ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

ภัทรินทร์ ศิริทรากุล

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่และปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 476 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้ตอบแบบสอบถามด้วยตัวเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่อยู่ในระดับมาก (X ̅ = 2.45, S.D.= 0.43) โดยข้อที่ปฏิบัติได้ในระดับมาก ได้แก่ การปฏิเสธหากเพื่อนชวนให้สูบบุหรี่ (ร้อยละ 71.8) รองลงมาเป็นการปฏิเสธคนในครอบครัวหากถูกชักชวนให้สูบบุหรี่ (ร้อยละ 70.6) เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลการถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณด้วยวิธี stepwise พบปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ทักษะชีวิต (β = 0.362, p < 0.001) การทำหน้าที่ของครอบครัว  (β = 0.203, p < 0.001) ทัศนคติ (β = 0.131, p = 0.001) การดำเนินนโยบายป้องกันการสูบบุหรี่ในโรงเรียน (β = 0.127, p = 0.003) และบรรทัดฐานการไม่สูบบุหรี่ (β = 0.109, p = 0.017) โดยทุกปัจจัยสามารถอธิบายการผกผันพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่ได้ร้อยละ 40.7 ดังนั้น หน่วยงานที่ดูแลเด็กและเยาวชนควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะชีวิตให้มีทักษะการปฏิเสธ ทักษะการตัดสินใจ และทักษะการแก้ปัญหาเพิ่มขึ้น
โดยให้ความสำคัญกับการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ปลอดบุหรี่ โดยเริ่มจากครอบครัวสู่ชุมชนเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืน

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

World Health Organization. World health report 2015: Primary health care now more than ever. Geneva: World Health Organization; 2015.

ประกิต วาทีสาธกกิจ. ข้อมูลบุหรี่กับสุขภาพสำหรับพระสงฆ์เพื่อเผยแพร่แก่ญาติโยม. กรุงเทพฯ:

ห้างหุ้นส่วนจำกัดรักษ์พิมพ์; 2552.

Zhu SH, Melcer T, Sun J, Rosbrook B, Pierce JP. Smoking cessation with and without assistance: a population-based analysis. American journal of preventive medicine 2000; 18: 305-311.

มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. รายงานภาระโรคจากปัจจัยเสี่ยงของประชากรไทย พ.ศ. 2557. นนทบุรี: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไอคอนพริ้นติ้ง; 2561.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2564.

กองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ กรมควบคุมโรค. แผนปฏิบัติการด้านการควบคุมยาสูบแห่งชาติ ฉบับที่สาม พ.ศ. 2565-2570. นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2565.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. ผลกระทบของนโยบายควบคุมยาสูบในกลุ่มเยาวชนไทย รอบที่ 6 (2554). นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2556.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 ปี พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.); 2559.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พิมพ์ดีการพิมพ์; 2561.

กมลภู ถนอมสัตย์, รัชนี สรรเสริญ. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ในระยะเริ่มต้นของนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2554; 4: 38-47.

Encyclopedia of Public Health. Gateway Drug Theory [Internet]; 2002. [cited 2022 Oct 29]. Available from: https://www.encyclopedia.com/education/encyclopedias-almanacstranscripts-and-maps/gateway-drugtheory.

ศรัณญา เบญจกุล, อาทิตยา โล่ห์พัฒนานนท์, สุนีย์ สว่างศรี, ชุติมา โฉมปรางค์, ปพิช คงพร. ประสิทธิผลของโครงการค่ายเยาวชนไทย. วารสารควบคุมยาสูบ 2550; 1: 16-25.

Qing Y, Termsirikulchai L, Vatanasomboon P, Sujirarat D, Tanasugarn C, Kengganpanich M. Factors related to tobacco use among middle school students in China. Southeast Asian Journal of Tropical Medicineand Public Health 2011; 42: 1249.

จุรีย์ อุสาหะ, ฐิติพร กันวิหค, ศรณีย์ จุฬาเสรีกุล, และวิไลลักษณ์ หฤหรรษพงศ์. การสังเคราะห์อภิมานงานวิจัย ปัจจัยป้องกันพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในเยาวชนไทย. วารสารควบคุมโรค 2558; 41: 271-284.

ชาริน สุวรรณวงศ์, ศรัณย์ พิมพ์ทอง. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมป้องกันการสูบบุหรี่ในกลุ่มวัยรุ่น:

การสังเคราะห์งานวิจัยด้วยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2561; 24: 63-82.

พรรณี ปานเทวัญ. โมเดลเชิงนิเวศวิทยากับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ. วารสารพยาบาลทหารบก2560; 18: 7-15.

อุมาพร ห่านรุ่งชโรทร. การประยุกต์ใช้แบบจำลองนิเวศวิทยาในการสร้างเสริมสุขภาพ. วารสารพยาบาลและสุขภาพ 2560; 11:78-85.

กลุ่มสารสนเทศ สนผ. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ระบบสารสนเทศเพื่อบริหารการศึกษา [อินเทอร์เน็ต]; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 5 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://data.bopp-obec.info/emis/

Wayne WD. Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences (6th ed.). New York: John Wiley & Sons; 1995.

จริยา ยิ้มเจริญ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชนในจังหวัดสุโขทัย (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาสาธาณณสุขศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2559.

วรพนิต ฟักบัว. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสูบบุหรี่ของนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2561.

ฐิติภัทร จันเกษม, เกรียงกมล เหมือนกรูด, สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์, ขนิษฐา ก้อนเพชร. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนบ้านไร่วิทยา จังหวัดอุทัยธานี. วารสารโรคและภัยสุขภาพ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์ 2562; 2: 1-13.

Bronfenbrenner U. The ecology of human development: Experiments by nature and design. Cambridge MA: Harvard University Press; 1979.

Bandura A. Social foundations of thought and action: A social cognitive theory. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall; 1986.

ดวงกมล มงคลศิลป์. ผลของการใช้กระบนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตต่อพฤติกรรมป้องกันการสูบบุหรี่ในเด็กวัยรุ่นตอนต้น กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาพยาบาลศาตร์ บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.

Botvin GJ, Eng A, Williams CL. Preventing the onset of cigarette smoking through life skills trainin, Preventive Medicine 1980; 9: 135-143.

Becker MH.. The Health Belief Model and personal health behavior, Health Education Monographs 1974; 2: 324-508.

Huver RME, Engels RCM, Vries H. Are anti-smoking preventing practices related to adolescent smoking cognitions and behavior?, Health Education Research 2006, 21: 66-77.

โชคชัย สาครพานิช. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตั้งใจสูบบุหรี่ของนักเรียนชายที่ไม่สูบบุหรี่ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเขาสมิงวิทยาคม จังหวัดตราด. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2554; 28: 44-52.

ชลลดา ไชยกุลวัฒนา, ประกายดาว สุทธิ, วิชานีย์ ใจมาลัย. พฤติกรรมสูบบุหรี่และปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นตอนต้นจังหวัดพะเยา. วารสารคณะพยาบาลพระทรวงสาธารณสุข 2560; 27: 57-67.

อรวรรณ วรอรุณ, ปิยะธิดา ขจรชัยกุล, ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ, พิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริมศักดิ์, และศุภชัย

ปิติกุลตัง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมตนเองในพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2560; 12: 75-85.