ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรม การป้องกันโรคโควิด 19 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยพายัพ
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ, โรคโควิด 19บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคโควิด 19 กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ ใช้กรอบแนวคิดความรอบรู้สุขภาพของ Nutbeam กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยพายัพ สุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางการประมาณขนาดตัวอย่างของ Krejcie & Morgan คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบบชั้นภูมิเพื่อให้ได้ตัวแทนของนักศึกษาจากแต่ละคณะวิชาตามสัดส่วนที่เท่ากัน ได้ข้อมูลทั้งสิ้น 175 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ผ่าน Google Forms วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการศึกษา พบว่า ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมเกี่ยวกับโรคโควิด 19 ของนักศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง โดยความรอบรู้ด้านการเข้าถึงข้อมูล ด้านความรู้และความเข้าใจแนวทางปฏิบัติการป้องกันโรคโควิด-19 และด้านการรู้เท่าทันสื่อ อยู่ในระดับปานกลาง ทักษะการจัดการตนเอง และการตัดสินใจอยู่ในระดับต่ำ ส่วนพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 อยู่ในระดับปานกลาง โดยพฤติกรรมรายด้านพบว่า พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ภายในครอบครัวและคนใกล้ชิดอยู่ในระดับต่ำ และความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงกับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.615, p<0.001)
ดังนั้นสถาบันการศึกษาควรนำผลการวิจัยนี้เป็นแนวทางในการสอดแทรกเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคโควิด 19 และโรคติดต่ออุบัติใหม่ในอนาคตแก่นักศึกษา โดยเน้นความสำคัญของข้อมูลที่ถูกต้อง แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เน้นทักษะการตัดสินใจและการจัดการตนเอง
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 1 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/.
สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. รายงานผลการทบทวนผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคโควิด-19 ในระดับโลก และในประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 1 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1177420210915075055.pdf.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวปฏิบัติสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสกับผู้ป่วยยืนยันโรคโควิด-19 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 1 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/vaccine-covid19/getFiles/13/1621840826851.pdf.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. การสำรวจการมีการใชเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2563 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 1 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://catalogapi.nso.go.th/api/doc/ICTH_7_20.pdf.
ชญานิศ ลือวานิช, เอมอร นาคหลง, ประไพพิมพ์ สุรเชษฐคมสัน, พรทิพย์ งานสกุล, ศุภิกา วงศ์อุทัย, อารยา ข้อค้า, และคณะ. ความรู้ การรับรู้ และการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. 2564;7(1):60-74.
ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: กระบวนการ ปฏิบัติการ เครื่องมือประเมิน. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2564.
Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Social science & medicine. 2008;67(12):2072-78.
Seng JJB, Yeam CT, Huang CW, Tan NC, Low LL. Pandemic-related health literacy: a systematic review of literature in COVID-19, SARS and MERS pandemics. Singapore Medical Journal [Internet]. [cited 2024 Feb 29]. Available from: https://journals.lww.com/smj/Abstract/9000/Pandemic_related_health_literacy__a_systematic.99893.aspx.
ขจรศักดิ์ บัวระพันธ์. การประเมินทักษะแห่งศตวรรษที่ 21. จุลสารนวัตกรรมสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล. 2555;7:4-9.
Patil U, Kostareva U, Hadley M, Manganello JA, Okan O, Dadaczynski, K, et al. Health Literacy, Digital Health Literacy, and COVID-19 Pandemic Attitudes and Behaviors in U.S. College Students: Implications for Interventions. Inter J of Environ Res Public Health. 2021;18(6):1-14.
Sevinc N, Korkut B. Low COVID-19-related practice increases the risk of poor health literacy in international students. Univ Med. 2021;40(2):79-89.
Li S, Cui G, Kaminga AC, Cheng S, Xu H. Associations between health literacy, eHealth literacy, and COVID-19-related health behaviors among Chinese college students: Cross-sectional online study. J Med Internet Res. 2021;23(5):e25600.
ปาจรา โพธิหัง. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพ กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในประเทศไทย: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2564;29(3):115-30.
Krejcie, RV, & Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educ Psychol Meas. 1970;30(3):607-10.
รัตน์ศิริ ทาโต. การวิจัยทางพยาบาลศาสตร์:แนวคิดสู่การประยุกต์ใช้ (ฉบับปรับปรุง) (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2561.
สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. คู่มือกระบวนการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ. กรุงเทพฯ: บริษัท อาร์ เอ็น พี พี วอเทอร์ จำกัด; 2564.
Wiersma W, Jurs GS. Research Method in Education an Introduction. 9th ed. Massachusetts: Pearson; 2009.
สำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ[ออนไลน์]. แนะครอบครัวปรับตัว-ตั้งกติกา ใช้ชีวิตวิถีใหม่ ในภาวะโควิด-19. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 2564/8/1]. เข้าถึงได้จาก: https://cmu.to/pUGfc.
ปราณี ภาโสม. (2564). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้มารับบริการคลินิกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสกลนคร. กลุ่มงานสุขศึกษา โรงพยาบาลสกลนคร [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 2567/4/2]. เข้าถึงได้จาก: https://cmu.to/VnFTa.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ
เนื้อหาและข้อคิดเห็นใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสารสมาคมพยาบาลฯ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น ผู้เขียนบทความต้องศึกษารายละเอียดหลักเกณฑ์การจัดทำต้นฉบับตามที่วารสารกำหนด และเนื้อหาส่วนภาษาอังกฤษต้องได้รับการตรวจสอบจากเจ้าของภาษามาแล้ว