ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมลดภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในพื้นที่ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมลดภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในพื้นที่ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ประชากรคือ ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ขึ้นทะเบียนรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลย่านมัทรี จำนวน 1,025 คน โดยใช้สูตรการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Daniel เท่ากับ 300 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วย 6 ส่วน ได้แก่ คุณลักษณะส่วนบุคคล ความรู้โรคซึมเศร้า การรับรู้ด้านสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคม การเข้าถึงข้อมูลทรัพยากรและพฤติกรรมการป้องกันภาวะซึมเศร้า แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และนำไปทดลองใช้เพื่อวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมลดภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในพื้นที่ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ (r=-0.245, p-value<0.001) สถานภาพสมรส (r=-0.200, p-value=0.001) การศึกษาสูงสุด (r=0.219, p-value<0.001) รายได้ครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือน (r=0.232, p-value<0.001) ความรู้ (r=0.216, p-value<0.001) การรับรู้ด้านสุขภาพ (r=0.364, p-value<0.001) แรงสนับสนุนทางสังคม
(r=0.217, p-value<0.001) และการเข้าถึงข้อมูลทรัพยากร (r=0.195, p-value=0.001) ตามลำดับ ผลการศึกษานี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคเรื้อรังในพื้นที่
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
เอกสารอ้างอิง
World Health Organization. Suicide data. [Internet]. 2006. [cited 2020 Mar 1].
Available from: URL:WWW.http://www.who.int/mental_health/prevention/suicide/suicideprevent/en/
กรมสุขภาพจิต. รายงานประจําปี กรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2561.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ. คู่มือการดูแลสุขภาพจิตสำหรับ
ผู้ป่วยและครอบครัว. (พิมพ์ครั้งที่ 1). นครสวรรค์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์. 2563.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. รายงานอัตราฆ่าตัวตายต่อประชากรแสนคน แยกตามจังหวัด ประจำปี พ.ศ.2562. [อินเตอร์เน็ต]. 2562. [สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2563]. จาก:
URL: https://www.dmh.go.th/report/suicide/stat_prov.asp.
สุรชัย เฉนียง, ปาริชาติ เมืองขวา, กมลนัทธ์ คล่องดี. รูปแบบการป้องกันภาวะซึมเศร้าตามความ
ต้องการของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลตำรวจ 2564; 13(2): 397-407.
Daniel W.W. Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences.
(9thed). New York: John Wiley & Sons; 2010.
Bloom, B.S. Taxonomt of Education. David McKay Company Inc., New York.
Best, John W. Research is Evaluation. (3rded). Englewod cliffs: N.J. Prentice Hall; 1977.
Cronbach. Essentials of Psychological Testing. New York: Harper and Row; 1997.
Becker, Marshall H. The Health Belief Model and Preventive Behavior. Health
Education Monographs; 1974.
นพมาศ โกศล. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. ของกลุ่มวัยทำงานสำหรับ
หมู่บ้านจัดการสุขภาพ. ค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2563. จากการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 10. 2561.
สรร กลิ่นวิชิต. การประเมินภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังในชุมชน เทศบาลเมือง
แสนสุข จังหวัดชลบุรี. [อินเตอร์เน็ต]. 2558. [สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2563]. จาก:
http://library.christian.ac.th/thesis/document/T033098.pdf.
ดรุณี ชุณหะวัต. การดูแลผู้ป่วยเรื้อรังแบบมีส่วนร่วม : มิตรภาพบำบัด. ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี. 2549.
รินทร์หทัย กิตติ์ธนารุจน์, รัชนีกร ทบประดิษฐ์. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มาใช้บริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลของตำบลสระตะเคียน อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2562; 7(1): 69-80.
Green, L.W., Kreuter, M.W. Health Promotion Planning: An Educational and
Environment Approach. California: Mayfield Publishing. 1991.
Ajzen, I., Fishbein, M. Understanding attitudes and predicting social behavior.
Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall. 1980.
Rosenstock. History origins of the health belief model: Health Education Monograph.
สุภาวดี ศรีรัตนประพันธ์. ความชุกของภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าใน
ผู้ป่วยเบาหวานที่มารักษา ในโรงพยาบาลละหานทราย อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์โรงพยาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรมย์ 2561; 33(3): 249-64.
พรชัย จูลเมตต์. ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง.วารสารเครือข่าย
วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2560; 4(3): 182-190.