ผลของการวางแผนการดูแลล่วงหน้าต่อการดูแลผู้ป่วยในระยะท้ายของชีวิต โรงพยาบาลลำพูน
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยระยะท้าย, การดูแลแบบประคับประคอง, การวางแผนการดูแลล่วงหน้าบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
ปัจจุบันผู้ป่วยในระยะท้ายของชีวิตมีจำนวนเพิ่มขึ้น ถึงแม้ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะได้รับการรักษาอย่างเต็มที่ แต่ก็ยังมีความทุกข์ทรมานทั้งด้านร่างกายและจิตใจ มีปัญหาที่ซับซ้อนอันเกิดจากหลากหลายปัจจัยทั้งจากตัวผู้ป่วย และครอบครัว ผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรได้รับการดูแลแบบประคับประคอง และควรได้รับการวางแผนการดูแลล่วงหน้า เน้นในสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการหรือให้ความสำคัญ และเป้าหมายการดูแลรักษาเมื่อถึงช่วงเวลาต่างๆ ของชีวิต การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการวางแผนการดูแลล่วงหน้าในผู้ป่วยโรคมะเร็งและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ระยะท้ายที่รับการรักษาที่โรงพยาบาลลำพูน ต่อการทำหัตถการที่ไม่จำเป็นในระยะท้ายของชีวิต สถานที่เสียชีวิต ในวาระสุดท้าย จำนวนวันนอนรวมทั้งค่าใช้จ่ายในการรักษาของผู้ป่วยก่อนเสียชีวิตด้วยการศึกษาแบบ retrospective cohort study ในผู้ป่วยกลุ่มโรคมะเร็ง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังระยะท้ายที่รับการรักษาที่โรงพยาบาลลำพูนที่เสียชีวิต ช่วงตุลาคม พ.ศ. 2564-กันยายน พ.ศ. 2565 จำนวน 394 คน วิเคราะห์โดยใช้สถิติ Chi square และ t-test เปรียบเทียบ การทำหัตถการที่เป็น Invasive procedure (การใส่ท่อช่วยหายใจ การกดนวดหัวใจ) สถานที่ เสียชีวิตในวาระสุดท้าย จำนวนวันนอนและค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาก่อนเสียชีวิต ระหว่าง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ ได้รับการวางแผนการดูแลล่วงหน้า และกลุ่มที่ไม่ได้รับการวางแผนการดูแลล่วงหน้า ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่ ได้รับการวางแผนการดูแลล่วงหน้า ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจก่อนเสียชีวิตร้อยละ 1.83 กดนวดหัวใจก่อนเสียชีวิต ร้อยละ 0 น้อยกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการวางแผนการดูแลล่วงหน้าอย่างมีนัยสำคัญ (p<0. 001) มีสัดส่วนการเสียชีวิต ที่บ้านร้อยละ 66.97 ความแตกต่างกับผู้ป่วยที่ไม่ได้วางแผนดูแลล่วงหน้า (p<0.001) ผู้ป่วยที่ได้รับการวางแผน ดูแลล่วงหน้าที่ได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลก่อนเสียชีวิต มีจำนวนวันนอนเฉลี่ย 7.81 วัน และมีค่าใช้จ่าย ในการดูแลรักษาเฉลี่ย 47,343.09 บาท น้อยกว่าผู้ป่วยอีกกลุ่มหนึ่งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.002 และ p<0.001 ตามลำดับ)
References
Department of Medical Services, Ministry
of Public Health. Guidelines for the care
of terminally ill patients 2014:72 years
Department of Medical Services; 2014.
Dracup K, Walden JA, Stevenson LW, et al.
Quality of life in patients with advanced
heart failure. J Heart Lung Transplant
;11:273-9.
Garland EL, Bruce A, Stajduhar K. Exposing
barriers to end-of-life communication in
heart failure: An integrative review. Can J
Cardiovasc Nurs 2013;23:12-8.
World Health Organization. WHO definition
of palliative care; 2019. [Internet]. 2019
[cited 2022 Nov 16]. Available from: URL:
https://www.hfocus.org/content/2019/
/17152.
Temsak Puengrasamee. Advanced care
plan, peaceful death project [Internet].
www.budnet.org. 2554 [cited 2022 Nov 16].
Available from: http://www.budnet.org/
sunset/node/213.
Seal M. Patient advocacy and advance
care planning in the acute hospital setting.
Aust J Adv Nurs 2007;24:29-36.
Davison SN. Advance care planning in
chronic illness #162. J Palliat Med 2008;11:
-4.
Sritharathikun P. Impact of advance care
planning on the end-of-life care in a
Maesot palliative care clinic, Tak Province,
Thailand. PCFM 2020;4:97-109.
Suraarunsumrit P, Nopmaneejumruslers
C, Srinonprasert V. Advance care planning
(ACP) associated with reduced health care
utilization in deceased older patients with
advanced stage of chronic diseases. J Med
Assoc Thai 2019;102:801-8.
Meeussen K, Block LVd, Echteld M, et al.
Advance care planning in belgium and the
netherlands: A nationwide retrospective
study Via sentinel networks of general
practitioners. J Pain Symptom Manage
;42:565-77.
Teunissen SC, Wesker W, Kruitwagen C, et
al. Symptom prevalence in patients with
incurable cancer: A systematic review.
J Pain Symptom Manage 2007;34:94-104.
Everdingen MHJ, Hochstenbach LM,
Joosten EAJ, Update on prevalence of
pain in patients with cancer: systematic
review and meta-analysis. J Pain Symptom
Manage 2016;51:1070-90.
Pairojkul S, Thongkhamcharoen R,
Raksasataya A, et al. Integration of
specialist palliative care into tertiary
hospitals: A multicenter point prevalence
survey from Thailand. Palliat Med Rep
;2:272-9.
Sinclair C, Auret AK, Evans FS, et al.
Impact of a nurse-led advance care
planning intervention on satisfaction,
health-related quality of life, and health
care utilization among patients with
severe respiratory disease: A randomized
patient-preference trial. J Pain Symptom
Manage 2020;59:848-55.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.