การประเมินผลการดำเนินงานคลินิกโรคไตเรื้อรังภาพรวมระดับประเทศ ภายใต้นโยบายกระทรวงสาธารณสุข
คำสำคัญ:
คลินิกโรคไตเรื้อรัง, นโยบายกระทรวงสาธารณสุข, การประเมินผล, สหวิชาชีพ, โรคเรื้อรังบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
โรคไตเรื้อรังเป็นหนึ่งในปัญหาด้านสาธารณสุขที่มีความสำคัญในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดทิศทางการดำเนินงานป้องกันโรคไตเรื้อรังเพื่อส่งเสริมสุขภาพและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไตเรื้อรัง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายการจัดตั้งคลินิกโรคไตเรื้อรังของกระทรวง สาธารณสุข โดยใช้รูปแบบการศึกษาแบบเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบ เจาะลึกและการสนทนากลุ่มจากผู้บริหารระดับสูงที่มีอำนาจในการกำหนดนโยบาย 17 ราย ผู้บริหารของโรงพยาบาล 196 ราย ผู้ปฏิบัติงานหลัก 133 ราย กลุ่มผู้ป่วยหรือญาติที่มารับบริการที่คลินิกโรคไตเรื้อรัง 272 ราย โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ และใช้ CIPP model เป็นแนวทางในการประเมินผลการศึกษา จากโรงพยาบาล 140 แห่ง พบว่าการจัดตั้งคลินิกโรคไตเรื้อรังมีการปฏิบัติตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ 70.71 จัดตั้งขึ้นเองตามนโยบายของผู้บริหารโรงพยาบาลร้อยละ 22.14 และไม่มีการจัดตั้งคลินิกโรคไตเรื้อรังร้อยละ 7.14 เนื่องด้วยข้อจำกัดในเรื่องสถานที่ บุคลากร และงบประมาณโรงพยาบาลที่มีการจัดตั้งคลินิกโรคไตเรื้อรังได้มีการแยกบริการคลินิกโรคไตเรื้อรังออกมาโดยเฉพาะร้อยละ 82.31 โรงพยาบาลส่วนใหญ่มีการประชุมชี้แจงและรับฟังความคิดเห็น ทิศทาง นโยบาย เป้าหมายและแผนปฏิบัติการให้ผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลและเครือข่ายนอกโรงพยาบาลรับทราบร้อยละ 44.62 และมีการประเมินผลแนวทางการสื่อสาร ช่องทางการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมและนำไปใช้ในการปรับปรุงการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นร้อยละ 14.62 การสนับสนุนงบประมาณการจัดตั้งคลินิกโรคไตเรื้อรังยังไม่เพียงพอร้อยละ 63.21 งบประมาณส่วนใหญ่มาจากเงินบำรุงของโรงพยาบาล และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีการดำเนินงานแบบทีมสหสาขาวิชาชีพร้อยละ 58.46 ไม่มีนักโภชนาการของโรงพยาบาลร้อยละ 20.77 นอกจากนี้ ร้อยละ 95.38 มีการบริหารจัดการระบบฐานข้อมูลผู้ป่วยไตเรื้อรัง มีเพียงร้อยละ 42.31 ที่มีฐานข้อมูลผลการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังแต่ส่วนใหญ่ยังไม่มีการนำข้อมูลผู้ป่วยเหล่านั้นมาวิเคราะห์เพื่อใช้ในการติดตามผลและพัฒนาการดูแลรักษา เนื่องจากผู้ปฏิบัติงานมีภาระงานมาก การใช้ข้อมูลจึงมุ่งตอบตัวชี้วัดผลการดูแลตามกระทรวงสาธารณสุข ผลลัพธ์ ทางคลินิกพบว่าผูป้ วยโรคไตเรื้อรังที่เข้ารับบริการในทุกระดับความรุนแรงมีค่า eGFR เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 20
References
[Available from: http://service.nso.go.th/nso/web/statseries/tables/00000_Whole_Kingdom/in-46-55.xls].
2. Ingsathit A, Shayakul C, Chaiprasert A. A project to study the disease progression and clinical outcome of chronic kidney disease in Thai population [Internet].Bangkok: Health Systems Research Institute (HSRI); 2017 [Available from: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4768?localeattribute=th.].
3. Jitraknatee J, Ruengorn C, Nochaiwong S.Prevalence and Risk Factors of Chronic Kidney Disease among Type 2 Diabetes Patients: A Cross-Sectional Study in Primary Care Practice. Scientific reports 2020;10:1-10.
4. Thawornchaisit P, Looze FD, Reid CM, et al. Health-Risk Factors and the Prevalence of Chronic Kidney Disease: Cross-Sectional Findings from a National Cohort of 87 143
Thai Open University Students. Global journal of health science 2015;7:59-72.
5. Jiamjariyaporn T, Ingsathit A, Tungsanga K, et al. Effectiveness of integrated care on delaying chronic kidney disease progression in rural communities of Thailand (ESCORT study): rationale and design of the study. BMC Nephrol 2014;15:99-105.
6. Department of Disease Control. Bureau of Non-communicable Diseases. Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Annual Report 2015. Nonthaburi.
[Available from: http://www.thaincd.com/ document/file/download/paper-manual/Annual-report-2015.pdf].
7. Stufflebleam DL, Shinkfield, A. J. Evaluation Theory, Model & Application. Now York: Jossey-Bass; 2007. p. 768.
8. Costa-Requena G, Moreso F, Cantarell MC,et al. Health literacy and chronic kidney disease. Nefrologia 2017;37:115-7.
9. Singprasert R, Kanogsunthornrat N,Chailimpamontri W. Effect of Behavior Modification Program Led by Advanced Practice Nurse on Clinical Outcomes in Patients with Pre-dialysis Chronic Kidney Disease. Thai Journal of Nursing and Midwifery Practice 2018;5:57-74.
10. Kaenkong K, Anutrakulchai S, Lertsinudom S, et al. Effects of Health Behavioral Promotion Programs on Behavior to Slowing Progression in Patients with Chronic Kidney Disease at 1-3a Stage. Journal of Nursing and Health Care 2019;37:211-20.
11. Berns JS, Saffer TL, Lin E. Addressing Financial Disincentives to Improve CKD Care. Journal of the American Society of Nephrology. 2018;29:2610-2.