อาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง ของผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อโควิด-19 ในตำบลครึ่ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

สาวิตตรี เติกคำ
ทวีวรรณ ศรีสุขคำ

บทคัดย่อ

การวิจัยภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อโควิด-19 ในตำบลครึ่ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อโควิด-19 อายุ 18 ปีขึ้นไปจำนวน 265 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ซึ่งเก็บรวบรวมระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2565-31 มกราคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานไคว์สแคว์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียรแมน


                ผลศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อยู่ในกลุ่มอายุ 49 ปี มีสถานภาพสมรส
จบการศึกษาระดับการศึกษาชั้นประถมศึกษา มีรายได้เฉลี่ย 6,288.17 บาท ส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัว
และไม่เคยมีประวัติผ่าตัด โดยพบอาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19 ร้อยละ 59.6 อาการที่พบมากที่สุด
ได้แก่ เหนื่อยง่าย และพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ระดับการศึกษา (p-value < 0.05)  การรับรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพตนเอง (r=0.652) ทัศนคติในการดูแลสุขภาพตนเอง (r=0.623) การเข้าถึงบริการสาธารณสุข (r=0.630) แรงสนับสนุนทางสังคม (r=0.597)  ความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคติดเชื้อโควิด-19 (r=0.632) ) ข้อค้นพบจากการศึกษา หน่วยงานด้านสาธารณสุขควรนำผลการวิจัยไปใช้ในการกำหนดมาตรการส่งเสริมและการดูแลสุขภาพสำหรับของผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อโควิด-19

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

กรมอนามัย. สรุปสถิติทั่วโลก รายงานสถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลก [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://covid19.anamai.moph.go.th/th/

ปรียวัจน์ ฤทธิรัศมี. ประสิทธิผลโปรแกรมพัฒนาทักษะในการใช้ชุดตรวจการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยตนเอง ต่อความรู้ ความมั่นใจ และขั้นปฏิบัติในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก. 2565; 9(3): 36-49.

กระทรวงสาธารณสุข. จำนวนประชากรที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทั่วประเทศ [อินเตอร์เน็ต]. 2565

[สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย. สถานการณ์ โควิด-19 เชียงราย [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก http://61.19.32.29/covid19cr/web/index.php

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเชียงของ. สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อำเภอเชียงของ. [ข้อมูล ณ วันที่ 20 กรกฎาคม 2565].

สิทธิชัย ตันติภาสวศิน. The Long COVID. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี, 2565; 47(1): 1-2.

Elisabeth Mahase. What do we know about “long covid”? [Internet]. 2020 [cited 2020 August 12]. https://www.bmj.com/content/370/bmj.m2815.long

นัชชา ยันติ และธธิธา เวียงปฏิ. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาด

ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 2565; 17(1): 57-70.

Wayne W., D. Biostatistics a foundation for analysis in the health sciences. 6 th ed. John Wiley&Sons: 1995. 177-178.

พีรฉัตย์ แจขจัด, ทวีวรรณ ศรีสุขคำ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลต้า อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย. วารสารโรคและภัยสุขภาพสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์. 2565; 16(3): 80-94.

มณฑิรา ชาญณรงค์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการหลงเหลือภายหลังจําหน่ายออกจากโรงพยาบาลของผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล. 2565; 28(1): 1-16

กรมควบคุมโรค. ภาวะลองโควิด[อินเตอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=20647&deptcode=brc&fbclid=IwAR0VK4-O6gu1YU_MJbUsr91KlGnoOqfVHpofYiqPMn0ftFR0t1j26qSOWUM

พงศธร ศิลาเงิน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง ของผู้สูงอายุในจังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2560.

Best JW. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall Inc; 1977.

นันทนา พลที. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองเปรง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา. 2561.

Duong T.V.; Aringazina, A.; Baisunova, G.; Nurjanah, N.; Pham, T.V.; Pham, K.M.; Truong, T.Q.; Nguyen, K.T.; Oo, W.M.; Su, T.T.; et al. Development and validation of a new short- form health literacy instrument (HLS-SF12) for the general public in six Asian countries. Health Lit. Res.

Pract. 2019;3(2):91-102.

หาบีบะ ดาตู. การใช้ ปัญหาและความต้องการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ของคณาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. วิทยานิพนธ์ปริญญาปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2558.

ภัสส์ศา นวนขนาย. ความสัมพันธ์ระหว่างขีดความสามารถหลักและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

ของพนักงาน บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์โบรคเกอร์ จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีปทุม; 2558.

ศุภโชค ก่อวิวัฒน์สกุ. ผลกระทบระยะยาวของ COVID-19 ภายหลังการรักษาในโรงพยาบาล ในจังหวัดสงขลา. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2566; 8(1): 18-27.

มณฑิรา ชาญณรงค์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการหลงเหลือภายหลังจําหน่ายออกจากโรงพยาบาลของผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล. 2565; 28(1): 1-16.

วรรณศิริ นิลเนตร และวาสนา เรืองจุติโพธิ์พาน. ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับวิชาชีพพยาบาล. วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย. 2562; 15(2): 1-18.

สุขประเสริฐ ทับสี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในอำเภอ

แก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. 2563; 3(1):

-30.

นันธินีย์ วังนันท์, วสันต์ชาย สุรมาตย์, นัยนา สุแพง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในชุมชนเมือง. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย. 2562; 9(2): 55-63.

กฤตยา แสวงทรัพย์, เอื้อญาติ ชูชื่น. การรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา

สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2562; 11(22): 1-12.

จารุณี กันธุ. ปัจจัยทํานายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุตําบลนางั่ว อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก. 2565; 9(3): 19-35.

โชฐิรส พลไชยมาตย์, เสน่ห์ แสงเงิน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในชมรมผู้สูงอายุตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารสหวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 2562; 3(1): 65-70.

เบญจมาพร อาดัมเจริญ, วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมป้องกันโรคโควิด 19 ในยุคชีวิตวิถีใหม่ของกลุ่มวัยทำงานในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารพยาบาล. 2565; 7(13): 27-35.

สุสุวิดา ลิ่มเริ่มสกุล, จงจิต เสน่หา, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, ปฏิณัฐ บูรณะทรัพย์ขจร. ผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลศาสตร์. 2565; 40(1): 84-98.

สุพัตรา เชาว์ไวย, กิตติพงษ์ พลทิพย์, วิราพร สืบสุนทร, จิรวรรณ ชาประดิษฐ์, ชุมศรี ต้นเกตุ. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง ระยะที่ 1-2. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2566; 38(1): 11-20.