดูแลเกี่ยวกับการรักษาด้วยรังสี และความพึงพอใจของผู้ป่วยมะเร็งที่รับการรักษาด้วยรังสี วัตถุประสงค์: เพื่อ (1) เปรียบเทียบความรู้ในการดูแลเกี่ยวกับการรักษาด้วยรังสีของผู้ป่วยมะเร็งที่รับการรักษาด้วยรังสี ก่อนและหลังการใช้ของ กลุ่มทดลองที่ใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับเอกสารคำแนะนำ (2) เปรียบเทียบความรู้ในการดูแลเกี่ยวกับการรักษาด้วยรังสี หลังการใช้ของกลุ่มทดลองที่ใช้เอกสารอิเล็คทรอนิกส์ร่วมกับ เอกสารคำแนะนำ และกลุ่มควบคุมที่ใช้เอกสารคำแนะนำ และ (3) ศึกษาความพึงพอใจของการใช้เอกสารการดูแลเกี่ยวกับการรักษาด้วยรังสีของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม วัสดุและวิธีการ: การวิจัยเชิงทดลอง (Randomized controlled trial: RCT) วัดก่อนและหลังการทดลอง (Pre-test, posttest designs) กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยมะเร็งที่รับการรักษาด้วยรังสีรักษา ที่โรงพยาบาลวัฒโนสถ จำนวน 140 คน แบ่งเป็น กลุ่มทดลองที่ใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์การดูแลเกี่ยวกับการรักษาด้วยรังสีร่วมกับเอกสารคำแนะนำ (n = 70) และกลุ่มควบคุม ที่ใช้เอกสารคำแนะนำตามปกติเพียงอย่างเดียว (n = 70) โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการเข้าถึงเอกสารความรู้ในการดูแลตนเองเกี่ยวกับการรักษาด้วยรังสี แบบวัดความรู้ในการดูแลเกี่ยวกับการรักษา ด้วยรังสี และแบบสอบถามความพึงพอใจของการใช้เอกสารที่ผู้วิจัยสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ ผลการศึกษา: ค่าเฉลี่ยความรู้ในการดูแลเกี่ยวกับการรักษาด้วยรังสีของผู้ป่วยมะเร็งที่รับการรักษาด้วยรังสีของกลุ่มทดลอง พบ ว่าหลังการทดลอง (x= 9.64, S.D. = 0.94) สูงกว่าก่อนทดลอง (x = 7.64, S.D. = 1.60) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) หลังการทดลองพบว่าคะแนนค่าเฉลี่ยความรู้ในการดูแลเกี่ยวกับการรักษาด้วยรังสีของกลุ่มควบคุมมีพัฒนาการมากกว่ากลุ่ม ทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (p <) 0.05) ความพึงพอใจของการใช้เอกสารการดูแลเกี่ยวกับการรักษาด้วยรังสี พบว่า ความพึงพอใจโดยรวมของกลุ่มทดลองอยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.68, S.D. = 0.62) และกลุ่มควบคุมอยู่ในระดับมาก (x = 4.19, S.D. = 0.72) สรุปและข้อเสนอแนะ: แม้ว่าการใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์การดูแลเกี่ยวกับการรักษาด้วยรังสีควบคู่กับเอกสารคำแนะนำแก่ ผู้ป่วยมะเร็งที่รับการรักษาด้วยรังสี ไม่สามารถเพิ่มความรู้การดูแลเกี่ยวกับการรักษาด้วยรังสีได้ชัดเจน อย่างไรก็ตามเอกสาร อิเล็คทรอนิกส์ยังคงเป็นเครื่องมือที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มจำนวนครั้งและระดับของการเข้าใช้เอกสาร อีกทั้งสร้าง ความพึงพอใจในการใช้เอกสารการดูแลเกี่ยวกับการรักษาด้วยรังสีมากขึ้นได้

References

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2559.

Campbell K. E-effective Writing for E– Learning Environments. Hershey: Information Science Publishing; 2004.

โสภาพันธ์ สอาด. ครูแกนนำพยาบาล : บทบาทด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ. เพื่อพัฒนาการเรียนรู้แบบ e-learning. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2551 ; 19 : 97-104.

วิไลลักษณ์ บุญยัง, วงศ์ธีรา สุวรรณิน, บุญเรือง ศรีเหรัญ. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสมาร์ทโฟนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ 2558 ; 5 :1-17.

วราภรณ์ ศิริธรรมานุกุล, พินิจ นีลกุล. พฤติกรรมการเปิดรับ ความคาดหวัง และความพึงพอใจในการใช้ประโยชน์เว็บไซต์โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ของผู้ใช้เว็บไซต์. วารสารพยาบาล 2555 ; 61 : 41-8.

สันทนา สงครินทร. การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์กับการสอนด้วยวิธีปกติ ระดับหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น. อุดรธานี: วิทยาลัยสารพัดช่างอุดรธานี, 2552.

แสงระวี แทนทอง, อำภาพร นามวงศ์พรหม, น้ำอ้อย ภักดีวงศ์. ประสบการณ์อาการและคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามที่ได้รับรังสีรักษา. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ 2559 ; 5 : 40-47.

บุปผา นันมา, รุ้งระวี นาวีเจริญ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการของผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับรังสีรักษา. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2558 ; 27(2) : 85-98.

Dennis K, Zhang L, Lutz S, van Baardwijk A, van der Linden Y, Holt T, et al. International patterns of practice in the management of radiation therapy-induced nausea and vomiting. Int J Radiat Oncol Biol Phys 2012;84:e49-60.

Chan RJ, Webster J, Chung B, Marquart L, Ahmed M, Garantziotis S. Prevention and treatment of acute radiation-induced skin reactions: a systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials. BMC cancer 2014; 14: 53.

Fernandez G, Pocinho R, Travancinha C, Netto E, Roldao M. Quality of life and radiotherapy in brain metastasis patients. Rep Pract Oncol Radiother 2012;17:281–7.

Deshields TL, Potter P, Olsen S, Liu J. The persistence of symptom burden: Symptom experience and quality of life of cancer patients across one year. Support Care Cancer 2014;22:1089-96.

Mohile SG, Heckler C, Fan L, Mustian K, Jean-Pierre P, Usuki K, et al. Age-related Differences in Symptoms and Their Interference with Quality of Life in 903 Cancer Patients Undergoing Radiation Therapy. J Geriatr Oncol 2011;2:225-32.

Arunachalam D, Thirumoorthy A, Saraswathi Devi T. Quality of life in cancer patients with disfigurement due to cancer and its treatments. Indian J Palliat Care 2011; 17:184-190.

เกวลี พิชัยสวัสดิ์. การสร้างเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การใช้ห้องสมุดสำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดพุทธบูชา กรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2545.

นฤมล เทพนวล. การศึกษาพฤติกรรมการอ่านสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่ 2558, 7(2) : 78-97.

Downloads

Published

2018-06-28

How to Cite

1.
ถีระแก้ว อ, ศักดิ์ธรรมเจริญ ป, ปัญญาวงค์ ม, ศิริธรรมานุกุล ว, วรรณวิจิตร ว, วรรณวิจิตร ช, เจริญสุข ว. ประสิทธิผลและความพึงพอใจของการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยต่อการใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับเอกสารคำแนะนำสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่รับการรักษาด้วยรังสี. J Thai Assn of Radiat Oncol [Internet]. 2018 Jun. 28 [cited 2024 Nov. 15];24(1):14-2. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jtaro/article/view/203037

Issue

Section

Original articles