ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อวัณโรคปอดในบุคลากรสาธารณสุข โรงพยาบาลชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

วนิษา ผิวนางงาม
สุทิน ชนะบุญ
ลำพึง วอนอก

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อ     วัณโรคปอด และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อวัณโรคปอดในบุคลากรสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรสาธารณสุขโรงพยาบาลชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น จำนวน 370 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ช่วงเดือนเมษายนพ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติอนุมานโดยการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก


ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 82.97 อายุเฉลี่ย 32.71 ปี
(ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 8.66 ปี) มีพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อวัณโรคปอด ระดับดี ร้อยละ 78.11 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อวัณโรคปอด ได้แก่ อายุ (Adjusted odds ratio [aOR] = 1.96, 95% CI : 1.17-3.30, P-value = 0.011) สิ่งแวดล้อม (aOR = 2.02, 95% CI : 1.18-3.45, P-value =0.010)  และความรอบรู้ด้านสุขภาพ ได้แก่ การเข้าถึงข้อมูล (aOR=3.62, 95%CI: 1.29-10.11, P-value = 0.014) การเข้าใจข้อมูล (aOR =5.66, 95%CI: 2.35-13.62, P-value <0.001) การวิเคราะห์ ประเมินข้อมูล (aOR = 2.50, 95% CI : 1.14-5.47,P-value =0.021)   ดังนั้น ควรเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้เข้าปฏิบัติงานใหม่ อายุน้อยกว่า 30 ปี เกี่ยวกับป้องกันการติดเชื้อจากการปฏิบัติงานและการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันการติดเชื้อวัณโรคและโรคอื่น

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

กระทรวงสาธารณสุข กองวัณโรค. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2564

World Health Organization. Global tuberculosis report 2021. 2021. Available: https://www.who.int/publications/i/item/9789240037021 [Internet]. [cited 2022 July 10] 2021.

อรพันธ์ อันติมานนท์, บรรณาธิการ. แนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมวัณโรค ในบุคลากรที่ปฏิบัติงานของสถานพยาบาล. นนทบุรี: กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2563

พีรวัฒน์ ตระกูลทวีสุข, อนุชิต นิยมปัทมะ, สุนทร บุญบำเรอ, เนสินี ไชยเอีย. วัณโรคในบุคลากรสังกัดโรงพยาบาลตติยภูมิ ภาคะวันออกเฉียงเหนือประเทศไทย.ศรีนครินทร์เวชสาร 2560; 32(3): 204-13.

Wang XN, He TL, Geng MJ, Song YD, Wang JC, Liu M, et al. Prevalence of and risk factors for tuberculosis among healthcare workers in Chinese tuberculosis facilities. Infect Dis Poverty 2018; 7(1): 26.

Apriani L, McAllister S, Sharples K, Nurul Aini I, Nurhasanah H, Ruslami R, et al. Mycobacterium tuberculosis infection and disease in healthcare workers in a tertiary referral hospital in Bandung, Indonesia. J Infect Prev 2022; 23(4): 155-66.

กระทรวงสาธารณสุข. บุคลากรสาธารณสุขป่วยเป็นวัณโรค [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก http://tbcmthailand.ddc.moph.go.th/

โรงพยาบาลชุมแพ กลุ่มงานควบคุมโรคและอนามัยสิ่งแวดล้อม. การดำเนินงานวัณโรคอำเภอชุมแพ [เอกสารประกอบรายงาน]. ขอนแก่น:โรงพยาบาลชุมแพ; 2565.

ศรินพันธ์ ผ่องพันธ์. วัณโรคและความปลอดภัยของบุคลากรทางการแพทย์. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 2561; 8(3): 319-25.

พนิดา ว่าพัฒนวงศ์, ชมพูนุช สุภาพวานิช, อรรณพ สนธิ ไชย.พฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อวัณโรค จากการทำงานในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ จังหวัดนราธิวาส. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 2560; 9(1): 74-85.

รักษ์สุดา ชูศรีทอง. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดชลบุรี.วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล. 2564; 37(2): 120-130

กระทรวงสาธารณสุข. แนวคิดหลักการขององค์กรความรอบรู้ด้านสุขภาพ. กรุงเทพฯ: โครงการ ขับเคลื่อนกรมอนามัย 4.0 เพื่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชน. 2561.

ปาจรา โพธิหัง. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในประเทศไทย: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ.วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2564; 9(3): 115-130.

Hsieh FY, Bloch DA, Larsen MD. A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Stat Med 1998; 17(14): 1623-34.

Bloom BS, Madaus GF, Hastings JT. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw–Hill; 1971.

Sørensen K, Van den Broucke S, Pelikan JM, Fullam J, Doyle G, Slonska Z, et al. Measuring health literacy in populations: illuminating the design and development process of the European Health Literacy Survey Questionnaire (HLS-EU-Q) BMC Public Health. 2013; 13: 948.

กระทรวงสาธารณสุข. สรุปผลการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) และพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย (วัยเด็กและวัยทำงาน) ในพื้นที่ดำเนินการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและโรงเรียนส่งเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. นนทบุรี: กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ: 2565.

พจนา วิภามาศ. พฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคจากการทำงานในบุคลากรทางการพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต. งานวิจัย/ผลงานวิชาการโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต. 2565; 1(1), 1-15.

Mor-Anavy, S., Lev-Ari, S., & Levin-Zamir, D. (2021). Health Literacy, Primary Care Health Care Providers, and Communication. Health literacy research and practice, 2021; 5(3), 194–200.

ชมพูนุช สุภาพวานิช, ฮาซามี นาแซม, อัญชลี พงศ์เกษตร, มะการิม ดารามะ, จามรี สอนบุตร, สมบูรณ์ คชาภรณ์วงศกร. พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อวัณโรคจากการทำงานของบุคลากรทางการพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนราธิวาส. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้. 2563; 7(1): 293-305.

ณัฐจิตรา ทองกุ้ง, ธีระวุธ ธรรมกุล. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคปอดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลหนองธง อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา. 2564; 27(3): 34-42

Sørensen K, Van den Broucke S, Fullam J, Doyle G, Pelikan J, Slonska Z, et al. Health literacy and public health: a systematic review and integration of definitions and models. BMC Public Health 2012; 12: 80.