ประสิทธิผลรูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพแนวใหม่สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลลับแล

Main Article Content

อำนาจ บุญเครือชู
ปาริชาติ กาญจนพังคะ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดประสิทธิผลรูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพแนวใหม่ และความพึงพอใจต่อการได้รับบริการสร้างเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการสร้างเสริมสุขภาพแนวใหม่ และกลุ่มสร้างเสริมสุขภาพแบบเดิม 45 คน / กลุ่ม โดยเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อายุ 35 ปีขึ้นไป ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ยินดีร่วมมือในการศึกษาครบ 3 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพ แบบสอบถาม และแบบบันทึกข้อมูลการสร้างเสริมสุขภาพ เก็บข้อมูลในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2565 และเดือน มกราคม พ.ศ.2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Chi-square test, Independent t-test และ Paired sample t-test
ผลการศึกษา พบว่า การสร้างเสริมสุขภาพแนวใหม่ ทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมและแต่ละด้าน (ด้านการรับประทานอาหาร การรับประทานยา การออกกำลังกาย การจัดการความเครียด และการควบคุมปัจจัยเสี่ยง) ดีขึ้น มีดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว และระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.01) ทั้งนี้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ได้รับการสร้างเสริมสุขภาพแนวใหม่
มีพฤติกรรมสุขภาพโดยรวม และแต่ละด้านดังกล่าว ดีขึ้น และระดับน้ำตาลในเลือดลดลง มากกว่าการสร้างสุขภาพแบบเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.001) แต่มีดัชนีมวลกาย และเส้นรอบเอวที่ใกล้เคียงกัน ผู้ป่วยโรคเบาหวานพึงพอใจต่อการได้รับบริการสร้างเสริมสุขภาพแนวใหม่ ในระดับมาก ร้อยละ 77.8 และพึงพอใจปานกลาง ร้อยละ 22.2

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

กนกวรรณ พรมชาติ, จรรจา สันตยากร, ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน และปกรณ์ ประจัญบาน. ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนชาวเขาเผ่าม้ง. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2555; 6 (2) : 48-55.

Pender N, Murdaugh C, & Parsons MA. Health promotion in nursing practice (6 ed.). Upper Saddle River NJ: Pearson Education LTD. 2011.

ตนุพล วิรุฬหการุญ. BDMS Wellness Clinic : ศูนย์สุขภาพครบวงจรแห่งแรกในเอเชีย. [อินเตอร์เน็ต] 2561 [เข้าถึงเมื่อ 15 ตุลาคม พ.ศ.2565] เข้าถึงได้จาก: https: / / www.kasikornbank.com / th / personal / the-wisdom / articles / lifestyle / Pages / BDMS-0418.aspx

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. ความหมายของนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ. [อินเทอร์เน็ต] 2563 [เข้าถึงเมื่อ 20 กันยายน พ.ศ.2565] เข้าถึงได้จาก: https: / / www.thaihealth.or.th /

พัชรินทร์ สิรสุนทร, วัชรพล พุทธรักษา และกันตพัฒน์ อนุศักดิ์เสถียร. การโค้ชกับการสื่อสารเชิงสัญญะ เพื่อปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2563; 20 (2) : 82–103.

โรงพยาบาลลับแล. รายงานการป่วยเป็นโรคเบาหวานโรงพยาบาลลับแล. อุตรดิตถ์: โรงพยาบาลลับแล.

อัจฉรา ภักดีพินิจ. การปรึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลักการ Health Coaching. [อินเทอร์เน็ต] 2564 [เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม พ.ศ.2565] เข้าถึงได้จาก: http: / / dental2.anamai.moph.go.th › elderly

ลมัย ชุมแวงวาป และลัฆวี ปิยะบัณฑิตกุล. แนวทางการสร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยชุมชน ตำบลน้ำพอง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2563; 38 (3) : 41-50.

American Diabetes Association. Standards of medical care for patients with diabetes mellitus. Diabetes care 2017; 30 (1): 34-40.

สุปวีณ์ ธนอัศวนนท์, เอกชัย คำลือ, ธาราทิพย์ อุทัศน์, พร้อมพันธ์ คุ้มเนตร, วัชรี ผลมาก. เหตุผลการผิดนัดของผู้ป่วยเบาหวาน คลินิกเบาหวาน. วารสารโรงพยาบาลแพร่ 2557; 19 (2) : 85-95.

จรณิต แก้วกังวาล และประตาป สิงหศิวานนท์. ขนาดกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยทางคลินิก. [อินเทอร์เน็ต] พ.ศ.2565 [เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม พ.ศ.2565] เข้าถึงได้จาก: https: / / rdo.psu.ac.th / ResearchStandards / animal / assets / document / SampleSizes.pdf

ศุภมิตร ปาณธูป. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ผิดนัด. วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2562; 12 (3) : 23-34.

Bloom, B.S. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw–Hill. 1971.

Marquis, B.L. & Huston, C.J. Leadership role and management function in nursing theory and Practice. (4th ed.) . Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins. 2013.

Bennett, H. D., Coleman, E. A., Parry, C., Bodenheimer T., & Chen, E. H. Health coaching for patients. Research on Family Practice Management 2010; 17: 24-29.

Donner, G. J., & Wheeler, M. M. Coaching in nursing: An introduction. International Council of Nurses: Honor Society of Nursing, Sigma Theta Tau International. 2019.

นัยน์ปพร จันทรธิมา. ผลของโปรแกรมการโค้ชต่อการเตรียมพร้อมและภาระของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง. วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลผู้สูงอายุ) มหาวิทยาลัย เชียงใหม่. 2559.

วนิดา สติประเสริฐ. ผลการชี้แนะต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้. วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน มหาวิทยาลัยบูรพา. 2558.

เกวลิน ชื่นเจริญสุข และสมพร เนติรัฐกร. การพัฒนารูปแบบการดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพแนวใหม่สำหรับโรงพยาบาล. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 2563; 16 (3) : 13-22