3. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะนอนไม่หลับของผู้สูงอายุโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คลินิกหมอครอบครัว อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะนอนไม่หลับในผู้สูงอายุโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในคลินิกหมอครอบครัว อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ รูปแบบเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง ในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2566 ถึงกุมภาพันธ์ พ.ศ.2567 ด้วยแบบสอบและประเมินภาวะนอนไม่หลับ ในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 380 คนที่ผ่านการคัดเลือกแบบกำหนดสัดส่วน วิเคราะห์ด้วยสถิติจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square, Fisher’s exact test และ binary logistic regression กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษาพบผู้สูงอายุโรคไม่ติดต่อเรื้อรังส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 69.7 ปี พบความชุกของภาวะนอนไม่หลับร้อยละ 45.5 และสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับ รายได้ที่ไม่เพียงพอ (Adjusted odds ratio (AOR): 2.3, 95%CI: 1.5-3.5) การสูบบุหรี่ (AOR: 2.7, 95%CI: 1.1-6.3) การปัสสาวะกลางคืน (AOR: 1.7, 95%CI: 1.1-2.7) อาการปวด (AOR: 5.8, 95%CI: 1.9-17.6) โรคประจำตัวเบาหวาน (AOR: 1.6, 95%CI: 1.0-2.5) ความกังวลระดับต่ำ (AOR: 3.0, 95%CI: 1.5-6.0) หรือระดับปานกลาง (AOR: 8.5, 95%CI: 2.4-30.8) การตื่นนอนตรงเวลา (AOR: 0.6, 95%CI: 0.5-0.8) และการใช้ยานอนหลับบางวัน (AOR: 5.7, 95%CI: 3.0-10.9) หรือทุกวัน (AOR: 3.7, 95%CI: 1.5-9.2) ผลการศึกษาเป็นประโยชน์ในการวางแผนดูแลเพื่อลดผลข้างเคียงจากการใช้ยานอนหลับและผลเสียจากการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. การสำรวจประชากรสูงอายุใน
ประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 1 เมษายน 2566] เข้าถึงได้จาก: https://www.nso.go.th
กรมกิจการผู้สูงอายุ. ผู้สูงอายุกับปัญหาสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2566] เข้าถึงได้จาก: https://www.dop.go.th/th/know/15/415
นันทวัช สิทธิรักษ์ และ มหาวิทยาลัยมหิดล. จิตเวชศิริราช DSM-5. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ภาควิชา
จิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558. หน้า 179-186.
สุรีรัตน์ ณ วิเชียร. การนอนหลับของผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารสภาการพยาบาล 2564; 36: 18-31.
Patel D, Steinberg J. Insomnia in the Elderly: A Review. J Clin Sleep Med. 2018;14(6):1017–1024.
Aernout E, Benradia I, Hazo JB. International study of the prevalence and factors associated with insomnia in the general population. Sleep Med. 2021;82:186–192.
พัทรีญา แก้วแพง. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับอาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยมะเร็งวัยผู้ใหญ่. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547
Oei TP, Sawang S, Goh YW. Using the Depression Anxiety Stress Scale 21 (DASS-21) across cultures. Int J Psychol. 2013;48(6):1018–1029. Available from: https://doi.org/10.1080/00207594.2012.755535
Noman G, Rakesh KB, Raman Marwaha. Lorazepam. In: StatPearls. StatPearls Publishing; 2023 Jan 31. Retrieved 2023 Jul 23.
สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการคัดกรองและประเมินการใช้ยากับภาวะหกล้มในผู้สูง. อายุแนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและประเมินภาวะหกล้มในผู้สูงอายุ (2561): 55-58
Thichumpa W, Howteerakul N, Suwannapong N. Sleep quality and associated factors among the elderly living in rural Chiang Rai, northern Thailand. Epidemiol Health. 2018;40:e2018018. Available from: https://doi.org/10.4178/epih.e2018018
Bazargan M, Mian N, Cobb S. Insomnia Symptoms among African-American Older Adults in Economically Disadvantaged Areas of South Los Angeles. Brain Sci. 2019;9(11):306. Available from: https://doi.org/10.3390/brainsci9110306
โชติมันต์ ชินวรารักษ์, คุณภาพการนอนหลับและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้สูงอายุที่หมู่บ้านประชานิเวศน์. สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2563; 63(2): 199-210
Bliwise DL, Wagg A, Sand PK. Nocturia: A Highly Prevalent Disorder With Multifaceted Consequences. Urology. 2019;133(S):3–13. Available from: https://doi.org/10.1016/j.urology.2019.07.005
Anu Bajracharya. Prevalence of Insomnia among Elderly in Selected Community of Makawanpur, Nepal. Journal of Nursing and health Science. 2023; 11(6):29-35
Zou Y, Chen Y, Yu W, Chen T. The prevalence and clinical risk factors of insomnia in the Chinese elderly based on comprehensive geriatric assessment in Chongqing population. Psychogeriatrics. 2019;19(4):384–390. Available from: https://doi.org/10.1111/psyg.12402
Elena Dragioti. Insomnia severity and its relationship with demographics, pain features, anxiety, and depression in older adults with and without pain: cross-sectional population-based results from the PainS65+ cohort. Ann Gen Psychiatry. 2017; 16: 15.
Dahale AB, Jaisoorya TS, Manoj L, Kumar GS, Gokul GR, Radhakrishnan R, Thennarasu K, Varghese M. Insomnia Among Elderly Primary Care Patients in India. Prim Care Companion CNS Disord. 2020;22(3):19m02581. Available from: https://doi.org/10.4088/PCC.19m02581
Aernout E, Benradia I, Hazo JB. International study of the prevalence and factors associated with insomnia in the general population. Sleep Med. 2021;82:186–192. Available from: https://doi.org/10.1016/j.sleep.2021.03.028
J Alipour F, Sajadi H, Forouzan A, Nabavi H, Khedmati E. The role of social support in the anxiety and depression of elderly. Iran J Ageing 2009;4(1)
Boyd MA. Psychiatric nursing: contemporary practice. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2008.
Devanprabudoss Jesudoss, Eilean Rathinasamy Lazarus, Rasha Wahid. Insomnia and sleep quality among older people residing in old age homes at Andhra Pradesh, India. Int J Africa Nurs Sci. 2023;18:100522. Available from: https://doi.org/10.1016/j.ijans.2022.100522.
Peng YT, Hsu YH, Chou MY. Factors associated with insomnia in older adult outpatients vary by gender: a cross-sectional study. BMC Geriatr. 2021;21(1):681. Available from: https://doi.org/10.1186/s12877-021-02643-7.
Espeso N, Wick JY. Insomnia Is Not a Normal Part of Aging: The Challenges of Safely and Effectively Managing Insomnia in Older People. Senior Care Pharm. 2023;38(1):6–15. Available from: https://doi.org/10.4140/TCP.n.2023.6.
Awadalla NJ, Mahfouz AA, Shehata SF. Sleep hygiene, sleep-related problems, and their relations with quality of life in a primary-care population in southwest Saudi Arabia. J Family Med Prim Care. 2020;9(6):3124–3130. Available from: https://doi.org/10.4103/jfmpc.jfmpc_525_20.
Jansson-Fröjmark M, Evander J, Alfonsson S. Are sleep hygiene practices related to the incidence, persistence and remission of insomnia? Findings from a prospective community study. J Behav Med. 2019;42:128–138. Available from: https://doi.org/10.1007/s10865-018-9949-0.
ธัญวรรณ เพ็ชรน้อย. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะนอนไม่หลับในผู้สูงอายุที่มารับบริการในหน่วยปฐมภูมิ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช. 2563; 3(2): 57-73