การศึกษาบทบาทการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดแพร่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาบทบาทการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จังหวัดแพร่ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพในกลุ่ม อสม. บุคลากรสาธารณสุข ประชาชนกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มผู้ติดเชื้อ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงอนุมาน และการวิเคราะห์การถดถอยลอจิสติกพหุคูณวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพในประเด็นกระบวนการดำเนินงาน ปัจจัยความสำเร็จ ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ
ผลการศึกษาพบว่า อสม. มีบทบาทในการค้นหาและคัดกรองกลุ่มเสี่ยงสูงสุด ร้อยละ 97.6 รองลงมาคือ แนะนำให้ประชาชนไปฉีดวัคซีนป้องกันโรค ร้อยละ 96.0 เคาะประตูเยี่ยมบ้านเพื่อติดตามสังเกตอาการ ร้อยละ 95.5 บันทึกและรายงานผลการดำเนินงาน ร้อยละ 95.5 บทบาทที่รับผิดชอบน้อยที่สุดคือ ติดตามดูแลผู้กักตัวที่บ้านหรือศูนย์แยกกักในชุมชน ร้อยละ 77.1 ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ คือ บทบาทหน้าที่รับผิดชอบ (p < .001) ระยะเวลาการเป็น อสม. (p < .001) อาชีพ (p < .05) และการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข (p < .05) จากการสนทนากลุ่มและสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่า ปัจจัยที่ทำให้ประสบผลสำเร็จคือ ความมุ่งมั่นในหน้าที่ จิตอาสา ความตั้งใจ เสียสละ การสนับสนุนจากหน่วยงานภาคีเครือข่าย ปัญหาอุปสรรคที่พบคือ วัสดุอุปกรณ์ไม่เพียงพอไม่มีคุณภาพ และการมีส่วนร่วมของประชาชน ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายคือ การสนับสนุนองค์ความรู้ แนวทางการดำเนินงาน วัสดุอุปกรณ์ที่เพียงพอ การบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และการบูรณาการการทํางานแบบมีส่วนร่วมของเครือข่าย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
World Health Organization. Infection prevention and control during health care when coronavirus disease (COVID-19) is suspected or confirmed: interim guidance. Retrieved July 8, 2020, from https://www.who.int/publications/i/item/WHO-2019- nCoVIPC-2020.4
ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค. สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [อินเตอร์เน็ต] . นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; [เข้าถึงเมื่อ 30 ตุลาคม 2564], เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th
กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการเฝ้าระวังและสอบสวนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. เอกสารประกอบการประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน Covid_19 ; 5 มีนาคม 2563; กระทรวงสาธารณสุข.นนทบุรี ; 2563.
ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์และสาธารณสุข. คู่มือมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID_19). [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; [เข้าถึงเมื่อ 30 ตุลาคม 2564], เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th
กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง. ระบบบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม.[อินเตอร์เน็ต].กรุงเทพฯ : กรมบัญชีกลาง ; [เข้าถึงเมื่อ 21 สิงหาคม 2564] เข้าถึงได้จาก https://govwelfare.cgd.go.th/welfare/home
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการปฏิบัติสำหรับ อสม.ในการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด_19). เอกสารประกอบการประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน Covid-19 ; 5 มีนาคม 2563; กระทรวงสาธารณสุข.นนทบุรี ; 2563.
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทาง อสม.เคาะประตูบ้านต้านโควิด_19. [อินเตอร์เน็ต] .นนทบุรี : กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 21สิงหาคม 2564] เข้าถึงได้จาก http://phcn.hss.moph.go.th/fileupload_doc/2021-2021-02-25-7-21-3527481.pdf
กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. คู่มือ อสม.หมอประจำบ้าน [อินเตอร์เน็ต] .นนทบุรี : กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 21สิงหาคม 2564] เข้าถึงได้จาก http://phc..moph.go.th/_hss/data_center/
Dyn_mod/OSM_Doctor.pdf
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. แนวทางการปฏิบัติงานสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชน [อินเตอร์เน็ต] .นนทบุรี : กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 21สิงหาคม 2564] ] เข้าถึงได้จากhttp://phcn.hss.moph.go.th/fileupload_doc/2021-2021-02-25-7-21-3527481.pdf
ปรียวัจน์ ฤทธิรัศมี. ประสิทธิผลโปรแกรมพัฒนาทักษะการใช้ชุดตรวจการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยตนเองต่อความรู้ ความมั่นใจและขั้นตอนการปฏิบัติในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย.วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก ปีที่ 9 ; ฉบับที่ 3 กันยายน- ธันวาคม 2565: หน้า 36-49.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น.พิมพ์ครั้งที่ 9 กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น; 2535. หน้า 38
ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง, จิราพร วรวงศ์,เพ็ญนภา ศรีหริ่ง,รัตน์ดาวรรณ คลังกลาง,จุฬารัตน์ ห้าวหาญ, ดิษฐพล ใจซื่อ,และคณะ. การถอดบทเรียนรูปแบบการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันและควบคุม โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID_19) ในชุมชน ของอาสาสมัครสาธารณสุข ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย.นนทบุรี: สถาบันบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข/สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส) ; 2564.หน้า 37-41.
กิตติพร เนาว์สุวรรณ,นภชา สิงห์วีรธรรม, พยงค์ เทพอักษร. ความสำเร็จในการดำเนินงานควบคุมโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID_19) ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ประเทศไทย.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ [อินเตอร์เน็ต] . ปีที่ 7 ; ฉบับที่ 2 เดือน พฤษภาคม- สิงหาคม 2563. [เข้าถึงเมื่อ 21สิงหาคม 2564]; เข้าถึงได้จาก https:// https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/242083/164646: หน้า ก-จ.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York : Harper Collins. Publishers .( pp.202-204). From http://thesis.rru.ac.th/files/pdf
เอื้อมพร หลินเจริญ. เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ.วารสารวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม [อินเตอร์เน็ต]. ปีที่ 17 ; ฉบับที่ 1 เดือน กรกฎาคม 2555 . [เข้าถึงเมื่อ 21สิงหาคม 2564]; เข้าถึงได้จาก http:www.cmruir.cmru.ac.th>Bibiliography. หน้า 17-29.
Krassanairawiwong, T., Suvannit, C., Pongpirul, K., & Tungsanga, K. Roles of subdistrict health office personnel and village health volunteers in Thailand during the COVID-19 pandemic. BMJ Case Reports CP. 2021; 14(9): e244765 al
Tejativaddhana, P., Suriyawongpaisal, W., Kasemsup, V., & Suksaroj, T. The roles of village health volunteers: COVID-19 prevention and control in Thailand. Asia Pacific Journal of Health Management. 2020;15(3):18-22.
Parajuli, S. B., Shrestha, S., Sah, A., Heera, K. C., Amgain, K., & Pyakurel, P. Role of female community health volunteers for prevention and control of COVID-19 in Nepal. Journal of Karnali Academy of Health Sciences. 2020 ;3(1): 1-6
สุดารัตน์ หล่อเพชร.ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานตามบทบาท ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในงานสุขภาพภาคประชาชน. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี/เพชรบุรี.[อินเตอร์เน็ต].2554 [เข้าถึงเมื่อ 5 พฤษภาคม 2566] เข้าถึงได้จาก : https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail
ปรางค์ จักรไชย, อภิชัย คุณีพงษ์, วรเดช ช้างแก้ว.ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในทีมหมอครอบครัว จังหวัดปทุมธานี.วารสารพยาบาลสาธารณสุข[อินเตอร์เน็ต]. ปีที่ 31 ; ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม- เมษายน 2560 . [เข้าถึงเมื่อ 5 พฤษภาคม 25664]; เข้าถึงได้https://nursing.iserl.org/bcnr/index.php/researcher/profile/rs_popup/6353.หน้า 15-23
ชื่อวารสาร Journal of Public Health Nursing , 31(1), 15-23
วิชัย ศิริวรวัจนชัย.ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทของ อสม.ในการฝ้าระวังและป้องกันโรค โควิด 19 อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน.มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร [อินเตอร์เน็ต].ปีที่ 4; ฉบับที่ 2 มกราคม - มิถุนายน 2564 [เข้าถึงเมื่อ 20 มกราคม 2566]; เข้าถึงได้จาก https:// https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/242083/164646:หน้า 63-75.