ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคโคโรนาไวรัส 2019 ของนักศึกษาสาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคโคโรนาไวรัส 2019 2) ศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคโคโรนาไวรัส 2019 และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคโคโรนาไวรัส 2019 ของนักศึกษาสาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เก็บรวมรวมข้อมูลกับประชากรนักศึกษาสาขาสาธารณสุขศาสตร์ ปีการศึกษา 2565 ทุกคน จำนวน 360 คน โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการป้องกันโรคโคโรนาไวรัส 2019 อยู่ในระดับดี ความรอบรู้ด้านสุขภาพในภาพรวมอยู่ในระดับดี และความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันโรคโคโรนาไวรัส 2019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์รายด้าน พบว่า ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านทักษะการสื่อสารข้อมูลสุขภาพ ด้านทักษะการรู้เท่าทันสื่อและด้านทักษะการจัดการตนเอง มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันโรคโคโรนาไวรัส 2019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และพบว่าด้านทักษะการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันโรคโคโรนาไวรัส 2019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
กรมควบคุมโรค.โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). [อินเตอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 1 เมษายน 2565]. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/faq_more.php
มติชนออนไลน์. เกาะติด Covid-19. [อินเตอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 1 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://www.matichon.co.th/covid19/news_3319277
กรมควบคุมโรค. แนวทางปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือโควิด 19 สำหรับประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง. [อินเตอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 1 เมษายน2565]. เข้าถึงได้จาก
https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/int_protection/int_protection_030164.pdf
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. นนทบุรี: กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2561.
ธีระ กุลสวัสดิ์. การหาคุณภาพเครื่องมือในการวิจัย. [อินเตอร์เน็ต]. [ชลบุรี] : มหาวิทยาลัยบูรพา; 2558. [เข้าถึงเมื่อ 1 เมษายน 2565]. เข้าถึงได้จาก:
https://km.buu.ac.th/public/backend/upload/article/file/document144620064347362700.pdf
ธีรวุฒิ เอกะกุล. ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). อุบลราชธานี: วิทยาออฟเซทการพิมพ์; 2549.
รัศมี สุขนรินทร์, กฤษฎนัย ศรีใจ, จินดา ม่วงแก่น, วรัญญ์ศิชา ทรัพย์ประเสริฐ. พฤติกรรมการป้องกัน โรคโควิด-19 ของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก. 2565;48 (3): 484-492.
ประไพวรรณ ด่านประดิษฐ์, กรรณิกา เจิมเทียนชัย. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ช่วงมีการระบาดปี 2564 และในไตรมาสแรกของ ปี 2565. วชิรสารการพยาบาล. 2565; 24 (2): 70-84.
ณัฐริกา พร้อมพูน, กฤษิณี เหลื่อง, วรางคณา คงสวัสดิ์, กฤติญา เส็งนา, ภูษณิศา มีนาเขตร. ความรอบรู้ทางสุขภาพด้านการป้องกันโรคโควิด-19 และพฤติกรรมสุขภาพแบบชีวิตวิถีใหม่ของนักศึกษาพยาบาลคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารสุขภาพและการพยาบาล มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2565; 1(1) : 16-27.
Bandura, A. Self-efficacy: Toward a unifying theory of behavioral change. Psychological Review. 1977; 84(2): 191–215.
หยาดพิรุณ ศิริ, อธิวัต อาจหาญ, นิรชร ชูติพัฒนะ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมป้องกัน โรคโควิด-19 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคใต้. วารสารควบคุมโรค. 2565; 48 (3): 493-504.
วิชัย เทียนถาวร, ณรงค์ ใจเที่ยง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ในกลุ่มวัยเรียนมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ.2564; 4(2): 126-137.
สุภาภรณ์ วงธิ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุโขทัย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564. 98 หน้า