ความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน ตำบลปากน้ำ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา

ผู้แต่ง

  • ศิรินันท์ คำสี

คำสำคัญ:

ความเชื่อด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการป้องกัน, โรคไข้เลือดออก

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการ ป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนตำบลปากน้ำอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ในด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยง ต่อการเกิดโรค การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรค และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก เป็นการวิจัย เชิงพรรณนา (descriptive research) โดยการศึกษา ณ จุดเวลา (cross-sectional study) เป็นการสุ่มตัวอย่าง แบบหลายขั้นตอน (multi-stage sampling) กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ Krejcie และ Morgan ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 140 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า ความเชื่อด้านสุขภาพด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคไข้เลือดออก (mean±SD; 2.37±0.25) ไม่มี ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.032; p-value=0.703) ส่วนความเชื่อด้านสุขภาพด้านการรับรู้ความรุนแรงของโรคไข้เลือดออก (mean±SD; 2.33±0.30) มีความ สัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=-0.209; p-value=0.013)

References

--

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-29

How to Cite

1.
คำสี ศ. ความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน ตำบลปากน้ำ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา. J Med Health Sci [อินเทอร์เน็ต]. 29 สิงหาคม 2018 [อ้างถึง 9 เมษายน 2025];25(2):1-11. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmhs/article/view/142864

ฉบับ

บท

บทความวิจัย