ความต้องการบริการสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและทักษะที่จำเป็นของ ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุในระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว

Main Article Content

นงนุช โอบะ
สุวีร์พร สีหอแก้ว
อาริยา นาคศิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความต้องการบริการสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและทักษะที่จำเป็นของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุในระบบการดูแลสุขภาพระยะยาว ดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 : วิเคราะห์ความต้องการบริการสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยศึกษาจากฐานข้อมูลของผู้สูงอายุในระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว  ขั้นตอนที่ 2 : ศึกษาทักษะที่จำเป็นของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่ใช้ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยการสนทนากลุ่มผู้เกี่ยวข้องจำนวน 11 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลทะเบียนผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง แบบบันทึกความต้องการบริการสุขภาพผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง และแนวทางสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยวิเคราะห์จำนวน ร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า โรคที่พบบ่อย 3 โรคของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพาได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง (ร้อยละ  31.15) โรคหลอดเลือดสมอง (ร้อยละ 24.53) และโรคเบาหวาน (ร้อยละ 15.10) ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีความต้องการบริการดูแลสุขภาพ ได้แก่ การช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน การใช้ยา อุปกรณ์ทางการแพทย์ หัตถการทางการพยาบาล และการดูแลระยะสุดท้าย ผลการสนทนากลุ่ม พบว่า การแนะนำการใช้ยาสำหรับผู้สูงอายุ การใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ช่วยฟื้นฟูสภาพ ทักษะการทำแผนการดูแล การประเมินสุขภาพจิต และทักษะการจัดกิจกรรมนันทนาการขณะเยี่ยมบ้าน เป็นทักษะที่จำเป็นของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ ผลการวิเคราะห์นี้ผู้ให้บริการสุขภาพสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระบบการดูแลสุขภาพระยะยาวต่อไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

สำนักงานหลักประกันสุขภาพ. คู่มือระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ (Long Term Care) ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2559. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2558.

ชาลี เอี่ยมมา , รัชนีวัลย์ ปาณธูป. การศึกษารูปแบบการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสาหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงภายใต้หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขตสุขภาพที่ 1. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2563; 13: 128-135.

ยศ วัชระคุปต์ วรรณภา คุณากรวงศ์ พสิษฐ์ พัจนา สาวิณี สุริยันรัตกร. ประสิทธิผลของบริการการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง: กรณีศึกษาจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2561; 12: 608-624.

อรจิตต์ บำรุงสกุลสวัสดิ์ วิมล บ้านพวน วีระพงษ์ เจริญเกตุ เสกสรร กันยาสาย อาทิตย์ วสุรัตน์ ศศิธร ไชยสิทธิพร เพียรพร สันทัด เยาวภา สันติกูล. คู่มือระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ (Long term care) ในระบบหลักประกันสุขภาพปี พ.ศ. 2559. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2559; 22: 63-80.

รัชดาภรณ์ ทองใจสด. การประเมินผลการดำเนินงานระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก 2565; 9:24-36.

วันเพ็ญ แก้วดวงดี. ปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของ Care Giver อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก 2565; 9: 36-49.

กีรติ กิจธีระวุฒิวงษ์ นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์. ทิศทางของการพัฒนาผู้ดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2561; 36: 15-24.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดพริก. รายงานประจำปี 2564. พิษณุโลก: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดพริก; 2564.

วีรศักดิ์ เมืองไพศาล. (บรรณาธิการ). ประเด็นสำคัญในทางปฏิบัติสำหรับการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว. กรุงเทพฯ : สมาคมพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุไทย; 2564.

สุพิชญา หวังปิติพาณิชย์. การจัดการทรัพยากรเพื่อการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในยุคประเทศไทย 4.0. วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย 2561; 5: 111-125.

USAID Center for Development Information and Evaluation. Performance monitoring and evaluation tips: Conducting focus group interviews. 1996 Cited August 12, 2021, Available from https://www.ndi.org/files/USAID %20Guide_Conducting%20Focus%20Groups.pdf

วณิชา พึ่งชมภู. การพยาบาลผู้สูงอายุ: การสร้างเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูสภาพ. เชียงใหม่ โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2563.

ปฐมพร ศิรประภาศิริ และเดือนเพ็ญ ห่อรัตนาเรือง (บรรณาธิการ). คู่มือการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองและระยะท้าย (สำหรับบุคลากรทางการแพทย์). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2563.

ณัฐวรรณ ชัยมีเขียว และ สุภาพักตร์ หาญกล้า. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการยาด้วยตนเองของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังหลายโรคในชุมชน. การประชุมวิชาการและนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 2 “การวิจัย 4.0 เพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” 2017 July, 26-27.

นัดดา คำนิยม วรรณภา ศรีธัญรัตน์ . ความต้องการชุดบริการการดูแลระยะยาวของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่อาศัยอยู่ในชุมชน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2559; 34: 125-131.

สุดา วงศ์สวัสดิ์ รัตน์ติกาล วาเพชร ขจิตรัตน์ ชุนประเสริฐ. คู่มือ “ความสุข 5 มิติสำหรับผู้สูงอายุ” (ฉบับปรับปรุง) พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2558.

กองส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต. แบบประเมินสุขภาพจิตผู้สูงอายุฉบับสั้น (Thai Geriatric Mental Health Assessment Tool :T-GMHA-15). 2021 [cited 2022 August 13]. Available from:http://www.sorporsor.com/happy2017/t_gmha15_index.php

กลุ่มฟื้นฟูสมรรภาพสมอง. แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุไทย. สารศิริราช, 2537; 46: 1-9.

ธีรวัฒน์ ผิวขม. ผลของการใช้โปรแกรมนันทนาการที่มีต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุชมรมผู้สูงอายุ ตำบลด่านแม่คำมัน จังหวัดอุตรดิตถ์. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2561.

Bonea JK, Bua F, Fluhartya ME, Paula E, Sonkeb JK, Fancourta D. Engagement in leisure activities and depression in older adults in the United States: Longitudinal evidence from the Health and Retirement Study. Social Science & Medicine 2022; 294: 114703.