การพัฒนาสูตรตำรับครีมกันแดดโดยใช้การทดลองแบบ mixture design

Main Article Content

วัชรี คุณกิตติ
กาจญนา หงษ์โรจนวิวัฒน์
นันทวัฒน์ ประยูรหาญ

Abstract

บทคัดย่อ


ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์ครีมกันแดดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้อย่างแพร่หลายเพื่อป้องกันแสงแดดซึ่งประกอบด้วย รังสีอัตราไวโอเลตเอ (UVA) และ รังสีอัตราไวโอเลตบี (UVB) ซึ่งทั้งสองรังสีนี้จะส่งผลต่อผิวหนังทำให้ผิวหนังเสื่อมสภาพเร็วกว่าไว้อันควรและอาจทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ ทั้งนี้ได้มีการศึกษาแบบ in vitro ก่อนหน้านี้ว่าการลดปริมาณของ xanthan gum หรือ เพิ่มปริมาณของ stearic acid สูตรตำรับครีมกันแดด จะส่งผลทำให้ค่า SPF เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แต่อย่างไรก็ตาม ลักษณะของเนื้อครีมและคุณสมบัติทางกายภาพยังคงเป็นปัญหาในการพัฒนาตำรับ ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้จึงมีจุดประสงค์ที่จะพัฒนาสูตรตำรับครีมกันแดดที่มีความคงตัวโดยใช้การออกแบบการทดลองแบบ mixture design ซึ่งได้มีการกำหนดปัจจัยในการศึกษาที่คาดว่าจะมีผลต่อค่า SPF ได้แก่ ปริมาณของ stearic acid 2-5%, xanthan gum 0-3% และ finsolv 2-5% จากการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์เชิงเส้นระหว่าง calculated SPFและ labeled SPF มีค่า r2 = 0.898  และ สูตรตำรับที่มีค่า SPF สูงที่สุดคือ สูตรที่ 7 (50.50) แต่มีปัญหาเรื่องความคงตัวของเนื้อครีม ส่วนสูตรที่ 1 ซึ่งมีค่า SPF รองลงมา (43.44) และมีความคงตัวที่ดี และ จากการวิเคราะห์ด้วยความสัมพันธ์เชิงเส้นพบว่า ผลของปัจจัยทั้งสามรวมกันมีผลทำให้ค่า SPF เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่อย่างไรก็ตาม ควรมีการตรวจสอบค่าที่ได้จากการทำนายสูตรตำรับ รวมถึงการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ต่อไป

Article Details

Section
Appendix