ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของประชาชน ในการเตรียมเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

ธนูย์สิญจน์ สุขเสริม
บุษกร สุวรรณรงค์
สนธยา ไสยสาลี
สุรศักดิ์ ธรรมรักษ์เจริญ
จุฑามาศ เจียมสาธิต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในการเตรียมเข้าสู่วัยสูงอายุ  2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในการเตรียมเข้าสู่วัยสูงอายุ  เก็บรวบรวมข้อมูลกับประชาชนที่มีอายุ 50 – 59 ปี ในพื้นที่ 4 หมู่บ้านรอบวัดโพธิ์ชัยวนาราม ตำบลสงเปลือย  อำเภอนามน  จังหวัดกาฬสินธุ์ ทุกคน จำนวน 285 คน  โดยใช้แบบสอบถาม  เพื่อนำข้อมูลใช้นำร่องในการทำการวิจัยเรื่องประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในการเตรียมเข้าสู่วัยสูงอายุโดยใช้วัดเป็นฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน 


            ผลการวิจัย พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพในการเตรียมเข้าสู่วัยสูงอายุอยู่ในระดับดี และเมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในการเตรียมเข้าสู่วัยสูงอายุ  พบว่า เพศ อาชีพหลัก รายได้ โรคประจำตัว มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในการเตรียมเข้าสู่วัยสูงอายุ (p < 0.05) และความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองและแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในการเตรียมเข้าสู่วัยสูงอายุในทิศทางบวก  (r = 142 , p < 0.05) และ (r = 248 , p < 0.01)

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย. รายงานประจำปี 2563. [อินเตอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 3 สิงหาคม

. เข้าถึงได้จาก https://eh.anamai.moph.go.th/web-upload/10x2f8665bc5c6742a30312c81435ca284e/filecenter/Annual%20report%20file/Annual%20report%202020.pdf

วรรณา ชื่นวัฒนา, ชูชีพ เบียดนอก. การรับรู้และการเตรียมตัวเพื่อการเข้าสู่วัยสูงอายุของประชากรไทย

ก่อนวัยสูงอายุ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 2555; 4(1): 197 – 208.

ดลนภา ไชยสมบัติ, นันทิกา อนันต์ชัยพัทธนา. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ

ประชาชนก่อนวัยสูงอายุ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2564; 30(1): 135-47.

เกรียงศักดิ์ ยศพิมพ์,อู่ทอง นามวงษ์. การเตรียมความพร้อมสู่วัยสูงอายุของบุคลากรด้านสุขภาพใน

จังหวัดเลย. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก. 2562; 6(2)พิเศษ: 20-32.

Bloom, B.S. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York : McGraw–Hill; 1971.

Best, John W. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs,New Jersey : Prentice Hall, Inc.; 1977.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). อุบลราชธานี:

วิทยาออฟเซทการพิมพ์; 2549.

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) มนต์รักผักพื้นบ้านอีสาน...สุดยอดวัตถุดิบ

ธรรมชาติยั่วน้ำลาย . [อินเตอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 3 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก

https://www.creativethailand.org/view/article-read?article_id=33157

ศุภพิชญ์ ญาณโสภณ. การศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มวัยก่อนสูงอายุ (Pre-aging) ในการเตรียม

ความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของเขตสุขภาพที่ 2. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 2564;

(3): 56-68.

ยุวัลดา ชูรักษ์. การเตรียมความพร้อมของประชาชนเพื่อรองรับการเขาสู่สังคมผู้สูงอายุในจังหวัดตรังใน

การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ครั้งที่ 10; 12 - 13

กรกฎาคม 2562; สงขลา. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่; 2562. หน้า 1020-030.

สุรพิเชษฐ์ สุขโชติ, อุบลวรรณ หงษ์วิทยากร. การวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อม

เพื่อการเป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 2559; 10(2): 62-76.

ประกาย จิโรจน์กุล, นิภา ลีสุคนธ์, เรณู ขวัญยืน, วันเพ็ญ แก้วปาน. การเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุของ

ผู้ใหญ่วัยกลางคนในเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต; 2560.

กฤษดา พรหมสุวรรณ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ

ตำบลหนองไม้แก่น จังหวัดฉะเชิงเทรา. (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). ฉะเชิงเทรา:

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์; 2560.

วิศรุต สุริยะวรรณ,ชนาธิป สมศรีรื่น, วฤณนา วิเศษไพฑูรย์. ระดับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและ

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของประชาชน ตำบลสาวอ อำเภอรือเสาะ

จังหวัดนราธิวาส. วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา. 2561; 5(1) : 121 – 130.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือปฏิบัติงานสื่อสารประชาสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค.

บริษัทโอ-วิทย์ ประเทศไทย จำกัด; 2554.

กริช เกียรติญาณ, ธนัสถา โรจนตระกูล. การเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ กรณีศึกษาตำบล

วัดไทรย์ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 2564; 6 (2): 59-74.

สุวิทย์ ขจรกล่ำ. การศึกษาการเตรียมความพร้อมสู่วัยเกษียณของพนักงานในนิคมอุตสาหกรรม

อมตะนคร จังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตมหาวิทยาลัย. ชลบุรี:

มหาวิทยาลัยบูรพา; 2557.

กัญญารัตน์ แข็งกสิกรณ์, ธานินทร์ สุธีประเสริฐ, วิโรจน์ เอี่ยมระหงษ์, สุวรรณี เนตรศรีทอง, สุภาพร

บุญศิริลักษณ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลกับการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุของประชาชน ตำบลหนอง

ปลาไหล อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2565; 31 (1): 36-47.

Pender, N.J. Health Promotion in nursing practice. 2nd ed. New York: Appleton &. Lange; 1987.

Pender, N.J., Murdaugh, C.L., Parsons, M.A. Health Promotion in Nursing Practice. 5th ed.New Jersey : Pearson Education, Inc.; 2006.

จิราวรรณ ชาลี. การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุของประชากรในเขตดินแดงกรุงเทพมหานคร

(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). คณะบริหารธุรกิจ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2563.

Green lW, Kreuter MW. Health program planning: An educational and ecological approach. 4th ed. New York: Emily Barrosse; 2005.

จริยาภรณ์ กันทะวี, ทองดี คําแก้ว, พัชรา ก้อยชูสกุล, อนัญญา เหล่ารินทอง, รวิพรรดิ พูลลาภ. การเตรียม

ความพร้อมเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุของประชาชนวัยก่อนสูงอายุในเขตเทศบาลตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง

จังหวัดเชียงราย. การประชุมวิชาการสำหรับนักศึกษาระดับชาติ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม.

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ครั้งที่ 3; 1 พฤษภาคม 2563; กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยราชภัฏ

สวนสุนันทา; 2563. หน้า 526 -533.

พรศิริ พันธสี, กาญจนา ศรีสวัสดิ์. ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพ

ตามหลัก 3อ.2ส. ของผู้สูงอายุสมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย แขวงทุ่งวัดดอน เขตสาทร

กรุงเทพมหานคร. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ. 2563; 6 (1): 45-57.

ชวนพิศศิริ ไพบูลย์, อิทธิพล ดวงจินดา, กันธิมาศรี หมากสุก, ศรีสุรางค์ เคหะนาค,อังคณา บุญครอง.

ความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุไทยในอำเภอเมือง จังหวัด

สมุทรสงคราม. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2564; 14(2): 94-107.