ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเตรียมตัวก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ ของข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

เอกสิทธิ์ โสดาดี
สุพัฒน์ อาสนะ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเตรียมตัวก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุของข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างคือ ข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขที่มีอายุระหว่าง 50-59 ปี จำนวน 366 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์การถดถอยพหุโลจิสติกส์


                ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความพร้อมต่อการเตรียมตัวก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ ร้อยละ 72.68 มีการเตรียมตัวทุกด้านอยู่ในระดับสูง คือ 1) ด้านที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม 2) ด้านสุขภาพ 3) ด้านเศรษฐกิจ
4) ด้านสังคม 5) ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ภาพรวมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 75.96 รายด้านทุกด้านอยู่ในระดับดีมาก คือ 1) ด้านการเข้าถึง 2) ด้านการเข้าใจ 3) ด้านการประยุกต์ใช้ข้อมูล 4) ด้านการตัดสินใจ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเตรียมตัวก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ คือผู้ที่มีอายุ 50-54 ปี(ORadj = 2.37, 95%CI : 1.25 to 4.49 ; p-value=0.008) ความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับผู้สูงอายุ คือการตัดสินใจอยู่ในระดับดีมากดี (ORadj= 12.58, 95%CI : 6.49 to 24.38 ; p-value<0.001) และผู้ที่มีการประยุกต์ใช้ข้อมูลอยู่ในระดับดีมาก (ORadj= 3.63, 95%CI : 1.82 to 7.26 ; p-value<0.001)

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

กรมกิจการผู้สูงอายุกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย URL:https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/1752. 2565.

ปราโมทย์ ประสาทกุลและคณะ. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564. : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, 2565.

กองยุทธศาสตร์และสารสนเทศที่อยู่อาศัย. รายงานข้อมูลประชากรและบ้านปี 2565 .กองยุทธศาสตร์และ สารสนเทศที่อยู่อาศัย. ฝ่ายวิชาการและพัฒนานวัตกรรมเพื่อที่อยู่อาศัย การเคหะแห่งชาติ. ข้อมูล ณ เดือน มกราคม 2566.

สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์, กลไก นโยบาย และบทบาทของส่วนต่างๆ ในสังคม เกี่ยวกับการพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ. Mind the gap สู่ความเป็นธรรมด้านสุขภาพ ในศตวรรษที่ 21 ปฏิรูปสู่สิ่งที่ดีกว่า เพื่อเราทุกคน. กระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 2. 2564.

จิรวัฒน์ เชี่ยวชาญ. การเตรียมความพร้อมในการดำเนินชีวิตในวัยสูงอายุของข้าราชการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดอุทัยธานี. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 2564; 4(2), 50-66.

ดลนภา ไชยสมบัติ และบัวบาน ยะนา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุของประชากรวัยก่อนสูงอายุ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 2562; 29(3), 131-143.

สำนักงานก.พ. กำลังคนภาครัฐข้าราชการพลเรือนสามัญ 2563. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำนักงาน ก.พ. ปี2564.

สหกรณ์สาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี. วาระการประชุมสหกรณ์สหกรณ์สาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี ครั้ง ที่ 1 ปี2565.

เกรียงศักดิ์ ยศพิมพ์ และอู่ทอง นามวงษ์. การเตรียมความพร้อมสู่วัยสูงอายุของบุคลากรด้านสุขภาพในจังหวัดเลย. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก, 2562; 6(2) :32.

วชากร นพนรินทร์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้สูงวัยอย่างมีคุณภาพของประชาชน ในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร. ปี 2563.

กรมสนับสุนบริการสุขภาพ. ระบบการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุ. กองสุขศึกษากรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.ปี 2564.

Hsieh FY, Bloch DA, Larsen MD. A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Stat Med. 1998;17(14):1623-34.

Best, John W. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice Hall,Inc. 1977

วรรณรา ชื่นวัฒนา, ชูชีพ เบียดนอก. การรับรูและการเตรียมตัวเพื่อการเข้าสู่วัยสูงอายุของประชากรไทยก่อนวัยสูงอายุ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี พ.ศ.2555; 2: 197 – 208.

ชนัญญา ปัญจพล. การเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุ : กรณีศึกษาสำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข (ส่วนกลาง). คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2558. ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. พ.ศ. 2558.

ชัชวาลย์ เพ็ชรกอง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพของแกนนาชมรมผู้สูงอายุ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี. กลุ่มพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพวัยสูงอายุ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี. 2562.

ศุภพิชญ์ ญาณโสภณ. พฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มวัยก่อนสูงอายุ (Pre-aging) ในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ของเขตสุขภาพที่ 2. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 2564; 17(3), 56-68.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิงและดวงเนตร ธรรมกุล. การเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในประชากรผู้สูงวัย.วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 2558; 9(2), 1-8.