สถานการณ์และแนวทางการจัดการอาชีวอนามัยและ ความปลอดภัยของแรงงานสูงอายุนอกระบบในชุมชน จังหวัดอุตรดิตถ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงวิเคราะห์นี้มี วัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์และแนวทางการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของแรงงานสูงอายุนอกระบบในจังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างคือแรงงานสูงอายุนอกระบบ จำนวน 350 คน และกลุ่มแกนนำสุขภาพภาคประชาชน จำนวน 60 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การรับรู้ความเสี่ยงต่อสุขภาพในการทำงานของผู้สูงอายุในเขตเมืองและกึ่งเมือง คือ การปวดเมื่อยจากการทำงาน ในเขตชนบท คือ ความร้อนหรือการถูกแสงแดด 2) ความต้องการการสนับสนุนด้านความรู้ของผู้สูงอายุในเขตเมืองคือ การป้องกันควบคุมโรคจากการทำงาน ในเขตกึ่งเมืองคือ ความปลอดภัยในการทำงาน และในเขตชนบทคือ การใช้สารเคมีให้ปลอดภัย 3) ปัญหาสุขภาพที่พบในผู้สูงอายุเขตเมืองคือ การสัมผัสความร้อนหรือทำงานกลางแจ้ง ในเขตกึ่งเมืองและเขตชนบทคือ การทำงานที่ต้องยกของหนัก ปัญหาด้านการยศาสตร์ของแรงงานสูงอายุนอกระบบ ทั้งใน 3 พื้นที่คือ ปัญหาจากการนั่ง การพัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชน ประกอบด้วย (1) การสร้างความเข้าใจสถานการณ์ (2) การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา และวางแผนดำเนินการ (3) การพัฒนาความรู้ และ (4) การสะท้อนความคิดให้แรงงานสูงอายุนอกระบบนำไปปฏิบัติ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. รายงานความยากจนหลายมิติของประเทศไทย ปี 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2564.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สรุปผลที่สำคัญการทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. 2565.
วันเพ็ญ แก้วปาน และสุรินธร กลัมพากร. ภาวะสุขภาพ พฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพ และพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของแรงงานสูงอายุ(อายุ 45-60 ปี). ม.ป.ท: ม.ป.พ. 2552.
ณัฏฐ์สิณี สุขสมัย ขวัญใจ อำนาจสัตย์สื่อ พัชราพร เกิดมงคล วันเพ็ญ แก้วปาน และนิตยา วัจนะภูมิ. ปัจจัยที่มี ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุที่ทำงานนอกระบบในกรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2555; 26(3): 80–93.
เสาวลักษณ์ แก้วมณี ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์ และธานี แก้วธรรมานุกูล. ปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานและภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงของแรงงานสูงอายุในอุตสาหกรมอาหารทะเลบรรจุกระป๋อง. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 2554. 6(2); 90-99.
สำนักงานสถิติจังหวัดอุตรดิตถ์. การสำรวจความต้องการการพัฒนาขีดความสามารถของประชากร พ.ศ. 2556 – 2558. อุตรดิตถ์: ม.ป.พ. 2558.
กรกฤช ลิ้มสมมุติ. การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนอำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2558. 5(2); 153-161.
กนกวรรณ สิทธิวิรัชธรรม และศันสนีย์ เมฆรุ่งเรืองวงศ์. ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุในเขตเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 2558. 38(4); 11-21.
ศรัณยู เรือนจันทร์, เผด็จการ กันแจ่ม และ ธนากร ธนวัฒน์. การพัฒนาศักยภาพการดูแลตนเองจากการทำงานของแรงงานสูงอายุนอกระบบในพื้นที่ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2562. 12(2); 600-610.
Hoffmeister H, Mensink G B M. Social change theory: applications to community health. In: Bracht N (ed). Health promotion at the community level. Newbury Park: Sage Publications. 1990.
ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ. กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 3 . กรุงเทพฯ : โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข. 2548.
ฉันทนา จันทวงศ์ และคณะ. รูปแบบการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยในการประกอบอาชีพของแรงงานสูงอายุนอกระบบในชุมชนชายทะเลเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต. มหาวิทยาลัยบูรพา. 2559.
เกษราวัลณ์ นิลวรางกูร และคณะ. การพัฒนาองค์ความรู้ในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการทำงานของแรงงานสูงวัยนอกระบบ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). 2560.
Reason, P., & Bradbury, H. The Sage handbook of action research: Participative inquiry and practice. (2 nd.). Los Angeles: Sage Publications, 2008.
Nilvarangkul, K., Srithongchai, M., Saensom,D., Smith, J. F., Supornpan, S. & Tumnong, C. Evaluation of action research for strengthening personal health care among village women weavers in North East Thailand. Public Health Nursing. 2013. 30 (3); 213-220.
เกษราวัลณ์ นิลวรางกูร, วิจิตรา เสนา, เกศินี สราญฤทธิชัย, John, F. Smith, ธีรศักดิ์ พาจันทร์และศันสนีย์ สีต่างคา. การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของชุมชนในการดูแลสุขภาพเกษตรกรสวนยางพาราภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.ขอนแก่น : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2560.
Moule, P., & Goodman, M. Nursing research: An introduction. (2nded.) London: Sage Publications. 2014.