คุณภาพชีวิตการทำงานที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรโรงพยาบาลถลาง จังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

สุธาทิพย์ เดชะโชติ
อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรโรงพยาบาลถลาง จังหวัดภูเก็ต กลุ่มประชากรคือ บุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลถลาง จังหวัดภูเก็ต ปีงบประมาณ 2566 จำนวน 373 ราย โดยใช้สูตรการคำนวณกลุ่มตัวอย่างที่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอนของ Daniel ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 209 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 คุณลักษณะส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 คุณภาพชีวิตการทำงาน ส่วนที่ 3 ความผูกพันต่อองค์การ การตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และนำไปทดลองใช้เพื่อวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ 0.969 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตในการทำงาน ประกอบด้วย ด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม ด้านสถานภาพการทำงานที่มีความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน ด้านความสัมพันธ์ในสังคม ด้านลักษณะการบริหารงาน ด้านความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว ด้านความภูมิใจในองค์กร ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (67%) (=3.80, S.D.=0.50) สำหรับด้านความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสาธารณสุข ประกอบด้วย ด้านการยอมรับองค์กร ด้านการใช้ความสามารถเพื่อองค์กร ด้านความต้องการเป็นสมาชิกขององค์กร ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง (52.2%) (=4.18, S.D.=0.51) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า คุณภาพชีวิตการทำงานมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรโรงพยาบาลถลาง จังหวัดภูเก็ต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.475, P-value<0.001)

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Department of Community Development. Quality of Life for Thai People in 2008 Report, Basic Minimum Needs Information. Community Development Department, Ministry of Interior; 2008.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. ฐานข้อมูลกำลังคนด้านสุขภาพ.

[อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก

http://moc.moph.go.th/Resource/index.php, 2566.

โรงพยาบาลถลาง. A Survey of Employees Fiscal Years 2016. เอกสารอัดสำเนา; 2565

Walton R.E. Improving the Quality of Work Life. Harvard Business Review; 1973: May-June.

ปรีชา พุกจีน. คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดปัตตานี. วารสารวิทยาศาสตร์ สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน 2562: 2(1): 23-37.

รัชนีกร ถิรตันตยาภรณ์, อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ. คุณภาพชีวิตการทำงานที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลถลาง จังหวัดภูเก็ต. วารสารวิชาการ แพทย์เขต 11 2560: 31(4): 589-598.

Steers R.M., Porter L.W. Motivation and Work Behavior. 5th ed. New York: McGraw-Hill; 1977.

Daniel W.W. Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences. (9thed). New York: John Wiley & Sons; 2010.

Best John W. Research is Evaluation. (3rd ed). Englewood cliffs: N.J. Prentice Hall; 1977.

Cronbach L.J. Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 1951; 16(3): 297-334.

Hackman J.R., Suttle L.J. Improving Life at Work. Behavior Science Approach to Organizational Change. Santa Monica, Calif: Goodyear Publishing; 1977.

ชณิกานต์ เครือวิเสน, ประภัสสร วิเศษประภา. คุณภาพชีวิตในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2563.

Radja J. Tawe, A., Rijal, S. & Tiro, M.a. Effect Quality of Work and Organizational Commitment toward Work Satisfaction in Increasing Public Service Performance (A Study of License of Founding Building Service in Makassar City). Public Policy and Administration Research 2013: 3(12).