ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เป็นผู้สูงอายุ ในอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่

Main Article Content

ชนกนันท์ ฝากมิตร
ตวงพร พิกุลทอง
อดิเทพ ดารดาษ

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เป็นผู้สูงอายุ ในอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ศึกษากลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้สูงอายุ จำนวน 364 คน คัดเลือกสุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณหลายขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เป็นผู้สูงอายุในระดับปานกลาง (ร้อยละ 68.11) ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เป็นผู้สูงอายุในอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ พบว่า ตัวแปรพยากรณ์ทั้ง 4 ตัวแปร ได้แก่ อาชีพ (β =  -0.14) ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง (β = 0.39) การรับรู้อุปสรรคต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง (β = 0.13) และแรงสนับสนุนทางสังคม (β = 0.16) ตามลำดับ ร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 26.1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

ณัฐธิวรรณ พันธ์มุง, อลิสรา อยู่เลิศลบ, สราญรัตน์ ลัทธิ. [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ20 ธันวาคม2565]. เข้าถึงได้จาก http://www.thaincd.com/document/hot, 2562.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. [อินเตอร์เน็ต] [สืบค้น 8 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จากdhttp://www.thaincd.com/2016/news/hot-news-detail.php? gid= 18 &id=13507. 2562

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่. [อินเตอร์เน็ต] [สืบค้น 8 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php. 2562

สิดาพร ถุงคำ, ชุลิกร ด่านยุทธศิลป์, ทวีศักดิ์ ศิริพรไพบูลย์. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการควบคุมและป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ จังหวัดแพร่. วารสารพยาบาลและสุขภาพ. 2562; 13(3); 1-15.

อุไรพร คล้ำฉิม. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของผู้ที่มีความดันโลหิตสูงระยะเริ่มต้น ใน จังหวัดสมุทรสงคราม. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี; 2554.

Bloom, BenjaminS., et al. Hand book on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill Book Company. 1971

Best, J. Research in education. New Jersey: Prentice Hall. 1977.

ดรุณี ยศพล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงในเขต เทศบาล ตำบลอรัญญิก อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกริก, กรุงเทพ; 2560

อมรรัตน์ ลือนาม. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของประชากรกลุ่มเสี่ยง. วารสาร มฉก วิชาการ. 2562; 23(1): 93-106

แจ่มจันทร์ ทองลาด. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพ ในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสาธารณสุขมูลฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 2564; 36(2): 82-90.

Giena, V. P., Thongpat, S., & Nitirat, P. (2018). Predictors of health-promoting behavior among older adults with hypertension in Indonesia. International Journal of Nursing Sciences. 2018; 5: 201-205.

จิราวรรณ เจนจบ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกศกาสร อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร: กรณีศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก; 2559.

วานิช สุขสถาน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงภายใต้นโยบายหลักประกันสขภาพถ้วนหน้าอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารกฎหมายสขภาพและสาธารณสุข. 2561; 4(3): 431-441.

มนพัทธ์อารัมภ์ วิโรจน์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ เรื่องโรคความดันโลหิตสูง ในชุมชนบ้านท่าข้องเหล็ก หมู่ที่9 จังหวัดอุบลราชธานี. การประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 2: การวิจัย 4.0 เพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคง และ ยั่งยืน; 26-27กรกฎาคม 2560. อุบลราชธานี: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี: หน้า26-27.

ตวงพร พิกุลทอง. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของผู้ที่มีความเสี่ยง ในอำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยนเรศวร]. มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก; 2564.

กรวิกา พรมจวง, เกียรติศักดิ์ แซ่อิว, สิตานันท์ จันทร์โต. ปัจจัยทํานายพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2564; 32(2): 233-246.

ทิพย์สุคนธ์ ศรีลาธรรม, สุรีย์ จันทรโมลี, ประภาเพ็ญ สุวรรณ. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของประชาชนกลุ่มเสี่ยง เขตสุขภาพที่ 4 กระทรวงสาธารณสุข. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 2564; 6(12): 425-438.