ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชน ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

สนธยา ไสยสาลี
ธนูย์สิญจน์ สุขเสริม
บุษกร สุวรรณรงค์
สุรศักดิ์ ธรรมรักษ์เจริญ
ดำรงค์ ก่องดวง

บทคัดย่อ

การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชน ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา                            แบบภาคตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส            โคโรนา 2019 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนในการป้องกัน               โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์กับประชาชน จำนวน 410 ราย             ในเดือนมีนาคม - เมษายน พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ               ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคสแควร์และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 46.34 และอยู่ในระดับดี ร้อยละ 26.34 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้แก่ อายุ (r = -0.120, p < 0.05), อาชีพ                    (p-< 0.001), ช่องทางการรับข้อมูลข่าวสาร (p < 0.001), ความรู้ (r = 0.890, p < 0.001) และแรงสนับสนุนทางสังคม (r = 0.649, p < 0.001) ผลการวิจัยนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการออกแบบกิจกรรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพให้กับประชาชน เพื่อให้มีพฤติกรรมในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เหมาะสมในชุมชนต่อไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

กรมควบคุมโรค, กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์ COVID-19 ทั่วโลกและ ในประเทศไทย ระลอกเดือนมกราคม 2565 (ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 30 เม.ย. 65). [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ1 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://media.thaigov.go.th/uploads/public_img/source/300465.pdf

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. สถานการณ์ประจำวันที่ 26 เมษายน 2565. [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 26 เมษายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.kalasin.go.th/t/th/2017-10-03-04-10-9/2019-covid-19/1571-19-26-2564.html

Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine; 2008.

World Health Organization. Health Promotion Glossary. Switzerland: Division of Health Promotion, Education and Communications, Health Education and Health; 1998.

พรพญา เตปิน, วราภรณ์ บุญเชียง, ศิริตรี สุทธจิตต์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมในการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ของผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลเจริญเมือง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. ลำปางเวชสาร. 2561;39(2).

ปาจรา โพธิหัง. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในประเทศไทย: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2564;29(3):115-130.

ธนะวัฒน์ รวมสุก, ศุภลักษณ์ พื้นทอง, ประภัสสร ธรรมเมธา, นงนุช วงศ์สว่าง, นพวรรณ ดวงจันทร์, ชลธิชา บุญศิริ, และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ทางสุขภาพในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้สูงอายุ เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2565;36(1):39-52.

วิลัยวรรณ ปัดถา, ชนัญญา จิรพรกุล, เนาวรัตน์ มณีนิล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของครูชั้นประถมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2564;8(3):37-47.

กรมควบคุมโรค, กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทย (ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2564-24 ธ.ค. 65). [อินเทอร์เน็ต]. 2565[เข้าถึงเมื่อ 27 ธ.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://doeportal.moph.go.th/login

กองสุขศึกษา, กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพขั้นพื้นฐานและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19. [อินเทอร์เน็ต]. 2563[เข้าถึงเมื่อ 25 พ.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.hed.go.th

กองสุขศึกษา, กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. การประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ตามหลัก 3 อ.2ส. ของประชาชนวัยทำงาน. [อินเทอร์เน็ต]. 2561[เข้าถึงเมื่อ 25 พ.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.hed.go.th

Osborne H. In other words, why health literacy matter? [Internet]. 2004 [cited 2022 Apr 15]. Available from: http://www. Health literacy.com

กันยา โพธิปิติ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของผู้เลี้ยงดูหลักและครู/ผู้ดูแลเด็กในเขตสุขภาพที่ 5. วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น. 2565;15(1):28-50.

อรุณี เสือสิงห์, บรรณกร เสือสิงห์, รุ่งพิทยา คณะช่าง, พงศ์พิษณุ บุญดา. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์. งานประชุมวิชาการพะเยาวิจัย ครั้งที่ 10 “University Impact Rankings”; 28 – 29 มกราคม 2564; มหาวิทยาลัยพะเยา; 2564.

กรรณิการ์ การีสรรพ์, พรทิพย์ มาลาธรรม, นุชนาฏ สุทธิ. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมโรคความดันโลหิตสูงและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง. Rama Nurs J. 2562;25(3):280-295.

อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์, ฤทัยวรรณ แก้วมาลัย, เนตรนภา เครือสง่า, นิศาชล ตันติภิรมย์, ปริญญาพร ชาวบ้านเกาะ, เบญจรัตน์ เอี่ยมสะอาด. ความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องฉลากโภชนาการในเด็กวัยเรียน: กรณีศึกษาจังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2563;6(2):70-82.

ประศักดิ์ สันติภาพ, ภิรวดี ชูประวัติ, เทื้อน ทองแก้ว. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการปฏิบัติเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้สูงอายุ ในชุมชนสะลวง – ขี้เหล็ก อำเภอ แม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการแสงอีสาน. 2564;18(2):16-31.

Michelle E, Fiona W, Myfanwy D, Adrian E. The development of health literacy in patients with a long-term health condition: the health literacy pathway model. BMC Public Health; 2012.