ผลกระทบ และการปรับตัวของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19)

Main Article Content

ประจวบ แหลมหลัก
สมคิด จูหว้า
เทียนทอง ต๊ะแก้ว
ทวีวรรณ ศรีสุขคำ

บทคัดย่อ

การระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ซึ่งเป็นสถานบริการสุขภาพที่อยู่ใกล้ชุมชนมากที่สุด การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบ การปรับตัว และข้อเสนอแนะเชิงพัฒนาของ รพ.สต.ต่อการระบาดของโรคโควิด-19 เก็บข้อมูลจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดคือเชียงราย น่าน พะเยา และลำปาง แบ่งการเก็บข้อมูลเป็น 2 ระยะ คือ 1) เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา  2) เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 300 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา


                ผลการวิจัยระยะที่ 1 พบว่า รพ.สต.ได้รับผลกระทบด้านนโยบายไม่ชัดเจน ขาดความรู้และข้อมูล บุคลากร วัสดุ ครุภัณฑ์ และงบประมาณไม่เพียงพอ หยุดงานประจำบางอย่าง การปรับตัวโดยสร้างเครือข่ายระหว่างหน่วยงาน สร้างชุมชนจิตอาสา ระดมทรัพยากรจากเอกชน หาความรู้จากสื่อออนไลน์ ปรับการส่งยาผู้ป่วยเรื้อรังถึงบ้าน ข้อเสนอแนะคือการกำหนดนโยบายที่เป็นเอกภาพ ตั้งศูนย์ปฏิบัติการในพื้นที่ เพิ่มค่าตอบแทนให้เจ้าหน้าที่ พัฒนาหลักสูตรออนไลน์และระบบการเฝ้าระวังโรค ระยะที่  2 พบว่า รพ.สต.ได้รับผลกระทบ และการปรับตัว อยู่ในระดับปานกลาง แต่ข้อเสนอแนะเชิงพัฒนาอยู่ในระดับสูง แสดงว่า รพ.สต.ยังขาดระบบการแก้ปัญหาโรคโควิด-19 ดังนั้นหน่วยงานทุกระดับควรเตรียมพร้อมสำหรับการเผชิญโรคโควิด-19 หรืออุบัติใหม่ต่อไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

กรมควบคุมโรค กระทรวง สาธารณสุข (2565). รายงานสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทย ออนไลน์ https://www.facebook.com/photo/?fbid=519240653027597&set=a.106142991004034 สืบค้นเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2566.

สรายุทธ แก้วกุลปรีชา (2564). การบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 : กลไกของฝ่ายปกครองในการแก้ไขปัญหาด้วยการบูรณาการและนวัตกรรม. ออนไลน์ https://moi.go.th/moi/wp-content/uploads/2021/09/sarayut02.pdf สืบค้นเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2566

บุษกร เชี่ยวจินดากานต์ (2561). เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา. วารสารศิลปะศาสตร์ปริทัศน. ปีที่ 13 ฉบับที่ 25 มกราคม - มิถุนายน 2561

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.

จิติรัตน์ แสงเลิศอุทัย (2560). คุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร.ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2560.

Best, J. (1977) Research in Education. New Jersey : Prentice Hall, Inc.

ปองพล วรปาณิ (2566) การถอดบทเรียนการบริหารจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ในการรับมือโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภายใต้แนวคิด 6 องค์ประกอบของระบบสุขภาพ: กรณีศึกษาอำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรคสคร.2 พิษณุโลก :ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2566.

เยาวเรศ บรรเลง (2566). การศึกษาบทบาทการดําเนินงานเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดแพร่ม, วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก :ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2566 หน้า 26-47.

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (2561) แนวทางการดำเนินงานการจ่ายเงินค่าป่วยการ อสม. ผ่านระบบ e-Payment, ออนไลน์ https://hss.moph.go.th/HssDepartment/img/pdf/e-payment_61.pdf สืบค้นเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2566.