ผลของการจัดกิจกรรมเสริมทักษะการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลผู้ป่วยของ นักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • วรางคณา บุญมา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่
  • แพรวระพี เรืองเดช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่
  • พลอยปภัสร์ จรัสธนะพัฒน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่

คำสำคัญ:

นักศึกษาพยาบาล, การรับรู้สมรรถนะแห่งตน, การเจ็บป่วยฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้สมรรถนะแห่งตนใน การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ของนักศึกษาพยาบาลภายหลังเข้าร่วมกิจกรรมเสริมทักษะการดูแลผู้ป่วย ฉุกเฉิน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิตชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 126 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ที่สร้างขึ้นจากแนวคิดของแบรนด์ดูรา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Paired – Sample T-test ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า คะแนนเฉลี่่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมทักษะการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P <.001*** (x ̅ = 79.45 , SD = 10.42 ) โดยด้านที่มีคะแนนสูงสุดคือ ด้านการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินระบบหายใจ

จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า กิจกรรมเสริมทักษะด้านการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ส่งเสริมให้นักศึกษา มีความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วย ซึ่งจะส่งผลดีต่อผู้ป่วยให้ได้รับการดูแลเบื้องต้นในภาวะฉุกเฉินอย่าง มีประสิทธิภาพ และอาจส่งผลให้สามารถ ลดความเจ็บป่วยรุนแรงลงได้ ดังนั้นสถาบันที่มีหน้าที่ เตรียมบุคลากรด้านสุขภาพ น่าจะได้นำมาเป็นแนวทางในการจัดการสอนเพื่อเตรียมพยาบาลให้มี ความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินต่อไป

References

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน (2555). แนวทางการกำหนดนิยามการเจ็บป่วยฉุกเฉิน สืบค้นเมื่อ 1 ต.ค. 2557 จาก http://www.niems.go.th/th/upload/file/25550402095203.pdf

พลูสุข ศิริพลู และ สุพัฒนา ศักดิฐานนท์ (2555) การพยาบาลภาวะภัยพิบัติ : สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับ พยาบาลไทย. วารสารสภาการพยาบาล. 27 (ฉบับพิเศษ) 18 – 30

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีเชียงใหม่. ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ จาก www.bcnc.ac.th

Bandura, A. Self-efficacy : the exercise of control. New York : W.H. Freeman and Company : 1997

ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ. การจัดการเรียนการสอนโดยหุ่นมนุษย์จำลอง สืบค้น เมื่อ 1 ธันวาคม 2559 จาก http://www.bcnsk.ac.th/km2/?p=42

ยุพเรศ พญาพรหมและคณะ. ผลการอบรมการให้ความรู้ด้านสุขภาพต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของ นักศึกษาพยาบาล ในการให้ความรู้เพื่อสร้างเสริมสุขภาพแก่ผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารการพยาบาล และการศึกษา. 36-53

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-01