ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ของผู้สูงอายุ จังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ของผู้สูงอายุ จังหวัดอุดรธานี ประชากรคือผู้สูงอายุที่มีรายชื่อในทะเบียนบ้าน เขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 62,252 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 200 คน ใช้สูตรคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ทราบจำนวนประชากรของ อรุณ จิรวัฒน์กุล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และวิธีวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติคเชิงพหุคูณ กำหนดค่าความเชื่อมั่น 95% (p-value <0.05) ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับดี ร้อยละ 86.0 และพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) อยู่ในระดับดี ร้อยละ 77.5 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ของผู้สูงอายุ จังหวัดอุดรธานี พบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (ORadj =2.55, 95% CI=1.08-5.99) ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพให้ผู้สูงอายุ มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ จะส่งผลให้มีให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ที่ดีถูกต้องเหมาะสม และโรคระบาดอื่นที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. การเฝ้าระวังการกลายพันธุ์ของเชื้อ. [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 10
พฤศจิกายน 2565]; เข้าถึงได้จาก: https://www3.dmsc.moph.go.th/.
Keitshokil et al. HIV/AIDS education, prevention and control course (BNS101): the way forward. [Internet]. 2016 [cited 2022 November 10]; Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17991596/.
วาสนา สิทธิกัน. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลบ้านโฮ่ง.
อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 25 ตุลาคม 2565]; เข้าถึงได้จาก:
http://www.cmruir.cmru.ac.th/bitstream/123456789/1531/1/F432994.pdf.
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2565). สถิติผู้สูงอายุ สัญชาติไทย และ มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน มกราคม 2565.
[อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2565]; เข้าถึงได้จาก:https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/1159.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี. Aging Survey Udonthani: ผู้สูงอายุจำแนกตามเพศและช่วงอายุ. [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 25 ตุลาคม 2565]; เข้าถึงได้จาก: https://aging.udpho.org/p_rep1.php.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสําหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2551.
กองสุขศึกษา. เครื่องมือสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในสถานบริการสุขภาพ (Health
Literacy Toolkit). [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2565]; เข้าถึงได้จาก:
Bloom BS, editor. Taxonomy of Education. New York: David McKay; 1975.
นรลักขณ์ เอื้อกิจ และลัดดาวัลย์ เพ็ญศรี. การประยุกต์ใช้แนวคิด PRECEDE MODEL ในการสร้าง
เสริมสุขภาพ. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 2562; 12(1): 38-48.
ทิพย์รัตน์ ผลอินทร์, นารีรัตน์ จิตรมนตรี และวิราพรรณ วิโรจน์รัตน์. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย
ส่วนบุคคล ภาวะสุขภาพ ความกลัวการหกล้ม และ พฤติกรรมป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน.
วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2560; 29(1): 36-50.
อานนท์ สังขะพงษ์, ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ และ วรรณรัตน์ ลาวัง. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ทาง
สุขภาพของญาติผู้ดูแล ผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2562;
(2): 55-62.
จิราพร สินธุพรหม และ อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไต
เรื้อรังของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ตําบลเนินมะกอก อําเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์.
วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรคสคร.2 พิษณุโลก. 2566; 10(2): 81-93.
วีระ กองสนั่น และ อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการ
ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเขตตำบลหนองใหญ่
อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน. 2563; 3(1):
-44.
มนันญา ผลภิญโญ, ธีรศักดิ์ พาจันทร์ และ ลำพึง วอนอก. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการ
ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของพระสงฆ์และสามเณร อำเภอชุมแพ จังหวัด
ขอนแก่น. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2566; 17(3): 827-841.