ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานพัฒนาระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ของบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

สุรสิทธิ์ เทียมทิพย์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการบริหาร ด้านบริการและด้านวิชาการที่มีผลต่อการปฏิบัติงานพัฒนาระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ประชากรคือ บุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 1,313 คน โดยใช้สูตรการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Daniel เท่ากับ 326 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เก็บข้อมูลระหว่างเดือน กันยายน-ธันวาคม 2655 โดยใช้แบบสอบถาม ได้แก่ 1) คุณลักษณะส่วนบุคคล 2) ด้านการบริหาร 3) ด้านการบริการ 4) ด้านวิชาการและ 5) การปฏิบัติงานการพัฒนาระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และนำไปทดลองใช้เพื่อวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.945 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและ
การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานการพัฒนาระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ระดับการศึกษา
การดำเนินงาน รพ.สต.ติดดาว การบริการตามหลักเวชศาสตร์ครอบครัว การดำเนินงานด้านระบาดวิทยา การดำเนินงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เชื่อมโยงระบบข้อมูลด้วยระบบเทคโนโลยี การพัฒนาระบบส่งต่อ การพัฒนาศักยภาพตามส่วนขาดโดยใช้หลัก CBL การจัดการความรู้ KM การนำเสนอผลงานเวทีวิชาการ ปัจจัยที่สามารถทำนายการปฏิบัติงานการพัฒนาระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ได้แก่ การดำเนินงานด้านระบาดวิทยา (P-value<0.001) การดำเนินงาน รพ.สต.ติดดาว (P-value= 0.004) การดำเนินงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (P-value= 0.004) ระดับการศึกษา (P-value= 0.007) ตามลำดับ สามารถทำนายผลการปฏิบัติงานพัฒนาระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ได้ร้อยละ 14.7 (R2 = 0.147)

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สำนักประสานการพัฒนาโรงพยาบาล

ส่งเสริมสุขภาพตำบล. แนวนโยบายการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. นนทบุรี. กระทรวงสาธารณสุข. 2556.

สำนักบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาปฐม

ภูมิ ทุติยภูมิ และสุขภาพองค์รวม.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. 2556.

สุพัตรา ศรีวนิชชากร, ทัศนีย์ ญาณะ. บทเรียนการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพชุมชน. กรุงเทพฯ:

สหมิตรภาพ พริ๊นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด. 2559.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. สรุปผลการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ 2564. เอกสาร

อัดสำเนา. 2565.

Daniel W.W. Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences (9thed). New York: John Wiley & Sons. 2010.

Best, John W. Research is Evaluation. (3rd ed). Englewod cliffs: N.J. Prentice Hall. 1977.

Cronbach. Essentials of Psychological Testing. New york: Harper and Row. 1997.

สำนักกรรมาธิการ 3 สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. การบริการสุขภาพปฐมภูมิ (Primary Health Care) ของคณะอนุกรรมาธิการศึกษาและติดตามระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิที่มีต่อประชาชน ในคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา. [อินเตอร์เน็ต] 2563 [เข้าถึงเมื่อ 20 ธันวาคม 2565] เข้าถึงได้จาก: https://www.senate.go.th/assets/portals/122/fileups/146/files/รายงานอนุปฐมภูมิ%20 (รวมเล่ม).pdf

นันทินารี คงยืน. ระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิกับมาตรฐานการพัฒนา. วารสารกฎหมายสุขภาพ

และสาธารณสุข 2560; 3(3): 374-387.

มยุรี เข็มทอง. การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ จังหวัดพิจิตร.

วารสารวิจัยและวิชาการสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร 2563; 1(1): 35-48.