ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจ ต่อพฤติกรรมสุขภาพ ระดับเกลือโซเดียม และระดับ ความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพ ระดับเกลือโซเดียม และระดับความดันโลหิต ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ ระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจและกลุ่มควบคุม ก่อนทดลองและหลังทดลอง 12 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 70 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 35 คน ระยะเวลาการจัดกิจกรรม 12 สัปดาห์ กลุ่มทดลองเข้าร่วมกิจกรรมโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจและมีการติดตามพฤติกรรมสุขภาพ ระดับเกลือโซเดียม และระดับความดันโลหิตที่บ้าน 2 ครั้ง ส่วนกลุ่มควบคุมให้บริการสุขภาพตามปกติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม อายุเฉลี่ยเท่ากับ 52.63 ปี (S.D.= 4.12) และ 52.29 (S.D.= 2.36) ตามลำดับ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนเท่ากับ 9,554.29 บาท (S.D.= 5038.17) และ 9,574.28 บาท (S.D.= 6234.59) ตามลำดับ เพศส่วนใหญ่เพศหญิงร้อยละ 57.10 เท่ากันทั้ง 2 กลุ่ม ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมเท่ากับ 139.12 (S.D.= 3.81) และ 110.51 (S.D.= 4.81) แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p< .05 ค่าเฉลี่ยระดับเกลือโซเดียมหลังการทดลอง ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมเท่ากับ .85 (S.D.= .20) แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p< .05 ค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิตซิสโตลิกหลังการทดลอง ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 137.63 (S.D.= 4.46) ตามลำดับ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p< .05 ค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิตไดแอสโตลิกหลังการทดลอง ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 86.74 (S.D.= 2.80) และ 94.09(S.D.= 2.14) แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ p< .05 จากผลการวิจัยพบว่าโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจสามารถใช้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
World Health Organization. Hypertension. [Internet]. 2023[cited 2023 Jan 15];Available from: https://www.who.int/news-room/factsheets/detail/hypertension
กระทรวงสาธารณสุข. อัตราการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง. เข้าถึงเมื่อ 22 มกราคม 2566. เข้าถึงได้จาก https://hdcservice.moph.go.th/2565
Mills, K. T., Stefanescu, A., & He, J. The global epidemiology of hypertension. Nature reviews. Nephrology. 2020; 16: 223–237.
Flack, J. M., and Adekola, B. Blood pressure and the new ACC/AHA hypertension guidelines. Trends in Cardiovascular Medicine 2020; 30: 160-164.
สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562. 2562. ทริค ธิงค์. เชียงใหม่.
วาสนา รวยสูงเนิน, ดลวิวัฒน์ แสนโสม, นงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์, สมจิต แดนสีแก้ว, นพนันท์ ชัยภูมิ, รุ่งทิวา ขันธมูล แลเ เกษม ดำนอก. สถานการณ์การรับประทานอาหารโซเดียมสูงและการรับรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารโซเดียมสูงกับการเกิดโรคไตเรื้อรังของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2561; 36: 242-250.
จารวี คณิตาภิลักษณ์, ทศพร คําผลศิริ และ ลินจง โปธิบาล. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง. พยาบาลสาร. 2563; 47: 222-230.
ทัศมาภรณ์ สุทธิรักษ์, รังสิยา นารินทร์ และ วิลาวัณย์ เตือนราษฎร์. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการปฏิบัติของครอบครัว ในการบริหารข้อสำหรับผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารสภาการพยาบาล. 2563; 35: 70-83.
อุไรวรรณ พานทอง และ พัชราภรณ์ ขจรวัฒนากุล. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองระดับ HbA1C และผลลัพธ์ทางคลินิก ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้.วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2562; 30: 14-24.
ทัศมาภรณ์ สุทธิรักษ์, รังสิยา นารินทร์ และ วิลาวัณย์ เตือนราษฎร์. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการปฏิบัติของครอบครัว ในการบริหารข้อสำหรับผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารสภาการพยาบาล. 2563;35: 70-83.
สยาภรณ์ เดชดี และ อรวรรณ หนูแก้ว. การพัฒนาและผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคจิตจากสารเสพติด. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2564; 33: 91-111.
เพ็ญศรี รอดพรม, นฤมล จันทร์สุข และ นันตพร ทองเต็ม. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 2565;9: 300-312.
พัชราภรณ์ พงค์เขียว, รังสิยา นารินทร์ และ วิลาวัณย์ เตือนราษฎร์. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจครอบครัวต่อการปฏิบัติฟื้นฟูสมรรถภาพปอดสำหรับผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่บ้าน. Lanna Public Health Journal. 2566; 19: 89-101.
อภิชาติ กาศโอสถ, พิกุล พรพิบูลย์ และ จันทร์ฉาย โยธาใหญ่. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อความรู้สึกถึงความสามารถในการควบคุม และความรุนแรงของข้อเสื่อมในผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม. พยาบาลสาร. 2562; 46: 188-198.
จารวี คณิตาภิลักษณ์, ทศพร คําาผลศิริ และ ลินจง โปธิบาล. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง. พยาบาลสาร. 2563; 47: 222-230.
วิชัย อุ่นแก้ว. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพรานเหนือ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2565; 7: 189-198.
บุญเลิศ จันทร์หอม. ประสิทธิผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลวังแดง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์.วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก. 2564; 8: 100-115.
Gibson, C.H. A concept analysis of empowerment. Journal of Advanced nursing. 1991; 16: 354-361.