ปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • วรชัย จารีต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • นครินทร์ ประสิทธิ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุรชัย พิมหา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • นพรัตน์ เสนาฮาด คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ณัฐพล โยธา องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ปัจจัยทางการบริหาร, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดขอนแก่น ประชากรศึกษา คืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดขอนแก่น จำนวน 33,838 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 220 คน สุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน โดยเทียบสัดส่วนกลุ่มตัวอย่างตามประชากรในแต่ละพื้นที่และสุ่มอย่างง่าย จนครบจำนวนและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา จากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทุกข้อคำถามมีค่าดัชนีความสอดคล้อง มากกว่า 0.5 และค่าความเชื่อมั่น ของแบบสอบถามได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาช 0.96 ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างวันที่ 1 ถึง 30 พฤศจิกายน 2565 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุเชิงเส้นแบบขั้นตอน โดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05

ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมของปัจจัยทางการบริหารและการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดขอนแก่น อยู่ในระดับมาก 2.39 (S.D.=0.31) และ อยู่ในระดับมาก 2.54 (S.D.=0.33) ตามลำดับ โดยพบว่าภาพรวม ปัจจัยทางการบริหารมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดขอนแก่น (r =0.538, p-value = < 0.001) และพบว่า ปัจจัยทางการบริหารด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ภาพรวมปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยทางการบริหารด้านบุคลากร มีผลและสามารถร่วมพยากรณ์ การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดขอนแก่นได้ ร้อยละ 36.8 (R2=0.368) ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมให้มีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

References

กรมควบคุมโรค. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 20 มีนาคม 2565], เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/faq_more.php

World Health Organization. WHO Health Emergencies Programme WHO COVID-19 dashboard [Internet]. 2022 [Cited 2022 November 7]. Available from: https://covid19.who.int/

กรมควบคุมโรค. สถานการณ์ผู้ป่วย COVID-19 ภายในประเทศ รายสัปดาห์ [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. สถาณการณ์ Covid-19 จังหวัดขอนแก่น [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ7 พฤศจิกายน2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.khonkaen.go.th/khonkaen6/COVID19/

ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง, จิราพร วรวงศ์, เพ็ญนภา ศรีหริ่ง, รัตน์ดาวรรณ คลังกลาง, จุฬารัตน์ ห้าวหาญ, ดิษฐพล ใจซื่อ และคณะ. คู่มือการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคโควิด 19 ในชุมชน ของ อสม. ม.ป.ม: สถาบันพระบรมราชนก กระทรวงสาธารณสุข; 2564.

Cohen J. Statistical power analysis for the behavior sciences. 2nd ed. Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum. 1988.

เฉลิมพล หนูยอด, มกราพันธุ์ จูฑะรสก, ประจักร บัวผัน. คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2565; 29(2): 30-41.

ประจักร บัวผัน. หลักการบริหารสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 4. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2558.

Best JW. Research in education. 3rd ed. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall. 1977.

Elifson WK, Runyon RP, Haber A. Fundamentals of social statistics. 2nd ed. Singapore: McGraw-Hill; 1990.

มานิตา ทาแดง, ประจักร บัวผัน, มกราพันธ์ จูฑะรสก. คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานควบคุมป้องกันโรคโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2565; 22 (2): 189-200.

ไอลดา ภารประดิษฐ์, ประจักร บัวผัน. คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหาร ที่มีผลต่อการดูแลผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอเมือง จังหวัด สกลนคร. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2562; 12(3): 623-31.

ลักษณา ชื่นบาล, ประจักร บัวผัน, สุรชัย พิมหา. คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัย มข.(ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2564; 21(3): 211-22.

นิกร บาลี, ชนะพล ศรีฤาชา. ปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการบริหารคลังยาและ เวชภัณฑ์ของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานในโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล จังหวัด หนองคาย. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2562; 12(3): 586-94.

บัญชา ณ พัทลุง, ชัญญา อภิปาลกุล. ปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2561; 11(1): 287-96.

ปุณณภา วงษาธรรม, สุวิทย์ อุดมพาณิชย.ปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น. วารสารววิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2559; 9(2) : 248-55.

วิลาสินี พิทักษ์, ชัญญา อภิปาลกุล. ปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น. วารสารสุขภาพภาคประชาชน ภาคอีสาน 2556; 27(4) : 58-65.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-12