การศึกษานำร่องแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมเพื่อดูอัตราการใส่ท่อช่วยหายใจสำเร็จตั้งแต่ครั้งแรก เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้รับหรือไม่ได้รับยาชาลิโดเคนเฉพาะที่ในทางเดินหายใจส่วนต้น

ผู้แต่ง

  • กัญจนี วชิรรังสิมันตุ์ กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
  • ศิวนาฏ พีระเชื้อ กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

คำสำคัญ:

ยาชาลิโดเคน, แผนกฉุกเฉิน, อัตราความสำเร็จในการใส่ท่อช่วยหายใจตั้งแต่ครั้งแรก, การใส่ท่อช่วยหายใจ

บทคัดย่อ

แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในประเทศไทยส่วนใหญ่ใส่ท่อช่วยหายใจที่แผนกฉุกเฉินด้วยเทคนิคการให้ยาสงบประสาท การศึกษานำร่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเป็นไปได้ในการศึกษาอัตราใส่ท่อช่วยหายใจสำเร็จตั้งแต่ครั้งแรกเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ใช้ยาชา Lidocaine เฉพาะที่กับทางเดินหายใจส่วนต้นเทียบกับกลุ่มที่ไม่ใช้การศึกษาสองกลุ่มแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม ที่แผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ระหว่างเดือนตุลาคม 2565 ถึง เมษายน 2566 ผู้ป่วยอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มีข้อบ่งชี้ในการใส่ท่อช่วยหายใจทางปากถูกคัดเข้าและสุ่มเข้าแต่ละกลุ่มด้วยจดหมายปิดผนึก กลุ่มควบคุมได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจด้วยเทคนิคการให้หรือไม่ให้ยาสงบประสาท กลุ่มทดลองได้รับยาชา Lidocaine เฉพาะที่ที่ทางเดินหายใจส่วนต้นร่วมด้วย การศึกษาความเป็นไปได้วัดจากอัตราการคัดผู้ป่วยเข้าสู่การศึกษา ได้การรักษาตามที่ถูกจัดสรร และความสมบูรณ์ของข้อมูล ผลลัพธ์ทางคลินิกหลักคือ อัตราการใส่ท่อช่วยหายใจสำเร็จตั้งแต่ครั้งแรก และผลลัพธ์รองคือ ภาวะแทรกซ้อนระหว่างการใส่ท่อช่วยหายใจ ผู้ป่วย 259 รายที่ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจแต่คัดออก 179 ราย ตรงเกณฑ์เข้าสู่การศึกษา 80 ราย สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 40 ราย คัดผู้ป่วยได้ตามเป้าภายใน 6 เดือน ได้การรักษาตามที่ถูกจัดสรรร้อยละ 97.5 ความสมบูรณ์ของข้อมูลอยู่ที่ร้อยละ 91.3 จากตั้งไว้ที่ร้อยละ 95.0 อัตราการใส่ท่อช่วยหายใจสำเร็จตั้งแต่ครั้งแรกสูงกว่าในกลุ่มยาชาพบร้อยละ 72.5 เทียบกับ ร้อยละ 60 (ค่าความแตกต่างร้อยละ 12.5, ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 = 8.0-33.0) ระดับออกซิเจนระหว่างใส่ท่อช่วยหายใจต่ำกว่าร้อยละ 90 พบบ่อยกว่าในกลุ่มได้รับยาชาพบร้อยละ 22.5 เทียบกับ ร้อยละ 10 (ค่าความแตกต่างร้อยละ 12.5, ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 = 3.4-28.4) มีผู้ป่วยระดับออกซิเจนก่อนใส่ท่อช่วยหายใจต่ำกว่าร้อยละ 90 ถูกคัดสู่การศึกษา ขณะแพทย์ใส่ท่อช่วยหายใจพบว่าการให้ยาชา Lidocaine หยอดในท่านอนในผู้ป่วยที่กระสับกระส่ายและไม่ให้ความร่วมมือนั้นยาก การศึกษาในอนาคตที่มีจำนวนตัวอย่างมากขึ้นที่จะบอกความแตกต่างทางสถิติของผลลัพธ์ทางคลินิกที่สนใจมีความเป็นไปได้ ด้วยการปรับเกณฑ์การคัดออก กระบวนการเก็บข้อมูล และเทคนิคการให้ยาชา

References

Calvin A. B, Ron M. Wall. Airway In: Rosen’s emergency medicine: Concepts and clinical practice. 9th ed. Philadelphia: Elsevier; 2018. p. 3-24.

Sujinpram C. First-pass intubation successful with rapid sequence intubation versus conventional endotracheal intubation in emergency department. MJSBH 2020 Dec 30;35:729-38. [in Thai]

Saoraya J, Vongkulbhisal K, Kijpaisalratana N, et al. Difficult airway predictors were associated with decreased use of neuromuscular blocking agents in emergency airway management: a retrospective cohort study in Thailand. BMC Emerg Med 2021;25;21:37.

Chanthawong S, Chau-In W, Plailaharn N, et al. A prospective study of tracheal intubation and immediate complications in emergency room in Srinagarind hospital. Srinagarind Med J 2015;5;30:256-61. [in Thai]

Kim C, Kang HG, Lim TH, et al. What factors affect the success rate of the first attempt at endotracheal intubation in emergency departments? Emerg Med J 2013;30:888-92.

Walls RM, Brown CA, Bair AE, et al. NEAR II Investigators. Emergency airway management: A multi-center report of 8937 emergency department intubations. J Emerg Med 2011;41:347-54.

Srivilaithon W. Prospective observational study of emergency airway management in emergency department. J Med Assoc Thai 2016;99:S131-7.

Sakles JC, Chiu S, Mosier J, et al. The importance of first-pass success when performing orotracheal intubation in the emergency department. Acad Emerg Med 2013;20:71-8.

Pani N, Kumar Rath S. Regional & topical anaesthesia of upper airways. Indian J Anaesth 2009;53:641-8.

Ahmad I, El-Boghdadly K, Bhagrath R, et al. Difficult airway society guidelines for awake tracheal intubation (ATI) in adults. Anaesthesia 2020;75:509-28.

Cocks K, Torgerson DJ. Sample size calculations for pilot randomized trials: a confidence interval approach. J Clin Epidemiol 2013;66:197-201.

Reed MJ, Dunn MJG, McKeown DW. Can an airway assessment score predict difficulty at intubation in the emergency department? Emerg Med J 2005;22:99-102.

April MD, Arana A, Reynolds JC, et al. Peri-intubation cardiac arrest in the emergency department: A national emergency airway registry (NEAR) study. Resuscitation 2021;1;162:403-11.

Catterall WA, Mackie K. Local Anesthetics. In: Brunton LL, Chabner BA, Knollmann BC, editors. Goodman & Gilman’s: The pharmacological basis of therapeutics [Internet]. 12th ed. New York, NY: McGrawHill Education; 2015 [cited 2023 Apr 22]. Available from: accessmedicine. mhmedical.com/content.aspx?aid=1127866670.

Chung DC, Mainland PA, Kong AS. Anesthesia of the airway by aspiration of lidocaine. Can J Anesth 1999;1;46:215-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

How to Cite

1.
วชิรรังสิมันตุ์ ก, พีระเชื้อ ศ. การศึกษานำร่องแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมเพื่อดูอัตราการใส่ท่อช่วยหายใจสำเร็จตั้งแต่ครั้งแรก เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้รับหรือไม่ได้รับยาชาลิโดเคนเฉพาะที่ในทางเดินหายใจส่วนต้น. J Med Health Sci [อินเทอร์เน็ต]. 31 ธันวาคม 2023 [อ้างถึง 15 เมษายน 2025];30(3):60-73. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmhs/article/view/265595

ฉบับ

บท

บทความวิจัย