การพัฒนาและประเมินแอปพลิเคชันสมาร์ทโฟนสำหรับงานบริการของห้องปฏิบัติการเคมีคลินิกในโรงพยาบาลสกลนคร
คำสำคัญ:
สิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ, งานเคมีคลินิก, แอปพลิเคชันสมาร์ทโฟน, ไกลด์ แอปบทคัดย่อ
ในปัจจุบันมีการใช้แอปพลิเคชันในงานด้านบริการสุขภาพของโรงพยาบาลเพิ่มมากขึ้น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสังคมแห่งการใช้ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน ทำให้การเข้าถึงข้อมูลทางการแพทย์ทำได้ง่าย รวดเร็ว และสะดวกมากขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการและเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการเคมีคลินิกต่อแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนในการให้บริการงานเคมีคลินิก โรงพยาบาลสกลนคร การศึกษานี้สร้างแอปพลิเคชันด้วย Glide App โดยจะทำการประเมินประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันจากการทำแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ 2 กลุ่ม คือ เจ้าหน้าที่ประจำหอผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (กลุ่มที่ 1) จำนวน 93 ราย และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานประจำกลุ่มงานเทคนิคการแพทย์และพยาธิวิทยาคลินิก (กลุ่มที่ 2) จำนวน 28 ราย ผลการศึกษา พบว่า คะแนนการประเมินความพึงพอใจเฉลี่ยของทั้งสองกลุ่ม ประกอบด้วย โครงสร้างและรูปแบบของแอปพลิเคชันมีความน่าสนใจ (4.05±0.60, 4.82±0.39) ความสวยงามและน่าสนใจของแอปพลิเคชัน (3.97±0.67, 4.79±0.42) ความสะดวกในการใช้งาน (4.10±0.69, 4.89±0.31) ความสะดวกในการสืบค้นข้อมูล (4.15±0.64, 4.75±0.44) การนำไปใช้ประโยชน์ (4.49±0.60, 4.93±0.26) ความน่าเชื่อถือของข้อมูล (4.55±0.50, 4.86±0.36) ลดเวลาในการรับบริการ (4.26±0.71, 4.82±0.39) สามารถลดการใช้ทรัพยากร (4.59±0.58, 4.82±0.39) ความสะดวกในการทบทวนและปรับปรุงเอกสาร (4.35±0.56, 4.82±0.39) และการนำไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นๆ (4.43±0.50, 4.82±0.39) ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม มีหัวข้อความสวยงามและความน่าสนใจของแอปพลิเคชันที่ได้คะแนนจากผู้ประเมินกลุ่มที่ 1 น้อยกว่าหัวข้ออื่นๆ ซึ่งได้คะแนนเฉลี่ย 3.97 คะแนน แต่ก็ยังได้ระดับการประเมินในระดับดี ส่วนผู้ประเมินในกลุ่มที่ 2 ให้คะแนนการประเมินความพึงพอใจสูง และได้ระดับดีมากในทุกหัวข้อการประเมิน โดยสรุปผลการสร้างแอปพลิเคชันสมาร์ทโฟนในการให้บริการงานเคมีคลินิก สร้างความพึงพอใจเป็นอย่างมากทั้งต่อตัวเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและผู้ใช้บริการงานเคมีคลินิก อย่างไรก็ตาม การสร้างแอปพลิเคชันสำหรับงานเคมีคลินิกยังต้องมีการพัฒนาคุณสมบัติการใช้งานด้านอื่นๆ เพื่อขยายขอบเขตงานให้ครอบคลุมผู้ใช้บริการทุกกลุ่มในอนาคต
References
Phattanapong C, Nutcharat W, Pensiri C, et al. Evaluation of analytical errors in the clinical chemistry laboratory of Songklanagarind hospital: A 5-year experience. Arch AHS 2017;18:29:25-33. [in Thai]
Linne, JJ, Ringsrud KM. Techniques in clinical laboratory science 3 rd ed. Mosby Year Book. St Louis 1992;18-40.
Quality management work manual [Internet]. Department of Medical Sciences; 2017. Available from: https://rmsc12.dmsc.moph.go.th/web/file/manual.html.
Department of Medical Sciences. Quality system and laboratory standard for Tambon health promotion hospital and community health center. 2nd ed. Bangkok: The printing house of the National Buddhism Office; 2014.
Application. Thaiware. [Internet]. 2020 [cited 2023 Apr 20]. Available from: https://tips.thaiware.com/1322.html#what-is-application.html.
Yamane T. Statistics: An introductory analysis. 2nd ed. New York: Harper and Row; 1967.
Adeniran AO. Application of Likert scale’s type and Cronbach’s alpha analysis in an airport perception study. Sch J Appl Sci Res 2019;2:1-5.
Wannee K. Research methodology in behavioral sciences. 3rd ed. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House; 2012.
Nion S, Chomphunut S, Thanyaporn R, et al. Development of diabetic monitoring mobile application. RTA Med J 2020;73:141-50. [in Thai]
Yuwanuch G, Patcharanikarn P, Chinapat S. Smartphone application for diabetes behavior study in Thailand. SPURST 2019;11:7-22. [in Thai]
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.