การเปรียบเทียบการยอมรับของผู้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าจอตา โดยใช้คอนแทคเลนส์อิเล็กโทรดและดีทีแอลอิเล็กโทรด ด้วยเครื่อง RETI-port/scan 21 เพื่อหาค่าปกติของผลการตรวจของโรงพยาบาลศิริราช
คำสำคัญ:
การยอมรับการใช้อิเล็กโทรด, คอนแทคเลนส์อิเล็กโทรด, ดีทีแอลอิเล็กโทรด, การตรวจคลื่นไฟฟ้าจอตาบทคัดย่อ
การตรวจคลื่นไฟฟ้าจอตาเป็นการตรวจการทำงานทั้งหมดของเซลล์ neural และ non-neural ที่จอตา การบันทึกคลื่นไฟฟ้าดังกล่าวสามารถใช้อิเล็กโทรดได้หลายชนิด การศึกษานี้จึงมีความสนใจในการศึกษาการยอมรับและความรู้สึกจากการใช้อิเล็กโทรดต่างชนิดกัน คือ คอนแทคเลนส์อิเล็กโทรดและดีทีแอลอิเล็กโทรด โดยใช้เครื่องตรวจเดียวกัน ซึ่งปัจจุบันยังไม่เคยมีการศึกษามาก่อน การศึกษานี้เพื่อเปรียบเทียบการยอมรับและความรู้สึกของอาสาสมัครต่อการใช้คอนแทคเลนส์อิเล็กโทรดและดีทีแอลอิเล็กโทรด สำหรับการตรวจคลื่นไฟฟ้าจอตา ด้วยเครื่อง RETI-port/scan 21 ของโรงพยาบาลศิริราช โดยได้นำรายละเอียดข้อมูลจากแบบสอบถามการยอมรับของอาสาสมัครจากโครงการตรวจสุขภาพตา เพื่อหาค่าปกติของผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าทางจักษุวิทยา ของโรงพยาบาลศิริราช ทั้งหมด 20 ราย ซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่มีโรคทางตาและไม่ได้รับยาที่มีผลกระทบต่อดวงตา มาวิเคราะห์ พบว่า ร้อยละ 85 ของอาสาสมัครทั้งหมด ไม่มีความรู้สึกหรืออาการใดๆ จากการใช้ดีทีแอลอิเล็กโทรด ร้อยละ 25 ของผู้มีอาการมีความรู้สึกเคืองตาและร้อยละ 15 มีความรู้สึกรำคาญตา สำหรับคอนแทคเลนส์อิเล็กโทรด ร้อยละ 50 ของอาสาสมัครทั้งหมดไม่มีอาการหรือความรู้สึกใดๆ จากการใช้ ร้อยละ 35 ของผู้มีอาการ มีความรู้สึกเคืองตา และร้อยละ 25 มีความรู้สึกรำคาญตา นอกจากนั้น ยังมีการรายงานถึงอาการอึดอัดจากการใช้คอนแทคเลนส์อิเล็กโทรด กะพริบตาลำบากและตาแห้ง อาสาสมัครร้อยละ 55 เลือกใช้ดีทีแอลอิเล็กโทรดมากกว่าคอนแทคเลนส์อิเล็กโทรด ร้อยละ 20 ของอาสาสมัครทั้งหมดสามารถใช้ได้ทั้ง 2 ชนิด อาการตาแดงพบได้ร้อยละ 15 ในทั้ง 2 กลุ่มเท่ากัน แต่กลุ่มคอนแทคเลนส์อิเล็กโทรด พบอาการปวดตา ร้อยละ 3 โดยสรุปอาสาสมัครส่วนใหญ่ให้การยอมรับการใช้ดีทีแอลอิเล็กโทรดมากกว่าคอนแทคเลนส์อิเล็กโทรด เนื่องจากทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายตาและกะพริบตาลำบากในขณะตรวจน้อยกว่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
References
Ruangvaravate N, Thuangtong A, Saksiriwutto P. Electrophysiologic tests of vision. Bangkok: Department of Ophthalmology Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University; 2018. p.71-81. (in Thai)
Thuangtong A, Chuenkongnaew W, Singalavanija A. Basic knowledge of ophthalmology. Bangkok: Department of Ophthalmology Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University; 2015. p.61-9. (in Thai)
Robson AG, Frishman LJ, Grigg J, et al. ISCEV Standard for full-field clinical electroretinography (2022 update). Doc Ophthalmol 2022;144:165-77. doi:10.1007/s10633-022-09872-0.
Robson AG, Nilsson J, Li S, et al. ISCEV guide to visual electrodiagnostic procedures. Doc Ophthalmol 2018;136:1-26. doi:10.1007/s10633-017-9621-y.
Rungsiri K, Homchong N, Thuangtong A, et al. Normative data of the electrophysiologic tests at Siriraj hospital. Siriraj Med Bull 2020;13:247-52. (in Thai)
Sinawat S. Common retinal and vitreous disease. Khon Kaen: Department of Ophthalmology Faculty of Medicine, Khon Kaen University; 2016. p.75-80. (in Thai)
Dezheng W, Yan L. Atlas of testing and Clinical application for ROLAND electrophysiological instrument. China: Beijing Science and Technology; 2013.
Man TTC, Yip YWY, Cheung FKF, et al. Evaluation of electrical performance and properties of electroretinography electrodes. Transl Vis Sci Technol 2020;9:45. doi:10.1167/tvst.9.7.45.
Thuangtong A, Ruangvaravate N, Samsen P, et al. Narmative data of electroretinogram and visual evoked potential in Thai population. Siriraj Med Journal 2007;59:131-4. (in Thai)
Brouwer AH, de Wit GC, de Boer JH, et al. Effects of DTL electrode position on the amplitude and implicit time of the electroretinogram. Doc Ophthalmol 2020;140:201-9. doi:10.1007/s10633-019-09733-3.
Kurtenbach A, Kramer S, Strasser T, et al. The importance of electrode position in visual electrophysiology. Doc Ophthalmol 2017;134:129-34. doi:10.1007/s10633-017-9579-9.
Gondosari TYP, Sidik M, Nusani S, et al. Comparison of wave amplitude, implicittime and comfort level using Dawson-TrickLitzow, Jet and Dencott electrodes in electroretinography in normal adults. IJRetina 2020;3:60-3. doi:10.35479/ijretina.2020.vol003.iss002.123.
Lapkovska A, Palmowski-Wolfe AM, Todorova MG. Comparing DTL microfiber and neuroline skin electrode in the Mini Ganzfeld ERG. BMC Ophthalmol 2016;16:137. doi:10.1186/s12886-016-0311-4.
RETI-port/scan 21 User manual. Roland consult electrophysiology and imaging. 2018; p.30.
Rungsiri K. Eye checkup of Thalassemia disease. Bangkok: Department of Ophthalmology Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University; 2021. p.34-5. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.