ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุจมน้ำของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

เธียรรัตน์ ธีร์ระพิบูล
ศันสนีย์ เมฆรุ่งเรืองวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุจมน้ำ และปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุจมน้ำของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 412 คน โดยวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล  2) ปัจจัยนำ ได้แก่ ความรู้ความปลอดภัยทางน้ำ การรับรู้การจมน้ำ ทัศนคติป้องกันอุบัติเหตุจมน้ำ  3) ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ ทักษะเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ การเข้าถึงแหล่งน้ำ การอบรมความปลอดภัยทางน้ำและทักษะว่ายน้ำผู้ปกครอง 4) ปัจจัยเสริม ได้แก่ แรงสนับสนุนทางสังคม 5) พฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุจมน้ำ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาแบบสอบถาม = .67–1.00 ค่าความเชื่อมั่น = .702–.801 วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ที่ระดับนัยสำคัญ .05  ผลการศึกษาพบ นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุจมน้ำ ระดับสูง (=4.02, S.D.=0.67) และปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุจมน้ำของนักเรียน ได้แก่ การรับรู้การจมน้ำ ทัศนคติป้องกันอุบัติเหตุจมน้ำ และแรงสนับสนุนทางสังคม เป็นปัจจัยร่วมทำนายพฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุจมน้ำ ร้อยละ 46.5 (R=0.682, Adj R2=0.457) ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ดังนั้น โรงเรียนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการรับรู้ และปรับทัศนคติที่ถูกต้องในการป้องกันอุบัติเหตุจมน้ำ ครอบครัวและโรงเรียนควรสนับสนุนด้านทรัพยากร ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ การดูแลเอาใจใส่ เพื่อให้นักเรียนมีพฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุจมน้ำที่เหมาะสม

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

World Health Organization. Drowning. 2021. [Internet]. [cited 2022 December 1]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/drowning

World Health Organization. Status of drowning in South-East Asia: Country reports. 2022. [Internet]. [cited 2022 December 1]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/9789290210115

กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์การตกน้ำ จมน้ำในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558-2562 [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 11 ธันวาคม 2565]. 123 หน้า. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/dip/news.php?news=29468

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 พิษณุโลก. รายงานสถานการณ์การจมน้ำ เขตสุขภาพที่ 2. พิษณุโลก. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 พิษณุโลก; 2565

Aminur Rahman, Amy E. Peden, Lamisa Ashraf, Daniel Ryan, Al-Amin Bhuiyan and Stephen Beerman. Drowning: Global Burden, Risk Factors, and Prevention Strategies. Oxford Research Encyclopedia of Global Public Health; 2021

Xiu-ling, S., Wen-jun, M., & Hao-feng, X. Study on risk factors of drowning among primary and middle school students in rural area. Chinese Journal of Public Health. 2008;24(11):1372.

มรรษยุว์ อิงคภาสกร, พรชัย สิทธิศรัณย์กุล. บทความเกี่ยวกับการจมน้ำและการป้องกันการจมน้ำในประเทศไทย. เวชศาสตร์แพทย์ทหารบก [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 11 ธันวาคม 2565]; 73(3):181-89. เข้าถึงได้จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/rtamedj/article/download/246188/167377

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการสอบสวนการตกน้ำ จมน้ำ (ปรับปรุง). กลุ่มเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2558

Nopasand-Asil ST, Tapak L, Karimi-Shahanjarini A, Rezapur-Shahkolai F. Investigating the effective factors of near-drowning experience in junior high school students of Guilan Province, Iran: a theory-based study. J Inj Violence Res [Internet]. 2019 [cited 2023 June 13];11(4 Suppl 2): 67. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7187059/

Shen, J., Pang, S. & Schwebel, D.C. Cognitive and Behavioral Risk Factors for Unintentional Drowning Among Rural Chinese Children. Int J Behav Med. 2016;23(2):243-50.

บุศรา ชัยทัศน์ และนรลักขณ์ เอื้อกิจ. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการจมน้ำในเด็กวัยเรียน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสาร Journal of Nursing Science Chulalongkorn University. 2558;27(2):72-84.

ฐิติรัตน์ ทองม่วง, สุภามาศ ผาติประจักษ์, นพวรรณ เปียซื่อ. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมในการเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติน้ำท่วมของประชาชนในชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ จังหวัดนครปฐม. วารสารพยาบาล [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2565];67(3):46-54. เข้าถึงได้จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJN/article/view/214545

พิทยา โปสี, พัดชา หิรัญวัฒนกุล, วรพจน์ พรหมสัตยพรต. การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันการเสียชีวิตจากการจมน้ำ ในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ตำบลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์. วารสารสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2565];7(1):71-81. เข้าถึงได้จาก http://journal.ssru.ac.th/index.php/jahs/article/view/1079

ริประพาพรรณ ทุมคำ, ชนัญชิดาดุษฏี ทูลศิริ, พรนภา หอมสินธุ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป้องกันการจมน้ำของเด็กนักเรียน ชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 จังหวัดนครราชสีมา. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2565];28(4):12-24. เข้าถึงได้จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/248245

De Oliveira, J., Piñeiro-Pereira, L., Padrón-Cabo, A., Alonso-Calvete, A., García-Crespo, O., Varela-Casal, et al. Perception, knowledge and education for drowning prevention in adolescent. Rev Esp Salud Publica; 2021:95.

Green, L., & Kreuter, M. Health program planning: An educational and ecological approach. New York: McGraw-Hill; 2005

Ngamjarus, C., & Chongsuvivatwong, V. n4Studies: Sample size calculation for an epide-miological study on a smart device. Siriraj Medical Journal. 2016;68(3):160-70.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์. จำนวนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ประจำปี 2566. เพชรบูรณ์. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์; 2566

Bloom, B. S.. Taxonomy of Education. New York: Avid McKay Company; 1976

Best, J. W. Research in education. (3rd ed.). Engle Clift, NJ: Prentice-Hall; 1977

เปรมฤดี เฮนะเกษตร, รุ่งนภา จันทรา. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อความรู้และพฤติกรรมการป้องกันการจมน้ำของเด็กวัยเรียน อำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2565];32(1):101-11. เข้าถึงได้จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/257445

จตุรพร ลิ้มมั่นจริง.วิธีการสอนวิชาแนะแนว. [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 28 ธันวาคม 2565] เข้าถึงได้จาก

http://e-book.ru.ac.th/ebook_files/PC422/mobile/index.html

Rosenstock, I. M. Historical origins of the health belief model. Health Education Monographs. 1974;2(4):328-35.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. หลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอชีวิตรอดและคู่มือการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2552

เลี้ยง หุยประเสริฐ. คนจมน้ำเสียชีวิต. ไทยนิวส์ออนไลน์. 2565 กุมภาพันธ์ 27 [อินเตอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 11 ธันวาคม 2565]; เข้าถึงได้จาก https://today.line.me/th/v2/article/1DwLe58

ขนิษฐา เกื้อเพชร, วัลลภา เชยบัวแก้ว. การรับรู้ของผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายต่อความรู้ ทัศนคติ ทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำของบุตรหลาน และการเรียนรู้ร่วมกัน เกี่ยวกับการป้องกันการจมน้ำของบุตรหลานในตำบลหัวไทร. [อินเตอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2565]; เข้าถึงได้จาก http://libapp.tsu.ac.th/ojs/index.php/TSUOJ/article/view/589

ฟัตฮียะห์ แอวา. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้สมุนไพรกำแพงเจ็ดชั้นของผู้ป่วยเบาหวาน ในคลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลไม้แก่น จังหวัดปัตตานี [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2560. 112 หน้า.

วิชชุตา มัคสิงห์, นอลีสา โต๊ะยุโส๊ะ, จิรกานต์ พันธ์ฤทธิ์ดำ. ผลของโปรแกรมการสอนต่อความรู้และทัศนคติในการป้องกันการจมน้ำของเด็กวัยเรียน. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2565];2(2):63-76. เข้าถึงได้จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jhri/article/view/243226

Chivanon, N. Accidents in children: Situation and prevention. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University. 2016;24(3):1-12.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. การผลักดันนโยบายการดำเนินงานป้องกันเด็กจมน้ำในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2554

WHO region office for South-East Asia. Drowning prevention in some South-East Asia countries: Drowning prevention in Bangladesh. In Rastriya lifesaving society (India) (Ed.), Drowning Prevention in the South-East Asia Region; 2014. 5-6.

เพชรรัตน์ บุนนาค. การจมน้ำในเด็ก. ธรรมศาสตร์เวชสาร [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2565];17(1):110-11. เข้าถึงได้จาก

https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tmj/article/download/81459/64777/196841

เกศรา แสนศิริทวีสุข, ณพชร สีหะวงษ์, สุขสันต์ กองสะดี. การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมความปลอดภัยจากการบาดเจ็บจราจรและจมน้ำโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลคอนกาม อำเภอยางชุมน้อยจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการสาธารณสุข [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2565];25(5):812-22. เข้าถึงได้จาก https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/365