ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของกลุ่มวัยทำงานที่ประกอบอาชีพสวนยางพารา อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

มนัญญา ธรรมพณิชย์
ศรีบุษย์ ศรีไชยจรูญพง
สุพัฒน์ อาสนะ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัย คือศึกษาความชุกของความเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของกลุ่มวัยทำงานที่ประกอบอาชีพสวนยางพารา กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มวัยทำงานที่ประกอบอาชีพสวนยางพารา อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 300 คน สุ่มตัวอย่างโดยใช้การสุ่มอย่างเป็นระบบ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาณ โดยการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก


                ผลการวิจัย พบว่ามีความชุกของความเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในกลุ่มวัยทำงานที่ประกอบอาชีพสวนยางพารา ร้อยละ 19.00 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 คือ อายุ 50 -59 ปี (Adj. OR = 2.91; 95%CI = 1.48 to 5.70 : p-value=0.002) ดัชนีมวลกายเกินมาตรฐาน (Adj. OR = 2.58 ; 95%CI = 1.33 to 5.00 : p-value=0.005) การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (Adj. OR = 2.91; 95%CI = 1.47 to 5.76:    p-value=0.002) การกินอาหารรสเค็มหรือรสหวานจัด (Adj. OR = 3.94; 95%CI = 1.70 to 9.11: p-value<0.001) การมีความเครียด/วิตกกังวล/หงุดหงิด (Adj. OR = 5.34 ; 95%CI = 1.77 to16.09: p-value=0.003) การมีค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว  (Adj. OR = 2.80; 95%CI = 1.29 to 6.07: p-value=0.009) และความสามารถในการเดินทางไปรับบริการการดูแลสุขภาพได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว (Adj. OR = 5.14; 95%CI = 2.22 to 11.44: p-value<0.001)

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Freinkel N, American Diabetes Association Standards of Medical Care in Diabetesd 2017, Diabetes Care ; 2017.135 p.

กรมอนามัย,การดำเนินงานระบบเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพวัยทำงาน,2560. [ออนไลน์]. Available: http://dental2.anamai.moph.go.th/download/article/ SurveilWorkingAge2018031213.pdf.. [วันที่เข้าถึง10 มีนาคม 2565].

การยางแห่งประเทศไทยสาขาจังหวัดเพชรบูรณ์, พื้นที่สวนใหญ่ยางพารา, เพชรบูรณ์, 2565.

กระทรวงสาธารณสุข, แนวทางการประเมินผลกระทบสุขภาพระดับโครงการ, กรุงเทพมหานคร, 2552.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์, คลังข้อมูลสุขภาพจังหวัดเพชรบูรณ์, 2565. [ออนไลน์]. Available: https://pnb.hdc.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php . [วันที่เข้าถึง18 ตุลาคม 2565].

Hsieh, A simple Method of Sample Size Calculation for Linear and Logistic regession, Statistics in Medicine 1998;17:1623-1634.

Best John W, Research in Education, New Jersey: Prentice Hall,Inc, 1997.

รัตนาภรณ์ อาษา, พิชสุดา เดชบุญ, ประภัสสร รัตนวงษ์, อนุสสรา สุดธ๊, ดาวประกาย ลาแก้ว, “ภาวะสุขภาพของเกษตรกรสวนยางพารา ตำบลหนามแท่ง อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี,” วารสารกรมการแพทย์ 2561;43(15):105-108.

เยาวดี ศรีสถาน, “ผลของพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการจัดการเฝ้าระวังตนเองของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง จังหวัดหนองบัวลำภู,” วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา 2565;5(11):36-45.

เกษศิริ เจือจันทึก, “ผลของพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพตนเองเพื่อป้องกัน โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จังหวัดหนองคาย,” วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา 2565;7(12):23-34.

ธีระศักดิ์ พาจันทร์,กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์,บุญสัน อนารัตน์ และนิรันดร์ ถาละคร. , “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย,” วารสารศูนย์อนามัยที่9 2565;19(11):285-296.

กฤษณา คำลอยฟ้า, “พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานในคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาชบาลแก้งสนามนาง อำเภอแก้งสนามนาง จังนครราชสีมา,” วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี 2562;17(11):17-30.

จริยา ทรัพย์เรือง,ธมกร อ่วมอ้อ,ปริศนา อัครธนพล, อัจฉา เดชขุน,กันยา สุวรรณคีรีขันธ์, “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของผู้ประกอบการร้านค้าวัยทำงาน หมู่ที่7ตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ,” วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2564;44(11):61-72.

ชวนพิศ สุนทรศารทูล, ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในตำบลแม่ปูคา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่, วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อม 2564;6(11):9-20.