5.การพัฒนารูปแบบเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตาบลเทพสถิต อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลเทพสถิต อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ โดยประยุกต์ใช้แนวคิดของเคมมิส และแมคแท็กการ์ท กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 43 คน ประกอบด้วย ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน จำนวน 4 คน และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ ภาคการเมือง ภาควิชาการ และภาคประชาชน จำนวน 39 คน เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของข้อมูล โดยใช้สถิติ Wilcoxon Signed Ranks Test ผลการศึกษา พบว่า การเตรียมความพร้อมในการจัดบริการหลังการดำเนินการมีมากกว่าก่อนดำเนินการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .001) และความรู้ของผู้สูงอายุ หลังการดำเนินการมีมากกว่าก่อนดำเนินการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .001) ส่วนความพึงพอใจต่อการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจภาพรวมอยู่ในระดับมาก สรุปผลการศึกษา พบว่าจากการได้รับความร่วมมือ และการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จึงทำให้เกิดกระบวนการพัฒนารูปแบบเพื่อป้องกันการพลัด ตกหกล้มของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตาบลเทพสถิต อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ มีการดำเนินงานอย่างชัดเจนและต่อเนื่องและมีความเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ. สู่ระบบสวัสดิการสังคมถ้วนหน้า พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ; 2554.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2564.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2563 [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 8 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก:https://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/2563_0.pdf
โรงพยาบาลเทพสถิต งานสารสนเทศทางการแพทย์. รายงานข้อมูลประชากรผู้สูงอายุจังหวัดชัยภูมิ ระหว่างปี พ.ศ. 2560 ถึง พ.ศ. 2562 อุบัติเหตุที่มีอัตราการเสียชีวิต. ชัยภูมิ: โรงพยาบาลเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ; 2565.
คมสันต์ อันภักดี, สุพัฒน์ อาสนะ. การรับรู้ ความเสี่ยงและพฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ ตำบลนาเพียง อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก. 2566;10(2):94-107.
ศูนย์อนามัยที่ 5 จังหวัดราชบุรี. ประสิทธิผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมและป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ. ราชบุรี: ศูนย์อนามัยที่ 5 จังหวัดราชบุรี; 2562.
Kemmis S, McTaggart R. The Action Research Planer. 3rd ed. Victoria: Deakin University; 1988.
สุมัทนา กลางคาร, วรพจน์ พรหมสัตยพรต. หลักการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 6. มหาสารคาม: สารคามการพิมพ์ – สารคามเปเปอร์; 2553.
Best JW. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, NJ: Practice Hall, Inc.; 1977.
Cronbach LJ. Essentials of psychological testing. 5th ed. New York: Harper Collins Publishers; 1990.
ภัทราพร เกษสังข์. การวิจัยปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2559.
ดวงหทัย แสงสว่าง และคณะ. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงหกล้มในผู้สูงอายุชุมชนพัฒนาวัดกิ่ง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 2563;14(3):82-96.
อัศนัย เล่งอี้, พันธพัฒน์ บุญมา. สภาพแวดล้อมในบ้านของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม กรณีศึกษา ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2564;19(3):43-60.
สุรินทร์รัตน์ บัวเร่งเทียนทอง, อรทัย ยินดี. ความเสี่ยง ความกลัวการหกล้ม และแนวทางการจัดการป้องกันการพลัดตกหกล้มผู้ที่มารับบริการในคลินิกผู้สูงอายุ. วชิรสารการพยาบาล. 2564;23(2):30-43.
ณภัทรธร กานต์ธนาภัทร และคณะ. การรับรู้เกี่ยวกับการหกล้ม พฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม และจำนวนครั้งของการหกล้มของผู้สูงอายุภายหลังการใช้แนวปฏิบัติการป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัยตามหลัก 10 ป. ของผู้สูงอายุในชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดอุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. 2564;29(1):111-26.
พรรณวรดา สุวัน และคณะ. การพัฒนาแนวปฏิบัติการป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัยตามหลัก 10 ป. ของผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารแพทย์นาวี. 2563;47(2):414-31.
ทรงวุฒิ พันหล่อมโส. ผลของการใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับโปรแกรมการออกกำลังกายต่อการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุตำบลโคกกลาง อำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2562.
วัลลภา ดิษสระ และคณะ. ประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. 2563;15(1):1-10.