ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะติดเชื้อในครัวเรือนของประชาชน อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย

Main Article Content

ปิติยาพร รูปทอง
ธีระวุธ ธรรมกุล
พรสวัสดิ์ ศรีสวัสดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม และพฤติกรรมการจัดการขยะติดเชื้อในครัวเรือนของประชาชน และ (2) ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะติดเชื้อในครัวเรือนของประชาชน อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 728 คน ได้จากการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างแบบทราบขนาดประชากรและใช้การสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน เก็บข้อมูลในเดือนกันยายน 2565 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษา (1) ด้านปัจจัยนำพบว่า ความรู้เกี่ยวกับขยะติดเชื้อในครัวเรือนอยู่ในระดับสูง ทัศนคติเกี่ยวกับการจัดการขยะติดเชื้อในครัวเรือนอยู่ในระดับดี การรับรู้ประโยชน์อยู่ในระดับสูง การรับรู้อุปสรรคอยู่ในระดับต่ำ ด้านปัจจัยเอื้อพบว่า ระบบสนับสนุนในการจัดการขยะติดเชื้อในครัวเรือน อยู่ในระดับต่ำ การเข้าถึงระบบจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอยู่ในระดับต่ำ ด้านปัจจัยเสริมพบว่า การรับรู้ข้อมูลข่าวสารอยู่ในระดับต่ำ การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับต่ำ และพฤติกรรมการจัดการขยะติดเชื้อในครัวเรือนอยู่ในระดับพอใช้ และ (2) ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะติดเชื้อในครัวเรือนของประชาชน ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา ฐานะทางการเงิน ประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคโควิด – 19 และโรคติดเชื้ออื่นๆ ทัศนคติเกี่ยวกับการจัดการขยะติดเชื้อในครัวเรือน ระบบสนับสนุนในการจัดการขยะติดเชื้อในครัวเรือน และการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม โดยสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการจัดการขยะติดเชื้อในครัวเรือนของประชาชน ได้ร้อยละ 20.0

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

กฎกระทรวงว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ.2545. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 119, ตอนที่ 86 ก. (ลงวันที่ 5 กันยายน 2545).

สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย.การจัดการขยะติดเชื้อที่เกิดจากการแยกกักตัวที่บ้านและการแยกกักตัวในชุมชน.[อินเทอร์เน็ต].2564 [เข้าถึงเมื่อ 2 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://env.anamai.moph.go.th/th/covid-19/download/?did=205993&id=78367&reload=

กรมควบคุมมลพิษ.คพ. เผยปี 2564 ขยะมูลฝอยลดลง ขยะติดเชื้อและขยะอันตรายเพิ่มขึ้น แนะจัดการอย่างถูกวิธี.[อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 10 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จากhttps://www.pcd.go.th/pcd_news/20802?fbclid=IwAR2K6Yhl0eLDzQK3aV-QttlKmaNjQXQpAj2doYxaXc5uW_FXLYixRVJjOBA

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสวรรคโลก. รายงานข้อมูลครัวเรือนความจำเป็นพื้นฐานระดับตำบล อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย 2564. สุโขทัย:สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสวรรคโลก

กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย.สถานการณ์ COVID – 19 จังหวัดสุโขทัย.[อินเตอร์เน็ต].2564 [เข้าถึงเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก http://www.sukhothai.go.th/covid2019/situationcovid2019/01042565.jpg?fbclid=IwAR2DcQLdnI-1CDAF_TLaCS_mvy-Rfc_uxrmXxXMfHmJmiubgXJXd1-r2HGg

Green, L. W., & Krueter, M. W. Health promotion planning: An educational and environmental apporoach. 1991.C.A:: Mayfield Publishing.

Wayne W., D. Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences (6th ed.). John Wiley&Sons, Inc., 1995;177-178.

กัลยาณี อุปราสิทธิ์ และคณะ.พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของครัวเรือนในเขตเทศบาลตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่.วารสารบัณฑิตวิจัย Journal of Graduate Research 2558;6 (ฉบับที่ 2).163

ประสาท รุจิรัตน์. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะติดเชื้อของบุคลากรโรงพยาบาลวังน้ำเขียว.วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา 2560; 5(ฉบับที่ 2),35

รติรส ตะโกพร. พฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในบ้านเรือน กรณีศึกษา อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี (รายงานการค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยศิลปากร;2558

ศรินทร์ทิพย์ บุญจันทร์. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการคัดแยกขยะของแม่บ้าน ในตำบลบึงพระ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2559

สกุลรัตน์ โทนมี และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชน ตำบลตะเบาะ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ 2563; 13 (ฉบับที่ 2): 32-44

พรสิทธิ์ ศรีสุข และ อภิชิต กองเงิน. การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนแบบการมีส่วนร่วมของ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก 2564; 8 (ฉบับที่ 2): 18-33

ศราวุฒิ ทับผดุง และจักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการลดปริมาณขยะมูลฝอยครัวเรือนในเขต องค์การบริหารส่วนตำบลที่ไม่มีการบริหารจัดการขยะมูลฝอย อำเภอเมือง จังหวัด พิษณุโลก (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2563