การถอดบทเรียนการบริหารจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ในการรับมือโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภายใต้แนวคิด 6 องค์ประกอบของระบบสุขภาพ: กรณีศึกษาอำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย

Main Article Content

ปองพล วรปาณิ
พิษณุพร สายคำทอน
ณัฐพงษ์ เฮียงกุล
สุพัตรา จันทร์แก้ว
สุภาภรณ์ วงธิ
ยุทธนา แยบคาย

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียนการบริหารจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขในการรับมือโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภายใต้แนวคิด 6 องค์ประกอบของระบบสุขภาพ: กรณีศึกษาอำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักคือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของโรงพยาบาล จำนวน 7 คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ จำนวน 7 คน ผู้นำท้องที่หรือผู้นำท้องถิ่น จำนวน 2 คน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 6 คน ได้จากคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบกรณีหลากหลาย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มร่วมกับการสังเกต ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2565 และวันที่ 9 มิถุนายน 2565 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้วยการตรวจสอบแบบสามเส้า ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการบริหารจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขในการรับมือโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภายใต้ระบบสุขภาพระดับอำเภอโดยกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ได้แก่ การบริการสุขภาพ กำลังคนด้านสุขภาพ ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ การเข้าถึงยาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็น การเงินการคลังด้านสุขภาพ  และภาวะผู้นำและธรรมาภิบาล ซึ่งมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม และรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

World Health Organization. Coronavirus disease (COVID-19) [Internet]. 2021. [cited 2022 Dec 31]. Available from: https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/situation-reports

กรมควบคุมโรค. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) [อินเทอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 31 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย. รายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สุโขทัย: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย; 2565.

พิสิฐ โอ่งเจริญ. ถอดบทเรียน: การบริหารโครงการภาครัฐ (ฉบับทดลอง). กรุงเทพมหานคร: ทูเกเตอร์เอ็ดดูเทนเนอร์; 2560.

World Health Organization. Monitoring the building blocks of health systems: A handbook of indicators and their measurement strategies. Geneva (Switzerland): WHO Document Production Services; 2010.

ปรียวัจน์ ฤทธิรัศมี. ประสิทธิผลโปรแกรมพัฒนาทักษะการใช้ชุดตรวจการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยตนเองต่อความรู้ ความมั่นใจ และขั้นตอนการปฏิบัติในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก. 2565;9(3):36-49.

Miles M B, Huberman AM. Qualitative data analysis: an expanded sourcebook. 2nd ed. Thousand Oaks (CA): SAGE; 1994.

Rovinelli RJ, Hambleton, R. K. On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Tijdschrift voor Onderwijsresearch. 1977; 2(2):49-60.

สำนักบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. การขับเคลื่อนระบบสุขภาพอำเภอ (District Health System: DHS) ฉบับประเทศไทย. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2557.

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ พ.ศ. 2561. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 135, ตอนพิเศษ 54 ง (ลงวันที่ 9 มีนาคม 2561).