ประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุอำเภอเมืองจังหวดัสุโขทัย

Main Article Content

วรางคณา วสุรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุ อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุและกลุ่มควบคุม ก่อนทดลองและหลังทดลอง สุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายได้พื้นที่ 2 ตำบล คือ ตำบลบ้านกล้วยเป็นกลุ่มทดลอง และตำบลปากแคว เป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุ เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการให้ความรู้ตามปกติของหน่วยบริการ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามสถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมานวิเคราะห์ด้วย independent t-test และPaired t-test ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 65.62 ปี (S.D.= 2.90) รายได้เฉลี่ยต่อเดือนเท่ากับ 14,301.53 บาท ระดับความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุหลังการได้รับโปรแกรมพบกลุ่มทดลองมีระดับความรู้เพิ่มขึ้นก่อนทดลองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 6.80 หลังทดลอง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ8.93 คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองหลังการได้รับโปรแกรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองเท่ากับ30.26 (S.D.=2.14) สูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ p< .01  และเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมเปรียบเทียบภายหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ p< .01  จากผลการวิจัยโปรแกรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุสามารถใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควบคุมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

World Stroke Organization. About world stroke day. [internet].[cited 2022 December 11] Available from:https://www.worldstroke.org/world-stroke-day-campaign/world-stroke-dayprevious-world-stroke-days/world stroke-day

ปรีดี ยศดา วาริณี เอี่ยมสวัสกุลและมุกดา หนุ่ยศรี. ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารพยาบาล.2562;68(4) : 39-48.

สำนักโรคไม่ติดต่อ. ข้อมูลโรคไม่ติดต่อ[อินเตอร์เน็ต]; 2562.[เข้าถึงเมื่อ 17 เมษายน 2566] เข้าถึงได้จากhttp://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id=13684&tid=32&gid=1-020

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย.แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ.2563. ทริค ธิงค์. เชียงใหม่.2563.

สุริยา หล้าก่ำ และศิราณีย์ อินธรหนองไผ่. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูงตำบลเหนือเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด.วารสารพยาบาลตำรวจ.2560; 9(2), 85-94

ชูชาติ กลิ่นสาคร และสุ่ยถิน แซ่ตัน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี.วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน. 2563; 2(2), 62-77.

Becker MH, The Health Belief Model and personal health behavior. Health Education Monographs. 1974; 2:324–508.

เสน่ห์ แสงเงิน ถาวร มาต้นและอมรศักดิ์ โพธิอ่ำ. พฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้สูงอายุในเขตจังหวัดอุทัยธานี.ตีพิมพ์เผยแพร่ในการประชุมวิชาการระดับชาติเรื่อง“อาเซียนบนเส้นทางของ ประชาคม” (ASEAN on the Path of Community) วันที่ 11 ธันวาคม 2561 มหาวิทยาลัยรามคำแหง หน้า 63-72 (proceeding).

รุจิรา ดวงสงค์และชลธิรา กาวไธสง. ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลชุมพวง อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา.ศรีนครินทร์ เวชสาร. 2557;29(3), 295-304.

วรกร วิชัยโย, เพ็ญศิริ จงสมัคร, สิริพร ชัยทอง, และ ศิริษา โคตรบุดดา. ผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และผู้ป่วยโรคเบาหวาน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ.2564;14(2), 25-35

Kasl SV, Cobb S, Health behavior, illness behavior and sick role behavior: I. Health and illness behavior. Archives of Environmental Health: An International Journal, (1966); 12(2), 246-266

พรพิมล อมรวาทินและคณะ. ประสิทธิผลของโปรแกรม CHIRP FAST ต่อความรู้ การรับรู้ ความคาดหวังและพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2562;6(3) 121-132

วิภาภรณ์ สัญจร. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลกันตังจังหวัดตรัง (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต). วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร ตรัง; 2562.

พันทิพพา บุญเศษ และลัฆวี ปิยะบัณฑิตกุล.ผลของโปรแกรมการป้องกันโรคหลอ

ดเลือดสมองในกลุ่มเสี่ยงสูง ตำบลห้วยบง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ.วารสารโรงพยาบาลสกลนคร.2561; 21(2), 28-41.

จิรัชยา สุวินทรากร, สุรินธร กลัมพากร และทัศนีย์ รวิวรกุล. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ ความสามารถตนเองของอาสาสมัครสาธารณสุขในการเฝ้าระวัง และป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารพยาบาล.2562; 68(1), 39-48

ของวรารัตน์ เหล่าสูง วรรณรัตน์ ลาวัง และพรนภา หอมสินธุ์.ผลของโปรแกรมการประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับการสนับสนุนของครอบครัวต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วย กลุ่มเสี่ยง.วารสารการพยาบาลและการศึกษา.2562; 12(4), 32-45