7.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ในตำบลบ้านโตก อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเชิงพรรณานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงในตำบลบ้านโตก อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ กลุ่มตัวอย่าง 341 คน เก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 53.4 ช่วงอายุ 41-50 ปี ร้อยละ 30.2 อาชีพรับจ้างอิสระร้อยละ 34.0 ไม่เคยมีประวัติเจ็บป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง สูงสุดร้อยละ 57.2 ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 8.1, S.D. = 0.37) ความตระหนักรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มเสี่ยงมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 3.89, S.D. = 0.94) และพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง มีค่าเฉลี่ยอยู่ระดับมาก
( = 2.18, S.D. = 0.63) ความรู้และความตระหนักรู้ เรื่องโรคความดันโลหิตสูง มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่0.05 (r = 0.205, p-value < 0.001),
(r = 0.280, p-value < 0.001) ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. ข่าวสารโรคไม่ติดต่อ. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 17 เมษายน 2567]. เข้าถึงได้จาก: http://ddc.moph.go.th/brc/news
กลุ่มงานโรคไม่ติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์. เรื่องสรุปผลการดำเนินงานโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงปีงบประมาณ 2566. เอกสารประกอบการประชุมคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์ครั้งที่ 9; 21 กันยายน 2566; ณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพี้ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองเพชรบูรณ์. เรื่องสรุปของการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลบ้านโตก ปี 2567. เอกสารประกอบการประชุมประจำเดือนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพี้ครั้งที่ 2; 2 กุมภาพันธ์ 2567; ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพี้ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์.
ชนกนันท์ ฝากมิตร, ตวงพร พิกุลทอง, อดิเทพ ดารดาษ. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงในอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 จังหวัดพิษณุโลก. 2567;11(2):1-16.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. รายงานผลการดำเนินงานปี 2567. [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: http://ddc.moph.go.th/uplonds/ckedior2/dncd/images/2-01-01.jpg.2567
Yamane T. Statistics on introductory analysis. New York: Harper & Row; 1973.
Bloom BS, et al. Hand book on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill Book Company; 1971.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2545.
Best J. Research in education. New Jersey: Prentice Hall, Inc; 1977.
กรรณิการ์ การรสรรพ์, พรทิพย์ มาลาธรรม, นุชนาฏ สุทธิ. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ด้านสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง และพฤติกรรมดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง. Rama Nurse Journal. 2562;25(3):280-95.
ตวงทอง พิกุลทอง และภัทรพล มากมี. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของผู้ที่มีความเสี่ยงในอำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก; 2564.
โชฐิรส พลไชยมาตย์, เสน่ห์ แสงเงิน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในชมรมผู้สูงอายุ ตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารสหวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 2562;3(1):65-70.
เพ็ญรัตน์ ลิมประพันธ์. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบล จังหวัดสุโขทัย. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก; 2552.
ประภาเพ็ญ สุวรรณ. ทัศนคติการวัดการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรมอนามัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์; 2556.
ยุวดี แซ่เตีย. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี; 2562.
นพดล คำภิไล. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลแม่ทะ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ; 2559.
Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine. 2008;67(12):2072-8.
ศตวรรษ อุดรศาสตร์, ลัดดา พลพุทธา, ณิชพันธุ์ระวี เพ็งพล, ปลมา โสบุตร์, บุณยดา วงศ์พิมล, ชนิดาวดี สายืน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2566;20(1):29-41.
Giena VP, Tongpat S, Nitirat P. Predictors of health-promoting behavior among older adults with hypertension in Indonesia. International Journal of Nursing Sciences. 2019;6(2):184-9.