ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่นหญิง โรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่ง อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

ธิติรัตน์ ราศิริ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่นหญิง สุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของเครซี่และมอร์แกน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนหญิงชั้นมัธยม ศึกษาชั้นปีที่ 3-6 โรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในอำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 130 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามที่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วย การทดสอบไคสแควร์ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า พฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (  x̅=2.22 และ S.D.=0.63) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่นหญิงได้แก่ อิทธิพลจากสื่อที่ปลุกเร้าอารมณ์ทางเพศ (r=0.119, p=0.000) อิทธิพลจากผู้ปกครอง (r=0.101, p=0.002) อิทธิพลจากกลุ่มเพื่อน (r=0.105, p=0.000) และสภาพแวดล้อมในโรงเรียนและชุมชน (r=0.098, p=0.019) สามารถนำผลการศึกษาไปใช้ในการออกแบบโปรแกรมหรือกิจกรรมในการป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.รายงานการเฝ้าระวังการตั้งครรภ์แม่วัยรุ่น

พ.ศ.2564. [ออนไลน์].2561[เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก:

http://abortion.anamai.moph.go.th/rhsurvey.php

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย.. สถิติการคลอดของแม่วัยรุ่นประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2562.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค.. อัตราป่วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่นและเยาวชน.[ออนไลน์]. 2564 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2565.เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/das/

ศรีเพ็ญ ตันติเวสส ทรงยศ พิลาสันต์ อินทิรา ยมาภัย ยศ ตีระวัฒนานนท์ ชลัญธร โยธาสมุทร อภิญญา มัตเดช และณัฐจรัส เองมหัสสกุล.สถานการณ์การตั้งครรภ์ใน วัยรุ่นในประเทศไทย 2556. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข/โครงการประเมิน เทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ; 2556

พัทยา แก้วสาร, และนภาเพ็ญ จันทขัมมา. “การป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นกลุ่มนักเรียนประถมตอนปลาย”. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2564;64(2), 101-110.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก. สรุปผลการดำเนินงานประจำปี 2564.[ออนไลน์]. 2565 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2565. เข้าถึงได้จาก: https://cloud.plkhealth.go.th/index.php/ s/Eo2 Tb6

D6tESw7CN#pdfviewer

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30: pp. 607–610. 1970.

Best John W, Research in Education, New Jersey: Prentice Hall,Inc, 1997.

นิธิพงศ์ ศรีเบญจมาศและคณะ. “ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก”.การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.2560;3(2)

Lauren Summers , Young-Me Lee , Hyeonkyeong Lee. “Contributing factors of teenage pregnancy among African-American females living in economically disadvantaged communities”. Appl Nurs Res. 2017;. 37, 44-49.

ชานนท์ พันธ์นิกุล.ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของสตรีวัยรุ่น ตามการรับรู้ของนักเรียนหญิงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี.วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยทักษิณ 2563; 2(2)

O.T.Alabi, I. O. Oni. “Teenage Pregnancy in Nigeria: Causes, Effect and Control”.BMC Womens Health, 2017;17(1), 80.