ถอดบทเรียนในระยะเริ่มต้นของโรงเรียนเบาหวานบางระกำภูวดลโมเดล

Main Article Content

นงนุช โอบะ
สุภาพร แนวบุตร
ปทุมา ฤทธิ์โพธิ์
ศิระ ปานแย้ม

บทคัดย่อ

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์บทเรียนการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในระยะเริ่มต้นของโรงเรียนเบาหวานบางระกำภูวดลโมเดล โดยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการจำนวน 40 คน เครื่องมือวิจัยคือ แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ประกอบด้วย 1) การบริการเชิงรุกของทีมสุขภาพ ได้แก่ ให้บริการเชิงรุกที่มีเป้าหมายชัดเจน ส่งเสริมและติดตามผลการจัดการตนเองของผู้ป่วย และตัดสินใจปรับเปลี่ยนการดูแลจากข้อมูลเชิงวิชาการ 2) การจัดการตนเองของผู้ป่วย ได้แก่ หมั่นตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง รับประทานยาตามการรักษาของแพทย์ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามความเหมาะสม ตรวจเลือดและพบแพทย์ตามนัด และเรียนรู้การเข้ากลุ่มไลน์แอพลิเคชั่น 3) ผลลัพธ์ทางคลินิกที่พึงประสงค์ ได้แก่ ระยะสั้นมีระดับน้ำตาลสะสมในเลือดน้อยกว่าร้อยละ 7 และระยะยาวไม่ต้องรับประทานยาลดระดับน้ำตาลในเลือด 4) ปัจจัยส่งเสริมความสำเร็จของการดูแล ได้แก่ ผู้ป่วยมีวินัยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  ผู้บริหารโรงพยาบาลเป็นหัวหน้าโครงการ และทีมสุขภาพมุ่งมั่นทำงานอย่างมีเป้าหมาย และ 5) ปัจจัยขัดขวางความสำเร็จของการดูแล ได้แก่ ผู้ป่วยไม่สามารถสื่อสารโดยไลน์แอพลิเคชั่น และผู้ป่วยให้ความสำคัญกับการประกอบอาชีพมากกว่าการดูแลสุขภาพ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย สมาคมต่อมไร้ท่อแห่ง

ประเทศไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทาง

เวชปฏิบัติโรคเบาหวาน พ.ศ. 2566. พิมพ์ครั้งที่ 3. บริษัทศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด; 2566.

Health Data Center. รายงานตามตัวชี้วัดในระดับ NCD Clinic plus. https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report_kpi.php?flag_kpi_level=9&flag_kpi_year=2021&source=pformated/format1.php&id=bf3fc18d99d7366fc8ee1978835a6865; 2566.

ภูวดล พลพวก นวรัตน์ ชุติปัญญาภรณ์. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพในการควบคุม

ระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวาน. พุทธชินราชเวชสาร 2561; 35: 348-360.

โรงพยาบาลบางระกำ. รายงานประจำปีโรงพยาบาลบางระกำ 2563. พิษณุโลก: โรงพยาบาลบางระกำ ;

วิจารณ์ พานิช. การจัดการความรู้ฉบับนักปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ตถาตา พับลิเคชั่นจำกัด;

Wagner, E.H., Austin, B.T., Davis, C.., Hindmarsh, M., Schaefer, J. & Bonomi, A. Improving chronic illness care: Translating evidence into action. Health Aff (Millwood) 2001; 20(6): 64-78.

Guba, E., & Lincoln, Y. Naturalistic inquiry. Newbury Park, CA: Sage; 1985.

ปฐมพร ศิรประภาศิริและสันติ ลาภเบญจกุล. (บรรณาธิการ). คู่มือการจัดบริการคลินิกเบาหวาน ความดัน-

โลหิตสูงวิถีใหม่แบบยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (สำหรับระดับผู้ปฏิบัติงาน). สำนักงานกิจการ

โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2563.

จิตสุดา บัวขาว. รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (Chronic Care Model: CCM). สำนักงานกิจการ

โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2559.

พันธวี คำสาว วลัยภรณ์ กุลวงค์ บุญยัง ขันทะหัด. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวาน

อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร 2566; 26(2): 14-27.

พิรุณี สัพโส. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น 2566; 5(1): 169-183.

ราชวิทยาลัยแพทยเวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย. แนวทางการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ให้

เข้าสู่โรคเบาหวานระยะสงบด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มงวดสำหรับบุคลากรทาง

การแพทย์ และสาธารณสุข. พีพี มีเดีย ดีไซน์ แอนด์ พริ้นท์; 2565.

กิเริ่น โซนี่ นลวันท์ เชื้อเมืองพาน ภัทรี มณีรัตน์ อรทัย มหาวงศนันท์. ผลของการให้ความรู้โรคเบาหวานแก่ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นรายกลุ่มเทียบกับรายบุคคล ณ หน่วยบริการปฐมภูมิและคลินิกโรคเบาหวานโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. เชียงรายเวชสาร 2560; 9(2): 19-28.

อำนาจ บุญเครือชู ปาริชาติ กสญจนพังคะ. ประสิทธิผลของรูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพแนวใหม่สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลลับแล. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก 2566; 10(1):73-91.

นวรัตน์ ชุติปัญญาภรณ์ นงนุช โอบะ. ประสบการณ์การจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่สามารถควบคุมระดับเอวันซีได้โดยสามารถหยุดรับประทานยาลดระดับน้ำตาลในเลือด. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2565; 16(2): 81-95.

กรมควบคุมโรค. แนวทางการดำเนินงานการดูแลผู้เป็นเบาหวานให้เข้าสู่ระยะสงบ (Remission service). กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2566.

สุธี เชิดชูตระกูลศักดิ์ นิรัชรา ลิลละฮ์กุล เจษฎากร โนอินทร์. ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารจัดการการจัดบริการการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน เครือข่ายสุขภาพ อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร, โรงพยาบาล

สามง่าม พิจิตร. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ 2565; 5(2), 90-100.

กาญจนา ปัญญาธร จุฬารัตน์ ดวงตาผา ขนิษฐา แก้วกัลยา รุ่งวิสา สว่างเนตร พวงผกา อินทร์เอี่ยม. ผลลัพธ์ของการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรที่มีภาวะอ้วนลงพุง โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี : การวิจัยเชิงผสมผสาน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2565; 40(1), 74-83.

ปองพล วรปาณิ ณัฐพงษ์ เฮียงกุล พิษณุพร สายคําทอน สุพัตรา จันทร์แก้ว สุภาภรณ์ วงธิ ยุทธนา แยบคาย. การถอดบทเรียนการบริหารจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ในการรับมือโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภายใต้แนวคิด 6 องค์ประกอบของระบบสุขภาพ: กรณีศึกษาอำเภอสวรรคโลกจังหวัดสุโขทัย. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก 2566; 10(2):1-14.

เนตรนภา บุญธนาพิศาน สุภาพร แนวบุตร วรวรรณ์ ทิพย์วารีรมย์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการ

ตนเองโดยใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วย

โรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2565; 16(3): 47-59.

นันทิมา เนียมหอม. ผลการดูแลแบบทีมสหสาขาวิชาชีพร่วมกับการติดตามการรักษาทางโทรศัพท์ใน

ผู้ที่มีภาวะเบาหวานควบคุมไม่ได้. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2556; 17(2), 438-452.

สุชานัน แก้วสุข สัดส่วนและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่สามารถควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดของ

ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในคลินิกหมอครอบครัวนครนนท์. PCFM 2020; 3(3), 59-72.

ธนวัฒน์ สุวัฒนกุล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานชนิด

ที่ 2. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2561; 12(3), 515-522.