ผลของโปรแกรมการสัมภาษณ์แบบเสริมสร้างแรงจูงใจต่อการลดค่าความดันโลหิตและ ค่าดัชนีมวลกายของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังการทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความดันโลหิตและดัชนีมวลกายของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ที่ขึ้นทะเบียนรับการรักษาในคลินิกโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย โดยศึกษากับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 29 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด กลุ่มตัวอย่างได้รับโปรแกรมการสัมภาษณ์แบบเสริมสร้างแรงจูงใจ ระยะเวลา 8 สัปดาห์ เก็บข้อมูลค่าความดันโลหิตและค่าดัชนีมวลกาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วย จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t- test
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิตซิสโตลิคหลังการทดลอง(132.14) ต่ำกว่าก่อนการทดลอง(152.28) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิตไดแอสโตลิคลิคหลังการทดลอง(79.72)ต่ำกว่าก่อนการทดลอง(95.66) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และมีค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกายหลังการทดลอง(28.53) ต่ำกว่าก่อนการทดลอง(28.89 )แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จากผลการศึกษาพบว่า โปรแกรมการสัมภาษณ์แบบเสริมสร้างแรงจูงใจสามารถลดค่าความดันโลหิตและค่าดัชนีมวลกายของกลุ่มตัวอย่างได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
Unger T, Borghi C, Charchar F, Khan NA, Poulter N, Prabhakaran D, et al. 2020 International society of hypertension global hypertension practice guidelines. Hypertension [Internet] 2020 [cited 2023 Sep 15]; 75(6): 1334-57. Available from: https://doi.org/10.1161/HYPERTENSIONAHA.120.15026
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย. ศูนย์ข้อมูลสาธารณสุข จังหวัดสุโขทัย. 2566.[เข้าถึงเมื่อ 20 กันยายน 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://sti.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php
สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ.2562. เชียงใหม่: ทริค ธิงค์; 2562.
สมเกียรติ โพธิสัตย์, สุรพันธ์ พงศ์สุธนะ. ภาวะความดันโลหิตสูง. 2557. [เข้าถึงเมื่อ 21 กันยายน 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://www.hiso.or.th/hiso/picture/reportHealth/report/report8_8.pdf
เทอดศักดิ์ เดชคง. สนทนาสร้างแรงจูงใจเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: บียอนด์พับลิสชิ่ง; 2560.
พิชัย แสงชาญชัย. การประเมินแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม. เอกสารประกอบการอบรม เรื่องการบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ. โรงพยาบาลสวนปรุง. เชียงใหม่; 2547.
Miller WR, Rollnick S. What is motivational interviewing?. Behav Cogn Psychother 1995; 23(4): 325-34.
Miller WR, Rollnick S. Motivational interviewing: helping people change. 3rd ed. New York: Guilford Press; 2013.
Prochaska JO, DiClemente CC. The transtheoretical approach: Crossing traditional boundaries of therapy. Homewood, Ill.: Dow Jones-lrwin; 1984.
สังวร สมบัติใหม่, อภิศักดิ์ วิทยานุกูลลักษณ์, อรัญญา แพจุ้ย. แนวทางการสัมภาษณ์แบบเสริมสร้างแรงจูงใจ. ใน:ชีวนันนท์ เลิศพิริยสุวัตน์, สมพงษ์ เจริญสุข, สมบัติ แทนประเสริฐสุข, จิตรา อ่อนน้อม, บรรณาธิการ. ชุดแนวทางการดำเนินงานป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและลดอันตรายในกลุ่มผู้ใช้ยาชนิดฉีดสำหรับบุคลากรสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2552.
โรงพยาบาลคีรีมาศ. โปรแกรม HOSxP. สุโขทัย: โรงพยาบาลคีรีมาศ; 2566.
Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral science. 2nd ed. Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates; 1988.
กิรณา อรุณแสงสด, วันทนา มณีศรีวงศ์กูล, อรสา พันธ์ภักดี. ผลของโปรแกรมการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจแบบสั้นต่อความรู้ แรงจูงใจและความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการรับประทานยาของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2557; 28(3):129-44.
ปรีณาพรรณ กาญจนสาราญวงศ์, อุมาพร ปุญญโสพรรณ, กาญจน์สุนภัสบาลทิพย์. ผลของการประยุกต์ใช้การสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจร่วมกับการสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและดัชนีมวลกายในกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ.วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน 2563; 26(4):80-94.
ลักษณา พงษ์ภุมมา, ขวัญตา เพชรมณีโชติ, เชษฐา แก้วพรม, เมทณี ระดาบุต. ผลของโปรแกรมการสัมภาษณ์เพื่อสร้างแรงจูงใจต่อความรู้พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง และดัชนีมวลกายนวัยผู้ใหญ่ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิจัยทางวิยาศาสตร์สุขภาพ 2563; 14(1): 21-31.
เทอดศักดิ์ เดชคง. ผลของโปรแกรมการสนทนาสร้างแรงจูงใจต่อการเปลี่ยนแปลงค่าซีสโตลิคและ ไดแอสโตลิคในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 2563; 16(3): 59-68.
เสกสรร จวงจันทร์, พนิดา สารกอง, สายชล นิลเนตร.การศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการสนทนาสร้างแรงจูงใจเพื่อสนับสนุนการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้โรงพยาบาลโนนคูณจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสำานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 2562;17(2):37-47.
มิตรธิรา แจ่มใส, ธิติรัตน์ ราศิริ. ผลของโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ท่าทอง อ.เมือง จ.พิษณุโลก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี 2566; 6(1):58-69.