ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนตำบลเมืองเก่า จังหวัดสุโขทัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และทัศนคติที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชน ประชากรคือ ประชาชนที่มีอายุ 20-59 ปี มีชื่อตามทะเบียนบ้านเขตตำบลเมืองเก่า จังหวัดสุโขทัย จำนวน 3,605 คน โดยใช้สูตรการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Daniel เท่ากับ 125 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 คุณลักษณะส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 ความรู้โรคไข้เลือดออก ส่วนที่ 3 ทัศนคติการป้องกันโรค ส่วนที่ 4 พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และนำไปทดลองใช้เพื่อวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ 0.824 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ความรู้โรคไข้เลือดออกมีค่าเฉลี่ยในระดับปานกลาง (76.80%) ทัศนคติการป้องกันโรคมีค่าเฉลี่ยในระดับสูง (89.60%) และพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก มีค่าเฉลี่ยในระดับสูง (91.40%) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชน ประกอบด้วย ความรู้โรคไข้เลือดออก (r=0.237, P-value=0.008) ทัศนคติการป้องกันโรค (r=0.302,
P-value=0.001) ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
Hammon WM., Rudnik A., Sather GE. Viruses associated with epidemic
hemorrhagic fever of the Philippines and Thailand. Science. 1960; 131(11): 3.
กระทรวงสาธารณสุข. Health Data Center. [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2563]. เข้าถึงได้จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page.php, 2562.
สำนักระบาดวิทยา. รายงานการพยากรณ์โรค “ไข้เลือดออก”. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. 2562.
พรนภา ดาววนา, อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ, พุฒิพงษ์ มากมาย. ความรู้และทัศนคติที่มีความสัมพันธ์กับการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเขตตำบลป่าแฝก จังหวัดสุโขทัย. วารสารสืบเนื่อง การประชุมวิชาการระดับชาติ “นอร์ทเทิร์นวิจัย” ครั้งที่ 6 “นวัตกรรมเพื่อสุขภาพ ด้วยสมุนไพร”. วันที่ 28 พฤษภาคม 2563. เอกสารอัดสำเนา: 1470-1478.
Bloom, BenjaminS., et al. Hand book on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill Book Company. 1971.
Daniel W.W. Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences. (9th ed). New York: John Wiley & Sons. 2010.
Best, John W. Research is Evaluation. (3rded). Englewood Cliffs: N.J. Prentice-
Hall. 1977.
Cronbach, Lee J. Essentials of Psychological Testing. 3rd ed. New York: Harper. 1951.
กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. รายงานการพยากรณ์โรค “ไข้เลือดออก”. กรุงเทพฯ. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. 2562.
Green, L.W., Kreuter, M.W. Health Promotion Planning: An Educational and Environment Approach. California: Mayfield Publishing. 1991.
Ajzen, I., Fishbein, M. Understanding attitudes and predicting social behavior.
Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall. 1980.
วีระ กองสนั่น, อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเขตตำบลหนองใหญ่ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน. 2563; 3(1): 35-44.
Thurstone, L.L. Reading in Attitude Theory and Measurement. New York: John Wiley and Sons, Inc. 1970.
พรพรรณ สมินทร์ปัญญา, อำไพวรรณ ทุมแสน, สุภัจฉรี มะกรครรภ์. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน บ้านคั่นตะเคียน ตำบลมิตรภาพ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. 2560; 18(35): 37-51.