8.การพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

จุฑามาศ ดิเรกโภค
จตุพร เหลืองอุบล
วรพจน์ พรหมสัตยพรต

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มเป้าหมาย 37 คน ประกอบด้วย กลุ่มผู้ที่มีส่วนในการขับเคลื่อนการจัดบริการ 25 คน และกลุ่มผู้รับบริการจากระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงพื้นที่เทศบาลตำบลเทพสถิต 12 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
 ผลการศึกษา พบว่า เมื่อเปรียบเทียบระหว่างระยะก่อนและหลังพัฒนา กลุ่มผู้ที่มีส่วนในการขับเคลื่อนการจัดบริการที่มีความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานกองทุนดูแลผู้สูงอายุระยะยาว และระบบการดูแลระยะยาวผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระดับมาก เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 45.83 เป็น 83.34 คะแนนความรู้ก่อนและหลังการพัฒนามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกองทุนดูแลผู้สูงอายุระยะยาวระยะหลังการพัฒนาอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.08 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.79) และคะแนนการมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญสถิติ (p<.001) สำหรับความพึงพอใจของผู้สูงอายุพบว่า มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการบริการที่ได้รับอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.24 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.63) และความพึงพอใจต่อการพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 2.44 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.49)


สรุปผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุ ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน มีการดำเนินงานตามแผน และมีระบบการติดตามการดำเนินงานทุกขั้นตอน ส่งผลให้ผู้รับบริการพึงพอใจ และการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุผ่านเกณฑ์

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

. ศิราณี ศรีหาภาค, โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์, วัชรี อมรโรจน์วรวุฒิ, ปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์, ธารา รัตนอำนวยศิริ, นวลละออง ทองโคตร. ข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะ กองทุนระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (Long Term Care: LTC). ขอนแก่น: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). สถานการณ์ผู้งสูงอายุไทย พ.ศ. 2563. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2564.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือสนับสนุนการบริหารจัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2559.

อัญชิษฐฐา ศิริคำเพ็ง, ภักดี โพธิ์สิงห์. การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวที่มีภาวะพึ่งพิงในยุคประเทศไทย 4.0. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 2560;17(3):235-43.

เทศบาลตำบลเทพสถิต. รายงานประจำปีของเทศบาลตำบลเทพสถิต ปี 2565. ชัยภูมิ: เทศบาลตำบลเทพสถิต อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ; 2565.

Kemmis S, McTaggart R. The Action Research Planner. 3rd ed. Victoria: Deakin University; 1988.

Bloom BSJ. Taxonomy of Education Objective, Hand Book 1: Cognitive Domain. New York: David Mckay; 1975.

Griffin RW. Management. 5th ed. Boston: Houghton; 1996.

Best JW. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall; 1977.

ศศินันท์ สายแวว. การพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2564.

Rovinelli RJ, Hambleton RK. On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research. 1997;2:49-60.

นพณพิชญ์ ศรีรัตนประชากูล. การพัฒนากระบวนการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงภายใต้กองทุนดูแลผู้สูงอายุระยะยาวขององค์การบริหารส่วนตำบลปอพานอำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2563.

ดิลก อ่อนสา. การพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน เขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก. 2565;9(1):1-18.

จิราภรณ์ อุ่นเสียม. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว เขตสุขภาพที่ 11. วารสารวิชาการแพทย์เขตสุขภาพที่ 11. 2559;30(4):261-8.