สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสซิกาในหญิงตั้งครรภ์ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

เสาวนีย์ ดีมูล
ศศิมาภรณ์ ศิริมงคล
พริมรตาพร สาดสี

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การติดเชื้อไวรัสซิกาในหญิงตั้งครรภ์ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงสำคัญ ทารกที่คลอดจากมารดาที่ติดเชื้อไวรัส  ซิกา มีโอกาสพิการทางสมองและระบบประสาท และความผิดปกติทางด้านพัฒนาการ อำเภอลับแล เกิดการระบาดของโรคเชื้อไวรัสซิกาตั้งแต่เดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2565 พบผู้ติดเชื้อจำนวน 24 ราย มากที่สุดในจังหวัดอุตรดิตถ์ จึงสำรวจและเก็บตัวอย่างเลือด ปัสสาวะหญิงตั้งครรภ์ ตามเกณฑ์การเฝ้าระวัง สอบสวนโรค ตรวจด้วยวิธี RT-PCR ผลการศึกษาพบว่าหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 121 ราย มารับการตรวจ ร้อยละ 85.95ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบว่า มีสารพันธุกรรมไวรัสซิกาจำนวน 12 ราย คิดเป็นร้อยละ 11.21 ช่วงอายุที่พบมากที่สุดคือ 21-30 ปี ร้อยละ 50.00 อายุครรภ์ขณะติดเชื้อพบมากที่สุดคือ 28 สัปดาห์ ร้อยละ 25.00ส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ ร้อยละ 83.33 มีผื่นร้อยละ 16.67 และมีไข้ ร้อยละ 8.34 ผลการศึกษานี้สนับสนุนความสำคัญของการตรวจทางห้องปฏิบัติการในหญิงตั้งครรภ์ ในพื้นที่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสซิกา เนื่องจากผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ ไม่มารับการรักษา เสี่ยงต่อการเกิดผลกระทบกับทารกในครรภ์ซึ่งทารกที่คลอดจากมารดาที่ติดเชื้อไวรัสซิกา ต้องอยู่ในความดูแลของกุมารแพทย์ต่อไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Hajra A., Bandyopadhyay D., Heise LR., Bhadra R., Ball S.,Hajra SK.. Zika and pregnancy: A comprehensive review. American Journal of Reproductive Immunology. 2017; 77(2) : 1-7.

AdesAE., Thorne C., Soriano-Arandes A., Peckham CS., Brown DW., Lang D., et al. Researching Zika in pregnancy: lessons for global preparedness. Lancet Infect Disease. 2020; 20: e61–68.

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง. กรมควบคุมโรค. กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อนำโดยยุงลาย สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ปี 2564. พิมพ์ครั้งที่ 1. พิมพ์ที่ สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์. กรุงเทพมหานคร. ปี 2564

Honein MA., Dawson AL., Petersen EE., Jones AM., Lee EH., Yazdy MM., Ahmad N., Macdonald J., Evert N., et al. Birth Defects Among Fetuses and Infants of US Women With Evidence of Possible Zika Virus Infection During Pregnancy. The Journal of the American Medical Association. 2017; 317 (1): 59-68.

กรมควบคุมโรค. คู่มือการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสซิกา สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ปี 2559.

ศุภฤกษ์ ทิฉลาดอำนวยทิพศรีราชและอภิสราตามวงค์. การสอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสซิกาอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง ปี 2561. วารสารสาธารณสุขล้านนา.2563; 16 (1): 57-69.

Marrs C.,Olson G.,Saade G.Hankins G., Wen T.,Patel J., et al. Zika Virus and Pregnancy: A Review of the Literature and Clinical Considerations. American Journal of Perinatology. 2016; 33(07): 625-639.

พจมาน ศิริอารยาภรณ์,โรม บัวทอง, และอรทัย สุวรรณไชยรบ. แนวทางการสอบสวนโรคติดเชื้อไวรัสซิกา.สำนักระบาดวิทยา. 2559

สุมาลี ชะนะมา, ภัทร วงษ์เจริญ, ศิริรัตน์ แนมขุนทด, ลัดดาวัลย์ มีแผนดี,อริสรา โปษณเจริญ, พงศ์ศิริ ตาลทอง, และคณะ.ระบาดวิทยาโรคติดเชื้อไวรัสซิกาในประเทศไทยช่วงปี พ.ศ. 2559-2563. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. 2564; 63 (3): 607-617