ความสัมพันธ์ระหว่างวิถีชีวิตแบบเร่งรีบกับปริมาณสารอาหารของหญิงตั้งครรภ์
คำสำคัญ:
วิถีชีวิตแบบเร่งรีบ, วิถีชีวิตแบบเนิบช้า, ปริมาณสารอาหาร, หญิงตั้งครรภ์บทคัดย่อ
ปัจจุบันสตรีตั้งครรภ์มีแนวโน้มอุบัติการณ์ขาดสารอาหารเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากสัมพันธ์กับวิถีชีวิตทำงานที่ต้องเร่งรีบแข่งขันกับเวลา การศึกษาเชิงหาความสัมพันธ์แบบตัดขวาง (analytic cross-sectional study) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวิถีชีวิตแบบเร่งรีบกับปริมาณสารอาหาร ในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นสตรีตั้งครรภ์ทุกไตรมาสที่เข้ารับบริการฝากครรภ์ในโรงพยาบาลนราธิวาส ระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2559 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 จำนวน 143 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่มีวิถีชีวิตแบบเนิบช้าและกลุ่มที่มีวิถีชีวิตแบบเร่งรีบ กลุ่มละ 73 คน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างวิถีชีวิตและภาวะโภชนาการโดยใช้ Wilcoxon Rank Sum Test ผลการศึกษาพบว่า อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ส่วนตัว ของทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันทางสถิติ ค่ามัธยฐานของปริมาณพลังงาน คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามินซี และไนอะซินที่ได้รับต่อวัน ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทั้งสองกลุ่ม (p>0.05) กลุ่มวิถีชีวิตแบบเนิบช้าได้รับปริมาณแคลเซียมและธาตุเหล็กต่อวันมากกว่ากลุ่มวิถีชีวิตแบบเร่งรีบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และกลุ่มวิถีชีวิตแบบเนิบช้าได้รับปริมาณวิตามินเอ วิตามินบี 1 และวิตามินบี 2 มากกว่าวิถีชีวิตแบบเร่งรีบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) สรุปผล ปริมาณพลังงาน คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมันที่ได้รับต่อวัน ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่มีวิถีชีวิตเนิบช้าและกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่มีวิถีชีวิตเร่งรีบ แต่กลุ่มตัวอย่างที่มีวิถีชีวิตแบบเนิบช้าได้รับปริมาณแคลเซียม ธาตุเหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี 1 และวิตามินบี 2 สูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ชีวิตแบบเร่งรีบ อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวัน (Dietary Reference Intake; DRI) พบว่า กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่ใช้ชีวิตเนิบช้าได้รับวิตามินบี 2 ในปริมาณที่เพียงพอเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ใช้ชีวิตแบบเร่งรีบ และเนื่องจากหญิงตั้งครรภ์ที่ใช้ชีวิตชีวิตแบบเร่งรีบ มีความเสี่ยงที่จะขาดสารอาหาร บุคลากรทางการแพทย์ควรให้ความรู้เกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่มีสารอาหารเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย รวมทั้งควรส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์รับประทานธาตุเหล็ก โฟลิก ไอโอดีน และแคลเซียมตามแผนการตั้งครรภ์
References
Strategy and Planning Division. Thai public health report 2008-2010. Bangkok: Thai Health Promotion Foundation, Ministry of Public Health; 2010.
Bureau of Nutrition. The 5th Thailand food and nutrition survey report. Bangkok: Department of Health, Ministry of Public Health; 2003.
World Health Organization. Maternal anthropometry and pregnancy outcomes. A WHO collaborative study 1995;75 (Suppl):1-98.
Bureau of Reproductive Health. Annual report 2020. Nonthaburi: Department of Health, Ministry of Public Health, Ministry of Public Health; 2020.
Sombutpibul C. Slow living. health & exercise monthly magazine. 2003; 2(24):32.
Cheewajit column. Why do you rush?. Cheewajit Magazine. 2005; 7(157):84-85.
Department of Health Ministry of Public Health. Manual for global physical activity surveillance among general population in province by cross-sectional [Internet]. Nonthaburi: Department of Health Ministry of Public Health; 2009 [cited 2019 August 8]. Available from: http://203.157.7.40 /exercise/tiki- download_file.php?fileId =20. (In Thai)
Health Promotion Center 5. Maternal and child health standards 2017. Singburi: Health Promotion Center 5, Department of Health, Ministry of Public Health; 2017.
Chaengbumrung S, Mo-suwan L, Phonrat B, et al. Dietary Reference Intake for Thais 2020. 1st ed. Bangkok: Bureau of Nutrition, Department of Health, Ministry of Public Health; 2020.
Bureau of Health Promotion. Annual Report 2019 [Internet]. 2019. [cited 2018 May 27]. Available from: https://planning.anamai.moph.go.th/th/annual-report/1039#wow-book/
Flaxman SM, Sherman PW. Morning sickness: A mechanism for protecting mother and embryo. QRB 2000;75(2):113-48.
FAO, World Health Organization, United Nations University. Human energy requirements: Report of a joint FAO/WHO/UNU expert consultation: Rome, 2001. Rome: FAO; 2004.
Thidpad C, Banchonhattakit P. Effects of eating behavior program for pregnant women with weight gain during pregnancy in ANC clinic, Tertiary hospital, Khon Kaen province. SRIMEDJ 2013: 27(4): 347-353.
Waratornpaibul T. Consumption Behavior: Consumerism Food and Health-Conscious Food. PIMJ 2014; 5(2):255-64.
Ngoenying S. Effects of a health promotion program on nutritional health behavior and stress management in pregnant adolescents. JFONUBUU 2013; 21(4):37-48.
Sakunrad C. Food consumption behaviors in pregnancy. Buddhachinaraj Med J 2012; 29(1):180-9.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.