ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะการดูแลตนเองโดยอาศัยรูปแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและฮีโมโกลบินเอวันซีของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
คำสำคัญ:
โปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะการดูแลตนเอง, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2, ฮีโมโกลบินเอวันซี, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, รูปแบบเพื่อนช่วยเพื่อนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะการ ดูแลตนเองโดยอาศัยรูปแบบเพื่อนช่วยเพื่อนต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและฮีโมโกลบินเอวันซีของ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยเบาหวานที่รับบริการในเขตพื้นที่โรงพยาบาลป่าแดด จ.เชียงราย จำนวน 60 ราย สุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 รายจับคู่ ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกัน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะการดูแลตนเองแบบ เพื่อนช่วยเพื่อนตามแนวคิดของ Bandura กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะการดูแลตนเองโดยอาศัยรูปแบบเพื่อนช่วย เพื่อน เครื่องวัดระดับฮีโมโกลบินเอวันซี และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วย เบาหวาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบที
ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะการดูแลตนเองโดยอาศัย รูปแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองเพิ่มสูงขึ้นและสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับ การพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) ค่าเฉลี่ยระดับฮีโมโกลบินเอวันซีลดลงและ ลดต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01)
References
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย. ตัวชี้วัดระดับจังหวัด [ออนไลน์]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 2560/1/10]. เข้าได้จาก: http://healthkpi.moph.go.th.
International Diabetes Federation (IDF). Global guideline for type 2 diabetes. [online]. 2012. [cited 2017 Jun 10]. Available from: www.idf.org.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. ประเด็นสารรณรงค์วันเบาหวานโลก [ออนไลน์]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 2561/1/6]. เข้าได้จาก: http://www.thaincd.com.
งานบริการคลินิกพิเศษโรงพยาบาลป่าแดด. ผลงานการพยาบาลคลินิกพิเศษ ปี 2555-2558. โรงพยาบาลป่าแดด: เชียงราย; 2558.
นาฏสิริ ศัลยานุบาล. โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสขุ ภาพเพื่อการดูแลตนเองของผู้มีภาวะเสี่ยง เบาหวาน. วารสารโรคและภัยสุขภาพ สคร 8. 2553;4(1):81-90.
สุวิทย์ชัย ทองกูล. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานอำเภอเดชอุดม จ.อุบลราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์. 2014;3(2):73-90.
Bandura A.Self-efficacy: the exercise of control.New York: Freeman and Company; 1997.
จรวยพร ใจสิทธิ์ รติรันต์ มีธรรมและ พัชรินทร์ คำแก่น ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อ พฤติกรรมการจัดการตนเองและระดับฮีโมโกลบินเอวันซีในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 2560;40(2):65-73.
นงลักษณ์ เทศนา จมาภรณ์ ใจภักดี บุญทนากร พรหมภักดีและ กนกพร พินิจลึก. การพัฒนารูปแบบ การป้องกันการป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในประชาชนกลุ่มเสี่ยง. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2559; 10(1):92-100.
Burn N, Grove S.K. The practice of nursing research: conduct, critique, & utilization. 5thed. Philadelphia: Elsevier; 2005.
สุนทรี สุรัตน์ กิตติ ศศิวิมลลักษณ์ เกวลี เครือจักร และวิโรจน์ มงคลเทพ. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ในพื้นที่อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 2559;4(2):297–307.
กัตติกา ธนะขว้าง จินตนา รัตนวิฑูรย์และจามจุรีย์ ทนุรัตน์. การพัฒนาเครือข่ายเพื่อช่วยเพื่อและ ศักยภาพในการดูแลตนเองเพื่อการสูงวัยอย่างมีสุขภาวะของผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2554;5(3):381-391.
อุษา ทัศวิน ธีรนุช ห้านิรัติศัยและ วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล. ผลของการเข้าค่ายเบาหวานกลางวันต่อการ รับรู้สมรรถนะแห่งตน พฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 วารสารสภาการพยาบาล. 2553;25(1):53-66.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ
เนื้อหาและข้อคิดเห็นใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสารสมาคมพยาบาลฯ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น ผู้เขียนบทความต้องศึกษารายละเอียดหลักเกณฑ์การจัดทำต้นฉบับตามที่วารสารกำหนด และเนื้อหาส่วนภาษาอังกฤษต้องได้รับการตรวจสอบจากเจ้าของภาษามาแล้ว