รูปแบบการควบคุมป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชน จังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

สมบัติ ทั่งทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบผสมผสานครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัญหาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชน จังหวัดฉะเชิงเทรา 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเสี่ยงในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 3) สร้างรูปแบบการควบคุมป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 4) ประเมินรูปแบบการควบคุมป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบประเมินปัญหาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  สถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน t-test  paired-


t- test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


                   ผลการศึกษาพบว่า สภาพปัญหา ส่วนใหญ่ มีความเสี่ยงในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 42.4 ระดับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อยู่ในระดับไม่ดี ร้อยละ 18.2 ตัวแปรที่มีอิทธิพลกับความเสี่ยง ได้แก่ เพศ อายุเฉลี่ย การศึกษาสูงสุด สถานภาพสมรส อาชีพหลัก รายได้ สภาพการใช้จ่ายของครอบครัวในแต่ละเดือน การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของบุคคลรอบข้างและพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 รูปแบบการควบคุมป้องกัน ได้แก่ การค้นหาแกนนำหลักที่สำคัญ พระสงฆ์ ผู้ใหญ่บ้าน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบล วัสดุอุปกรณ์/งบประมาณ สามารถพึ่งตนเองและขอสนับสนุนกับภาคีเครือข่าย กิจกรรมที่สำคัญ ได้แก่ กำหนดกติกาชุมชน งดเหล้าเข้าพรรษา หมู่บ้านศีล 5 ชมรมคนหัวใจเพชร งานศพงานบุญงดเหล้า เชิดชูคนหัวใจเพชร การสื่อสารบอกกล่าวและติดตามเป็นประจำพูดทุกเวที หอกระจายข่าว กีฬาต้านยาเสพติด เศรษฐกิจพอเพียง การค้นหาภาคีเครือข่ายที่สำคัญ ได้แก่ คณะกรรมการหมู่บ้าน กำนัน ข้าราชการบำนาญ ครอบครัว เด็กและเยาวชน ปราชญ์ชาวบ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำรวจ ชุดรักษาความสงบในชุมชน องค์กรบริหารส่วนตำบล
ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้าระดับจังหวัด เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบล ผลการประเมินพบว่า กลุ่มทดลองหลังจากดำเนินการมีคะแนนเฉลี่ยความเสี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ดีขึ้นกว่าก่อนดำเนินการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

ช่อแก้ว ร่มสุขและขจรวรรณ อิฐรัตน์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของวัยรุ่น เขตเทศบาล เมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิทยาการสมัยใหม่ 2555;5(1): 12-25.

กระทรวงสาธารณสุข. การควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับชาติในระยะ ที่ 2 พ.ศ. 2564 – 2570

[อินเทอร์เน็ต].2564(เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2564) เข้าถึงได้จาก https://www.dmh.go.th /news-dmh › view

ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา. สถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของภาคกลาง.2560. น. 126-189.

สาวิตรี อัษณางค์กรชัย.รายงานสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ในสังคมไทย ปี 2560.

น. 210-266. 2562

กษิฐา ไทยกล้า. การเข้าถึงจุดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย. [อินเทอร์เน็ต]. 2563. (เข้าถึง

วันที่20 สิงหาคม 2563) เข้าถึงได้จาก: http://cas.or.th/cas/wp- - 13 -content/uploads/2019/07/86.61-

AC-0025.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดฉะเชิงเทรา. สรุปรายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. น.56-58.2562

กระทรวงสาธารณสุข. รายงานข้อมูลสุขภาพ พ.ศ.2563 . น.45-56. 2563

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดฉะเชิงเทรา. รายงานการประชุมคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่ม

แอลกอฮอล์และผลิตภัณฑ์ยาสูบ จังหวัดฉะเชิงเทรา พ.ศ.2561.น.56-77. 2561.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. Determining sample size for research activities. Educational

and Psychological Measurement, 30: pp. 607–610. 1970.

สมพงษ์ จันทร์ขอนแก่น. การพัฒนารูปแบบการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชน

ในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี กรณีศึกษา: อำเภอธาตุ

พนม จังหวัดนครพนม. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2560; 24(3): 13-21.

สมาน ฟูตระกูล และสุประภา จักษุดุล. โครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบในการควบคุมลด ละ เลิกการ

บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สรุปผลการเรียนรู้ เพชรบูรณ์. 2553. น.45-67. 2563

Abigail A. Fagan and el. Engaging Communities to Prevent Under Age Drinking. Alcohol Research & Health, 2011. 34(2), 245-269.

Richard A. Brown and el. Aerobic Exercise for Alcohol Recovery: Rationale, Program Description and Preliminary Findings Behavior Modify. 2009. 33(2): 220–249.

กฤษณ์ ขุนลึกและคณะ. รูปแบบการส่งเสริมการปฏิบัติตามมาตรการควบคุมเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์

ของผู้จำหน่าย ในจังหวัดหนองคาย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2556; 7(3): 24-34.

พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์.การจัดการการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา บ้านโคกไคร จังหวัด

พังงา. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 2557. 7(3): 36-49.

Green, Lawrence W., and el. Health Education Planning: A Diagnostic Approach. California

Mayfield Publishing Company.24: pp. 306.1980.