ความชุกของภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา และระดับน้ำตาลสะสมในเลือดที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ none

Main Article Content

กรกัญจน์ จิตโศภิษฐ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยภาคตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา และเปรียบเทียบระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c) ของผู้ป่วยโรคเบาหวานระหว่างกลุ่มที่มีภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตากับกลุ่มที่ไม่มีภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการในโรงพยาบาลสันป่าตอง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 จำนวน 362 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c)ในผู้ป่วยที่มีภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตากับผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา โดยสถิติ Binary logistic regression


                ผลการศึกษาพบว่า ความชุกของภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ร้อยละ 9.1  โดยส่วนใหญ่พบเป็นระยะ mild NPDR ร้อยละ 5.5 รองลงมาคือ ระยะ moderate NPDR ร้อยละ 2.8 ระยะ severe NPDR ร้อยละ 0.6 และพบน้อยที่สุด คือ ระยะ PDR ร้อยละ 0.3 และความสัมพันธ์ของระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c) กับการเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในกลุ่มผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c) ≥ 7% จะมีโอกาสเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาเป็น 3.86 เท่าของกลุ่มผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c) < 7% (AOR 3.86, 95%CI 1.52 – 9.75, p-value 0.004)


                สรุปและข้อเสนอแนะ ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c) สูงมีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา และความชุกของภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวานของโรงพยาบาลสันป่าตอง เท่ากับร้อยละ 9.1 ดังนั้นผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่มีระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c) สูงควรได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนเบาหวานขึ้นจอประสาทตาทุกราย และผู้ป่วยโรคเบาหวานจะต้องควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆ โดยเฉพาะการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูง เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา เช่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร เลี่ยงการรับประทานมื้อใดมื้อหนึ่งมากเกินไป การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

International Diabetes Federation. IDF Diabetes Atlas.10th ed. Brussels: Belgium;2021.

Rawdaree P, Ngarmukos C, Deerochana- wong C, et al. Thailand diabetes registry (TDR) project :clinical status and long-term vascular complications in diabetic patients. J Med Assoc Thai. 2006;89(Supple1):S1-9.

สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ชุด โครงการวิจัยภาวะแทรกซ้อนทางคลินิกในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 พ.ศ. 2554 (Clinical Complication in Type 2 Diabetic Patients). กรุงเทพฯ: สานักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2554.

Yiling J, Cheng Edward W, Linda S. Geiss et al.Association of A1C and Fasting Plasma Glucose level with diabetic retinopathy Prevalence in the U.S. Population. Diabetes Care. 2009;32(11):2027-32.

Daniel W. Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences. 9thedition. New York: John Wiley & SONS; 2010.

จุรีพร คงประเสริฐ, สุมนี วัชรสินธุ์, และธิดารัตน์ อภิญญา (บ.ก.). (2558). แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคเบาหวานเข้าจอประสาทตา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ธนวัฒน์ คงธรรม. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 : ที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2563;35(1):13-25.

ณัฐพงศ์ เมฆาสิงหรักษ์, สิรินันท์ ตรียะเวชกุล, จีราวัฒน์ สวัสวิทยะยง, หญิง สุพัฒนวงศ์, ปณตศม เง่า ยุธากร, อรณิชา พิมพะและคณะ.ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของภาวะเบาหวานขึ้นจอตาจากเบาหวานชนิด ที่ 2 ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล 6 แห่งในเครือข่ายโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2558;23(3):35-45.

เด่นชัย ตั้งมโนกุล. ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 หน่วยตรวจเวชปฏิบัติครอบครัว โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรี สะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2561:33(3):225-36.

นิภาพร พวงมี, กรรณิการ์ คําเตียม, สุภเลิศ ประคุณหังสิต. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของภาวะเบาหวาน ขึ้นจอตาในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หน่วยตรวจโรคจักษุโรงพยาบาลศิริราช. ธรรมศาสตร์เวชสาร 2560;17(3):336-45.

United Kingdom Prospective Diabetes Study (UKPDS) Group. Intensive blood glucose control with sulphonylureas or insulin compared with conventional treatment and risk of complications in patients

with type 2 diabetes (UKPDS 33). Lancet. 1998;352:837-53.

United Kingdom Prospective Diabetes Study (UKPDS) Group. Effect of intensive blood glucose control with metformin on complications in overweight patients with type 2 diabetes (UKPDS34) Lancet. 1998;352:854-65.

Chatziralli et al. Risk factors associated with diabetic retinopathy in patients with diabetes mellitus type 2. BMC Research Notes 2010; 3:153.

AL.Ramadhan. Glycemic control (HbA1C) in patients with diabetic retinopathy. Thi-Qar Medical Journal 2011;5:3:103-8.

เด่นชัย ตั้งมโนกุล. ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 หน่วยตรวจเวชปฏิบัติครอบครัว โรงพยาบาล สรรพสิทธิประสงค์.วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2561:33(3):225-36.

วรัทพร จันทร์ลลิต. ภาวะแทรกซ้อนทางตาจากโรคเบาหวาน.วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2559;23(2):36-45.

ขวัญเรือน วรเตชะ.ปัจจัยทางเมตะบอลิกที่มีผลต่อภาวะจอประสาทตาเสื่อมของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลเพชรบูรณ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2555;3:10-23.